ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

รูปแบบการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
A Model for Development Thinking and Analysis Skills of Students under Basic Standard Education
อาจารย์ ดร.สุรีย์มาศ สุขกสิ
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
2558
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
การวิจัยเพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน การดำเนินการวิจัยได้แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การศึกษาและสำรวจข้อมูลเบื้องต้นเพื่อกำหนดกรอบความคิดในการวิจัย 2) การสร้างร่างรูปแบบการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) การพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) การตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ5) การสรุปและนำเสนอรูปแบบการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้จากเทคนิคเดลฟายไปสร้างแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 และเขต 2 จำนวน 196 คน ตอบแบบสอบถามความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปปฏิบัตินำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใน 9 ด้าน ประกอบด้วย 1) การจัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศทางกายภาพของห้องเรียน 2) การสนับสนุนทรัพยากร จัดปัจจัยที่เอื้อต่อการคิดของครูและนักเรียน 3) การประสานสัมพันธ์เครือข่ายชุมชน 4) การสร้างครูแกนนำการคิด 5) การพัฒนาบุคลากร 6) การนิเทศ ติดตามกำกับและประเมินผล 7) การจัดหลักสูตรสถานศึกษามุ่งเน้นพัฒนากระบวนการคิด 8) การมีนโยบาย วิสัยทัศน์เน้นการพัฒนาการคิดและ 9) การให้อิสระแก่ครูในการสอนคิดโดยรวมและรายข้อมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
The objectives of this research were to study and develop thinking and analysis skills of students under basic standard education. The research procedures consisted of 5 steps as follows: 1) Find basic data 2) Design the model 3) Develop model 4) Verify quality of the model. 5) Implement and present the model for development thinking and analysis skills of students under basic standard education. The sample used to construct the model included 18 development thinking and analysis skills experts, derived by means of purposive sampling. They were asked to review to the delphi technique questionnaires. The statistical devices used for the analysis of data were median and interquartile range. The appropriate thinking and analysis skills of students under basic standard education model was finally rated by the sample of 196 administrators in Primary Education Service Area 1 and 2. The statistical devices used for analyzing the data were mean and standard deviation. The results showed that the model for development thinking and analysis skills of students under basic standard education in nine sides according and suitable about 1) the physical in the classroom 2) the supported resources for teachers’ and students’ thinking 3) cooperated network with community 4) prepare best teachers’ thinking 5) development personnel 6) supervision and evaluation 7) school curriculum for development thinking process 8) the vision for development thinking and 9) the teacher’s freedom for thinking overall and item useful to practice at high level.
การพัฒนา,ทักษะ,ความคิด,การศึกษา,
Education,Development Thinking,Analysis Skills
จตุพร พุทธิศา แก้ไขล่าสุด 2016-09-27 11:05:57