Toggle navigation
หน้าหลัก
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามหน่วยงาน
หน่วยงาน
คณะครุศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักศิลปวัฒนธรรม
งานวิจัยตามปี พ.ศ.
แบ่งตามปี พ.ศ.
พ.ศ. 2567
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2545
สถิติงานวิจัย
ประเภทของสถิติ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายในและภายนอก
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
สถิติจำนวนโครงการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
คณะทำงาน
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
เข้าสู่ระบบ
หน้าหลัก
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
รายระเอียดการวิจัย
เมนูหลัก
หน้าหลัก
สาขางานวิจัยทั้งหมด
ประวัตินักวิจัย
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามคณะ
139
คณะครุศาสตร์
27
คณะนิติศาสตร์
36
คณะนิเทศศาสตร์
2
คณะพยาบาลศาสตร์
89
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
30
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
67
คณะวิทยาการจัดการ
130
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
107
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
159
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
27
สถาบันวิจัยและพัฒนา
1
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
สำนักศิลปวัฒนธรรม
รายการข้อมูลงานวิจัย
รายการข้อมูลงานวิจัย
ชื่องานวิจัย (ภาษาไทย)
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ (Phallus indusiatus) โดยใช้ใบของไม้ผลชนิดต่างๆ ร่วมกับการปลูกพืชผักเถาเลื้อยเพื่อเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ในสวนไม้ผล
ชื่องานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)
Research and Development Project of Bamboo Fungus (Phallus indusiatus) Cultivation by Using Different Fruit Leaves Combine with Climbing Vegetables for Value-Added of Waste in Fruit Orchard
ชื่อผู้แต่ง
อัจฉรา บุญโรจน์ , วัชรวิทย์ รัศมี
สาขางานวิจัย
หน่วยงาน
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ประเภทงานวิจัย
งานวิจัย
ปีงบประมาณ
2560
ชื่อทุน
หน่วยงานเจ้าของทุน
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
เห็ดเยื่อไผ่เป็นเห็ดที่รับประทานได้และมีคุณสมบัติเป็นยา วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ เพื่อพัฒนาการนำใบของไม้ผลชนิดต่างๆ มาเพาะเห็ดเยื่อไผ่ร่วมกับการปลูกผักขึ้นค้าง สำหรับเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ในสวนไม้ผล โดยทำการทดลองที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี ทำการทดลองระหว่างเดือนธันวาคมพ.ศ. 2560 – เดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 อุณหภูมิระหว่างทดลองเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 85 เปอร์เซ็นต์ การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของเห็ดเยื่อไผ่ด้วยใบไม้ผลชนิดต่างๆ ร่วมกับการปลูกผักขึ้นค้าง โดย วางแผนการทดลองแบบ 3 x 2 Factorial in Randomized Complete Block Design (RCRD) มี 2 ปัจจัย ปัจจัยแรกคือ ใบของไม้ผลชนิดต่างๆ มี 3 ชนิด คือ ใบทุเรียน ใบลำไย และใบเงาะ ปัจจัยที่ 2 คือชนิดของผักขึ้นค้าง มี 2 ชนิด คือ บวบ และมะระ ทำ 3 ซ้ำ 1 ซ้ำคือค้างผัก 1 ค้าง มีทั้งหมด 6 สิ่งทดลอง ผลการทดลองพบว่า การเพาะเห็ดเยื่อไผ่ด้วยใบทุเรียนใต้ค้างมะระให้ดอกเร็วที่สุด คือ 38.7 วัน หลังการใส่เชื้อลงแปลง แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับการเพาะด้วยใบทุเรียนใต้ค้างบวบและใบเงาะใต้ค้างบวบ ซึ่งจะออกดอกเมื่อใส่เชื้อลงแปลงได้ 42 วัน และ 44.7 วัน ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ด้วยใบทุเรียนมีแนวโน้มที่จะให้ดอกได้ยาวนานและมีจำนวนครั้งของการให้ดอกที่มากกว่าสิ่งทดลองอื่น ๆ การเพาะเห็ดเยื่อไผ่ด้วยใบทุเรียนใต้ค้างมะระสามารถเก็บดอกได้ถึง 12 ครั้ง และการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ด้วยใบทุเรียนใต้ค้างบวบสามารถเก็บดอกได้ 9 ครั้ง ในระยะเวลาการเก็บผลผลิต 82 วัน การใช้ใบทุเรียนใต้ค้างมะระให้จำนวนดอกทั้งหมดต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร มากที่สุดคือ 14 ดอก แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับสิ่งทดลองอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ การเพาะด้วยใบเงาะใต้ค้างบวบให้น้ำหนักสดดอก น้ำหนักแห้งดอก และมีความยาวร่างแหมากที่สุดคือ 48.2 กรัม 2.8 กรัม และ 23.3 เซนติเมตร ตามลำดับ การเพาะในทุกสิ่งทดลองมีความยาวก้านดอก ผลผลิตรวมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ปริมาณความชื้น และปริมาณโปรตีนไม่แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ การทดลองที่ 2 ศึกษาอิทธิพลของอาหารเสริมต่างๆ ต่อการให้ผลผลิตของเห็ดเยื่อไผ่ โดยทำการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ด้วยใบทุเรียนใต้ค้างบวบ ซึ่งให้ผลดีจากการทดลองที่ 1 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) มี 3 ซ้ำ สิ่งทดลองที่ 1 คือ แปลงเพาะเห็ดไม่ใส่อาหารเสริม (control) สิ่งทดลองที่ 2 : แปลงเพาะเห็ดใส่รำ 5 % ของน้ำหนักใบทุเรียน สิ่งทดลองที่ 3 : แปลงเพาะเห็ดใส่รำ 5 % ดีเกลือ 2 % สิ่งทดลองที่ 4 : แปลงเพาะเห็ดใส่รำ 6 % ดีเกลือ 2 % ยิปซัม 2 % สิ่งทดลองที่ 5 : แปลงเพาะเห็ดใส่รำ 6 % ดีเกลือ 2 % ยิปซัม 2 % ปูนขาว 1% ผลการทดลองพบว่า การเพาะเห็ดเยื่อไผ่ทุกสิ่งทดลองที่มีรำเป็นส่วนประกอบจะทำให้ได้ผลผลิตต่ำกว่าการไม่ใส่อาหารเสริม (แปลงควบคุม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
Bamboo mushrooms is an edible and medicinal mushroom. The objective of this project was to culture the bamboo mushroom on selected fruit tree leaves beneath sponge gourd and bitter gourd holds. The experiments were conducted at the faculty of agricultural technology, Rambhai Barni Rajabhat University, Chanthaburi Province, between October 2017 and December 2018, where the average temperature was 28 degree Celcius and relative humidity was 85percent. Experimental design was 2 x 3 Factorial in Randomized Complete Block Design (RCBD) with 3 replications , first factor were 2 species of climbing vegetables : bitter guard and sponge gourd, second factor were 3 types of fruit tree leaves : durian longan and lambutan. The results revealed that the bamboo mushrooms cultivation beneath the bitter guard hold on durian leaves had the shortest time (38.7 days) for fruiting initiation after inoculated the bamboo mushroom spawn on mushroom growing beds but it was not significantly different at p > 0.05 from the bamboo mushroom cultivation beneath the sponge gourd hold on durian leaves and beneath sponge gourd hold on lambutan leaves which had fruiting initiation 42 and 44.7 days respectively. Additionally, the result showed that the bamboo mushroom cultivation on durian leaves trended to have fruiting period longer and more times of fruiting body development than other treatments. Bamboo mushroom cultivations beneath the bitter gourd and sponge gourd holds on durian leaves could harvest fruiting bodies 12 times and 9 times respectively during 82 days of harvesting period. Bamboo mushroom cultivation beneath the bitter gourd hold on durian leaves provided the highest number of fruiting bodies (14 fruiting bodies) and yield (348.3 grams per square meter) but not significantly different at p > 0.05 from the other treatments. Bamboo mushroom cultivation beneath sponge gourd hold on lambutan leaves produced the highest fruiting - body fresh weight (48.2 grams), fruiting - body dry weight (2.8 grams) and veil length (23.3 cm) respectively. Experiment 2 : study on effect of supplement formula on yield of bamboo mushroom cultivation, this experiment cultivated bamboo mushrooms by using durian leaves beneath sponge gourd hold which had the best result from experiment 1, experimental design was Randomized Complete Block Design (RCBD) with 3 replications. The treatments were bamboo mushrooms cultivation with 1) no supplement (control) 2) added rice bran 5% of durian leaves weight 3) added rice bran 5% epsom salt (MgSO4) 2% 4) added rice bran 6% epsom salt 2% gypsum (CaSO42H2O) 2% 5) added rice bran 6% epsom 2% gypsum 2% lime 1%. The results revealed that bamboo mushrooms cultivation in every treatments which added rice bran to be supplement had yield significant difference lower than control.
คำสำคัญ
เห็ดเยื่อไผ่, การเพาะเห็ด, เห็ดเป็นยา
Keywords
bamboo mushrooms, mushroom cultivation, medicinal mushroom
เพิ่มข้อมูลโดย
ณัฐฐานี ดีซื่อ
แก้ไขล่าสุด
2020-01-27 14:25:31
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก