ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

โครงการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
Tourist Behavior Survey and Demand for Community Based Tourism in Bang Sa Kao. Laem Singh. Chanthaburi.
ผศ.ธงชัย ศรีเบญจโชติ,รศ.อัญชลี อุทัยไขฟ้า,อาจารย์ศตวรรษ ทิพโสต,อาจารย์ภานิตา โพธิ์แก้ว,อาจารย์บุษรา บรรจงการ,อาจารย์นิศารัตน์ แสงแข
คณะวิทยาการจัดการ
งานวิจัย
2558
.
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนของนักท่องเที่ยว 2) ศึกษาและสํารวจความคิดเห็นและความพึงพอใจที่มีต่อการใช้บริการการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3) วิเคราะห์ค่าความเต็มใจที่จะจ่ายของ นักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตําบลบางสระเก้า และ 4) วิเคราะห์ถึงลักษณะและรูปแบบความต้องการการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน ตําบลบางสระเก้า โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างตามแบบสอบถามจํานวนทั้งสิ้น 602 ตัวอย่าง จําแนก เป็นกลุ่มที่ใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวโดยชุมชนตําบลบางสระเก้า (User) และกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยว โดยชุมชนตําบลบางสระเก้า(Non-User) สําหรับวัตถุประสงค์ที่ 1 2 และ 4 วิเคราะห์โดยการใช้ค่าสถิติร้อยละ(Percentage)ความถี่(Frequency) และค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนวัตถุประสงค์ที่ 3 วิเคราะห์โดยใช้วิธีตลาดสมมติ (Hypothetical Market Approach) จากเทคนิค Contingent Valuation Method (CVM) ผลการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมในการกําหนดวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวและรูปแบบกิจกรรมของนักท่องเที่ยว ที่เดินทางท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนแต่ละแหล่งมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะและจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ 2) ความคิดเห็นและความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างในแหล่งท่องเที่ยวทุกแห่งอยู่ในระดับพอใจ โดยความพึงพอใจของ แหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งในด้านต่างๆ มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะ จุดเด่น และกิจกรรมที่แหล่งท่องเที่ยวจัดให้กับ นักท่องเที่ยว 3) ค่าเฉลี่ยของค่าความเต็มใจที่จะจ่ายมีค่าเท่ากับ 180.12 บาทต่อคนต่อครั้งที่บริจาค โดยมีปัจจัยที่มีผลต่อค่า ความเต็มใจที่จะจ่ายของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบไปด้วย รายได้ต่อเดือนใส่ค่า log คะแนนความคิดเห็นเกี่ยวกับกองทุนฯ การ เป็นสมาชิกด้านชุมชนหรือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เหตุผลที่มีความเต็มใจที่จะจ่ายเนื่องจากเผื่ออนาคตตนเองจะได้เข้าไป ท่องเที่ยวในพื้นที่ตําบลบางสระเก้า เหตุผลที่มีความเต็มใจที่จะจ่ายเนื่องจากเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้ลูกหลานใน อนาคต และค่าใช้จ่ายรายเดือนใส่ค่า log และ 4)รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวในตําบลบางสระเก้าที่กลุ่มตัวอย่างมีความ ต้องการให้มี จําแนกได้ 6 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วม เช่น ต้องการมีส่วนร่วมในการทอเสื่อ มีส่วนร่วม ในกิจกรรมการปล่อยสัตว์น้ํา ปลูกป่าชายเลน เป็นต้น กิจกรรมให้ความรู้นักท่องเที่ยว เช่น การสาธิตการทอเสื่อ ให้ความรู้ เกี่ยวกับความสําคัญและประโยชน์ของป่าชายเลน การสาธิตและสอนการทําการเกษตร จัดการแสดงวัฒนธรรม ประวัติความ เป็นมา และวิถีชีวิตของคนในชุมชน เป็นต้น กิจกรรมเที่ยวชม เช่น ชมแหล่งเพาะปลูกกก นั่งเรือชมธรรมชาติ เดินศึกษา ธรรมชาติป่าชายเลน ชมวิถีชีวิตของคนในชุมชน เป็นต้น กิจกรรมการจําหน่ายผลิตภัณฑ์ได้แก่ มีผลิตภัณฑ์จําหน่ายให้แก่ นักท่องเที่ยว กิจกรรมพักแรม ได้แก่ มีที่พักแบบโฮมสเตย์ กิจกรรมอื่นๆ เช่น กิจกรรมการแข่งขันทอเสื่อ จัดกิจกรรมที่ทําให้ คนรุ่นหลังรู้จักรักษาการทอเสื่อ กิจกรรมปลูกจิตสํานึก เป็นต้น รวมไปถึงความคิดเห็นอื่นๆ เช่น จัดพิพิธภัณฑ์ให้ความรู้ ทํา พื้นที่จําลอง มีมัคคุเทศก์บรรยายให้ความรู้ มีวิทยากรบรรยายให้ความรู้ เน้นอนุรักษ์ให้คงอยู่ตลอดไป เป็นต้น
The objectives of this study are 1) to study tourist behavior towards community based tourism (CBT), 2) to study and to survey tourist opinion and tourist satisfaction toward the use of service of CBT, 3) to analyze tourist willingness to pay for CBT in Bang Sa Kao, and 4) to analyze characteristics and prototype of the preferable CBT in Bang Sa Kao. From interviewing the 602 samples using questionnaires, the samples were classified into the user of CBT in Bang Sa Kao and the non-user of CBT in Bang Sa Kao. Objectives 1, 2, and 4 were analyzed by percentage, frequency, and mean. The objective 3 was analyzed by Hypothetical Market Approach from Contingent Valuation Method (CVM) technique. The findings of the study were 1) tourists’ travel objective setting behavior and traveling activity prototype in CBT were different in relation to characteristic and distinctive point of each community. 2), opinions and satisfactions f samples in every CBT are satisfied which were differed due to the differences of characteristics, distinctive point, and activities providing for the tourists. 3), the willingness to pay for each donation of each person was on an average of 180.12 baht. Factors affect the willingness to pay of the sample were income per month by logarithm, opinion score of the foundation, being member of community or being member of environmental conservation, the willingness to pay for their future trip in Bang Sa Kao community, the willingness to pay for environmental reservation for the future generation, and the monthly expenditure by logarithm. And 4), activities in Bang Sa Kao the sample preferred were classified into 6 activities which were tourist involvement (such as sedge weaving participation, releasing marine participation, mangrove reforestation participation); tourist instruction (such as demonstrating sedge weaving, providing importance and benefits of mangrove forest information, demonstrating and teaching agriculture, presenting cultural, historical, and lifestyle show); sightseeing (such as sightseeing sedge harvesting, floating, mangrove study trail, community sightseeing). Other activities were selling product (such as selling community product to tourist); home-stay (such as preparing place for the home-stay); and other activities such as sedge weaving racing, sedge weaving conservation campaign for the next generation, instilling conscience activity. Other opinions were organizing museum for education, organizing model area, providing guide, resource person for educating aiming for the future conservation.
การท่องเที่ยวโดยชุมชน บางสระเก้า,พฤติกรรมการท่องเที่ยว,ความเต็มใจที่จะจ่าย
Community Based Tourism (CBT), Bang Sa Kao, Tourist Behavior, Willingness to Pay
จตุพร พุทธิศา แก้ไขล่าสุด 2015-11-04 15:47:22