ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

มาตรการปรับปรุงการทำประมง เพื่อการจัดการทรัพยากรปูม้า และสัตว์น้ำพลอยได้อย่างยั่งยืน บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี
Fishery Improvement Project for Sustainable Management of Blue Swimming Crab and Bycatch in Kung Krabaen Bay, Chanthaburi Province
ชุตาภา คุณสุข , พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา , วิรังรอง กรินท์ธัญญกิจ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
งานวิจัย
2560
การศึกษาโครงสร้างและการแพร่กระจายของประชากรปูม้า ภายใต้โครงการปรับปรุงมาตรการการทำประมง บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม 2559 โดยใช้ลอบแบบพับได้ขนาดท้องลอบ 2.5 นิ้ว จำนวน 100 ลูก ในการเก็บตัวอย่าง ผลการศึกษาพบอัตราส่วนเพศระหว่างเพศผู้ต่อเพศเมียมีค่าเท่ากับ 1:0.87 ความสัมพันธ์ระหว่างความกว้างกระดอง (carapace width) และน้ำหนัก (weight) ของปูม้า พบว่ามีความสัมพันธ์ คือ W = 0.00005CW3.018 การกระจายความถี่ของขนาดความกว้างกระดองของปูม้าพบมากที่สุดในช่วง 70-80 มิลลิเมตร มีขนาดความกว้างกระดองเฉลี่ย 80.44±14.40 มิลลิเมตร การศึกษาความชุกชุมของ ปูม้าในแต่ละสถานีพบมากที่สุดในสถานีหญ้าทะเลชะเงาใบยาว (สถานี H) และพบความชุกชุมน้อยที่สุดในสถานีหญ้าทะเลชะเงาใบยาว (สถานี D) ผลการศึกษาความชุกชุมของปูม้าในแต่เดือนพบปูม้าในช่วงเดือนธันวาคมมากที่สุด จำนวน 152 ตัว และพบความชุกชุมของปูม้าในช่วงสิงหาคมน้อยที่สุดเพียง 3 ตัว และพบปูม้าในช่วงฤดูฝนมากกว่าฤดูแล้ง โดยพบปูม้าในฤดูแล้ง 83% และพบปูม้าในฤดูฝน 17% สัดส่วนของปูม้าเพศผู้ระหว่างปูม้าวัยอ่อนและปูม้าตัวเต็มวัยมีค่าเท่ากับ 28% และ 72% ส่วนสัดส่วนของปูม้าเพศเมียระหว่างปูม้าวัยอ่อนและตัวเต็มวัยมีค่าเท่ากับ 50% และ 50% ตามลำดับ ผลการจัดจำแนกชนิดของมอลลัสก์และครัสเตเชีย พบชนิดของครัสเตเชียทั้งหมด 18 สกุล 20 ชนิด สำหรับมอลลัสก์พบทั้งหมด 30 สกุล 33 ชนิด ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการเสนอแนะเพื่อประกอบการพิจารณาการปรับปรุงการทำประมงปูม้าในบริเวณอ่าวคุ้งกระเบนแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น การเพิ่มขนาดตาลอบบริเวณท้องลอบให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น เพื่อลดการใช้ประโยชน์ปูม้าขนาดเล็ก ที่มีขนาดต่ำกว่า 6 เซนติเมตร ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรการการทำประมง และการเพิ่มพื้นที่ในการปลูกฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของปูม้าวัยอ่อน เป็นต้น ผลการจัดจำแนกชนิดของปูน้ำเค็ม จำนวน 14 ตัวอย่างโดยการวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมในส่วนของยีนไซโตโครม ออกซิเดส I (COI) หรือดีเอ็นเอบาร์โค้ดและเปรียบเทียบความคล้ายคลึงทางพันธุกรรมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในฐานข้อมูลพันธุกรรม GenBank และ BOLD พบว่าสามารถระบุชนิดปูน้ำเค็ม ได้จำนวน 11 ชนิด โดยมีค่าความคล้ายคลึงทางพันธุกรรมสูงถึง 98-100% ส่วนตัวอย่างปูที่เหลืออีก 3 ชนิด มีค่าความคล้ายคลึงทางพันธุกรรมต่ำ อยู่ในช่วง 86-96.25% ซึ่งอาจเป็นผลมาจากในฐานข้อมูลดังกล่าวไม่มีข้อมูลทางพันธุกรรมในส่วนของยีน COI และเมื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของตัวอย่างปูทั้งหมด สามารถจำแนกชนิดของปูน้ำเค็มออกจากกันได้อย่างชัดเจน โดยเป็นปูน้ำเค็ม จำนวน 6 วงศ์ 9 สกุล 14 ชนิด ได้แก่ วงศ์ Portunidae, Ocypodidae, Majidae, Xanthidae, Calappidae และ Hymenosomatidae
Population structure and distribution of blue swimming crab Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758) under the fishery improvement projected was carried out from January to December 2016 by using one hundred collapsible crab traps mesh size with 2.5 inch. The result found that sex ratio between male and female was 1:0.87. Relationship between carapace width (CW) and weight (W) of crab was showed W = 0.00005CW3.018. The size distribution of carapace width of crab had high ranged between 70-80 mm and average carapace width was 80.44±14.40 mm. The highest abundance was found in seagrass Enhalus acoroides in station H while lowest abundance of crab was found in seagrass Enhalus acoroides in station D. Moreover, 152 blue swimming crabs was found in December while it was only 3 crabs was found in August. Crabs were found in dry season higher than wet season. The crab in dry season was 83% while in wet season crab were found only 17%. The ratio between juvenile and adult male crab were 28% and 72% while the ratio of female crabs were 50% and 50%, respectively. The results of species identification of crustacean and mollusks was found that 18 genera and 20 species while diversity of mollusks was found that 30 genera 33 species. These results can use to suggest the stakeholders for improving the blue swimming crab fishery in Kung Krabaen Bay such as increasing mesh size of the bottom of collapsible crab trap for decreasing utilization of small crab with size lower than 6 centimeters which was not follow the blue swimming crab measurement and restoration the area of seagrass bed for nursing ground of juvenile crab. This study was also determined the species of marine crab by analyzing the nucleotide sequences of Cytochrome oxidase I (COI) gene and comparing all sequences with GenBank and BOLD genetic databases. From a total of 14 crab specimens,11 species of marine crab were identified with high genetic similarity (98-100%).The similarity search was found that there were 3crab species not reported in GenBank and BOLD databases. The phylogenetic analysis was showed that the COI sequence can be used to clearly separate these 14 species in 6 families comprising Portunidae, Ocypodidae, Majidae, Xanthidae, Calappidae and Hymenosomatidae.
มาตรการปรับปรุงการทำประมง , ทรัพยากรปูม้า , สัตว์น้ำพลอยได้ , อ่าวคุ้งกระเบน
Fishery improvement project , Blue swimming crab , Bycatch , Kung Krabaen Bay
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-01-22 15:49:38

ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด