ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

ศักยภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการพื้นที่ทุ่นระเบิดในเขตชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว จันทบุรีและตราด
The Community Participation in Land Mine Area Management in Thai – Cambodia Border
พรทิวา อาชีวะ , จำลอง แสนเสนาะ , กนกวรรณ อยู่ไสว , ขวัญศิริ เจริญทรัพย์
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
งานวิจัย
2560
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา และผลกระทบของพื้นที่ทุ่นระเบิด ศักยภาพ ปัจจัยที่มีผลและข้อเสนอเชิงนโยบายในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการพื้นที่ทุ่นระเบิดในเขตชายแดนไทย-กัมพูชาของจังหวัดจันทบุรีและตราด วิธีทยาการวิจัยจะใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแนวประวัติศาสตร์โดยใช้วิธีกรณีศึกษา การวิจัยเอกสาร การศึกษาประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า การสัมภาษณ์เจาะลึกรวมถึงการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า ยังคงมีปัญหาทุ่นระเบิดหลงเหลืออยู่ทั้งในจังหวัดจันทบุรีและตราดอีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สินและสัตว์ป่า ปัญหาดังกล่าวชุมชนทั้งสองจังหวัดมีศักยภาพในการวิเคราะห์ปัญหา การแสวงหาทางเลือกใหม่และการวางแผนเกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่ทุ่นระเบิดจากการมีทุนทางวัฒนธรรม ทุนทรัพยากรมนุษย์ ทุนทางสังคมและทุนทางเศรษฐกิจ ข้อเสนอในเชิงนโยบายนั้นควรเน้นการบริหารจัดการแบบภาคีเครือข่ายซึ่งประกอบด้วยองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
The objective of the research was to study landmine impacts and problems as well as potential, affecting factors and policy recommendations concerning community participation in landmine area management in Thai-Cambodia Border of Chanthaburi and Trat provinces. The historical qualitative research methodology consisted of documentary research, oral history, in-depth interview and non-participative observation were applied to this study. The findings showed that there existed mine problems and impacts concerning humor life property and wildlife. However, we found that the communities still had potential in problem analysis, new alternative search and planning capacity because of belonging cultural, human, social and economic capitals. The research recommended public governance consisted of pushes sector, private sector and civil society organization.
การมีส่วนร่วมของชุมชน , การบริหารจัดการ , พื้นที่ทุ่นระเบิด
community participation , public governance , land mine area
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-01-22 15:56:32