ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

กระบวนหนุนนำต่อเนื่องเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของครูปฐมวัยในภาคตะวันออก
The Coaching Process for Promoting the 21st century skills of Early Childhood Teachers in Eastern of Thailand
อาจารย์ ดร.หฤทัย อนุสสรราชกิจ,อาจารย์วราลี ถนอมชาติ
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
2558
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนุนนำต่อเนื่องเพื่อพัฒนาทักษะ แห่งศตวรรษที่ 21 ของครูปฐมวัยในภาคตะวันออก 2) ผลการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของครูปฐมวัยที่เกิดจากกระบวนการหนุนนำต่อเนื่องที่พัฒนาขึ้น ในด้านองค์ความรู้ เจตคติ และทักษะที่ เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ ครูปฐมวัยจากโรงรียนในเขตงบระยอง และ ตราด จำนวน 20 คน การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบมีการแทรกแซง ประกอบด้วย 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนากระบวนการ ซึ่งประกอบด้วย 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การพัฒนาต้นแบบ กระบวนการ ช่วงที่ 2 การทดลองใช้ต้นแบบกระบวนการ และช่วงที่ 3 การวิเคราะห์และปรับกระบวนการ และระยะที่ 2 การสรุปและนำเสนอ และถ่ายทอดผลการวิจัย ผลการวิจัย มีดังนี้ 1. กระบวนการหนุนนำต่อเนื่องเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของครูปฐมวัย เป็นกระบวนการที่บูรณาการแ คิดการหนุนน าต่อเนื่อง แนวคิดการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ และ การพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ใน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ คือ 1) การเตรียมการก่อนการ หนุนน าต่อเนื่อง 2) การวางแผนการหนุนน าต่อเนื่อง 3) การดำเนินการหนุนน าต่อเนื่อง และ 4) การดำเนินการหลังการหนุนนำต่อเนื่อง 2. ผลการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของครูสะท้อนใน 3 ด้าน คือ 1)ด้านความรู้ ครูได้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และการออกแบบการจัดการเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย 2) ด้านเจตคติที่ดีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการหนุนนำต่อเนื่อง 3) ด้านทักษะวิชาชีพ ครูเกิดการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ และทักษะการพัฒนาตนเอง
This research was 1) to develop coaching process for promoting the 21st century skills for early childhood teachers in the eastern of Thailand, and 2) to study the teachers’ learning in terms of knowledge attitude and professional skill. The research participants were twenty early childhood teachers from schools in 3 provinces in the eastern of Thailand. This study was a qualitative research with intervention. The research consisted of two phases: 1) the development of process consisting of three steps; (1) construction of the initial process, (2) preliminary field study of the process, and (3) analysis and revision of the process, and 2) the conclusion of the research results. The findings were as follows: 1. The coaching process for promoting the 21st century skills learning process for early childhood teachers integrated the coaching concepts, adult learning concepts and the 21st century skills. The process consisted of four steps: 1) pre-coaching 2) coaching plan 3) coaching and 4) post-coaching. 2. The learning for early childhood teachers was consisted of 3 domains : 1) knowledge domain ; learning and understanding about the 21st century skills and the designing of the learning plan. 2) attitude domain; good attitude of the learning activities and coaching. and 3) professional skill; developing of the learning skills and the self-development skills.
การเรียนรู้,การศึกษา,ครูปฐมวัย,ภาคตะวันออก
Early Childhood Teachers, learning
จตุพร พุทธิศา แก้ไขล่าสุด 2016-09-27 11:47:55