ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

ความหลากชนิดของหิ่งห้อยในพื้นที่ป่าอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Diversity of Firefly in Forest Area of the Plant Genetics Conservation Project under The Royal Initiation of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhron, Rambhai Barni Rajabhat University
อาจารย์ ดร.สรศักดิ์ นาคเอี่ยม, นางสาวชุตาภา คุณสุข
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
งานวิจัย
2559
การสํารวจความหลากชนิดและความชุกชุมของหิ่งห้อย ในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี เริ่มสํารวจตั้งแต่เดือนกันยายน 2559 ถึงเดือนมีนาคม 2560 สํารวจ ตั้งแต่เวลาหลังพระอาทิตย์ตก ด้วยวิธีการเดินสํารวจตามเส้นทางที่กําหนด สํารวจเดือนละ 4 ครั้ง ตาม คาบของพระจันทร์ นับจํานวนประชากรของหิ่งห้อยตัวเต็มวัยและหิ่งห้อยระยะตัวหนอนทุกตัวที่พบใน เส้นทางสํารวจ โดยจากผลการสํารวจทั้งสิ้น 29 ครั้ง พบหิ่งห้อยทั้งหมด 4 สกุล 4 ชนิด แบ่งเป็นหิ่งห้อย ตัวเต็มวัย 3 สกุล 3 ชนิด ได้แก่ Asymmetricata circumdata, Curtos sp. และ Sclerotia aquatilis และพบหิ่งห้อยในระยะตัวหนอน 3 สกุล 3 ชนิด คือ A. circumdata, Lamprigera tenebrosus และ S. aquatilis เมื่อวิเคราะห์ความหลากชนิดของหิ่งห้อยโดยใช้ดัชนีของ Shannon - Weiner index และ ดัชนีความหลากหลายของ Simpson diversity index พบว่าพื้นที่ป่าอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมีความ หลากหลายของชนิดหิ่งห้อยต่ำ มีค่าดัชนีความหลากหลายของชนิดหิ่งห้อย เท่ากับ 0.59 และ 0.64 ตามลําดับ มีค่าดัชนีความสม่ำเสมอ เท่ากับ 0.43 และค่าดัชนีความเด่นของชนิด เท่ากับ 0.64 เมื่อ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากชนิดและความชุกชุมกับปัจจัยทางกายภาพบางประการของ หิ่งห้อย โดยเก็บข้อมูลปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้ำฝน และคาบ พระจันทร์ ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation) พบว่า ความชุกชุมของ หิ่งห้อยมีความสัมพันธ์กับฤดูกาลและอุณหภูมิต่ำสุดอย่างมีนัยสําคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99% ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ -0.773 และ 0.484 ตามลําดับ
Survey on species diversity and abundance of fireflies was conducted in Plant Genetic Protection Area, Rambhai Barni Rajabhat University between September 2016 and March 2017. The survey was started after sunset. Line transect technique was used for 4 times per month depended on the moon phase. From the results of 29 surveys, 4 species of 4 genera of fireflies were recognized. Three species in 3 genera of adult fireflies were recorded namely Asymmetricata circumdata, Curtos sp. and Sclerotia aquatilis. Firefly larvae were found which comprise of A. circumdata, Lamprigera tenebrosus and S. aquatilis. The species diversity of firefly in the Plant Genetics Conservation Area was low. Shannon-Weiner index and Simpson diversity were 0.59 and 0.64, respectively. The Evenness index was 0.43 and Dominant index was 0.64. The Pearson correlation analysis between some physical factors (temperature, relative humidity, rainfall and moon phase) and abundance of firefly was calculated. The result reveals significant correlation between the abundance of firefly and 2 physical factors such as season and minimum temperature (P>0.01) which Pearson correlation coefficient (r) were -0.773 and 0.484, respectively.
หิ่งห้อย, ป่าอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
Firefly, Plant Genetics
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-02-25 16:23:27