ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การสำรวจไลเคนบริเวณป่าพรุในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Survey of Lichen at Swamp Forest in Plant Genetic Protection Area, Rambhai Barni Rajabhat University
ชวัลรัตน์ สมนึก , พิสุทธิ์ การบุญ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
งานวิจัย
2561
การสำรวจไลเคนบริเวณป่าพรุในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ รำไพพรรณี ในช่วงมกราคม ถึงตุลาคม พ.ศ. 2561 ทำการเก็บตัวอย่างไลเคนจากต้นไม้ทุกต้นทั้งด้านซ้ายและขวาตลอดเส้นทางเดินสำรวจป่าพรุรวมระยะทาง 220 เมตร โดยเก็บตัวอย่างไลเคนตั้งแต่ระดับพื้นดินจนถึงความสูงในระดับ 2 เมตร ตัวอย่างไลเคนทั้งหมด 53 ตัวอย่างถูกนำมาวิเคราะห์ทางสัณฐานวิทยา อนุกรมวิธาน และทดสอบองค์ประกอบทางเคมีโดยวิธีทดสอบสีในห้องปฏิบัติการ พบว่า ไลเคนส่วนใหญ่มีรูปแบบการเจริญเติบโตเป็นแบบครัสโตสไลเคน คิดเป็นร้อยละ 96.23 มีเพียง 2 ตัวอย่าง ที่มีรูปแบบการเจริญเติบโตแบบสแควมูโลส (Squamulose) คิดเป็นร้อยละ 3.77 โดย ไลเคนที่พบสามารถจำแนกได้ 10 วงศ์ 16 สกุล 27 ชนิด โดยวงศ์ที่มีความหลากหลายมากที่สุด 3 อันดับแรก จำแนกตามจำนวนสกุลและชนิดที่ระบุได้ คือ วงศ์ Graphidaceae (7 สกุล 11 ชนิด ระบุชนิดไม่ได้ 1 ชนิด) รองลงมา คือ วงศ์ Pyrenulaceae (1 สกุล 3 ชนิด และระบุชนิดไม่ได้ 1 ชนิด) และวงศ์ Malmideaceae (1 สกุล 1 ชนิด และระบุชนิดไม่ได้ 1 ชนิด) คิดเป็นร้อยละ 49.06, 15.09 และ 11.32 ตามลำดับ
Lichens at swamp forest in Plant Genetic Conservation Project under the Royal Initiative of Her Royal Highness Maha Chakri Sirindhorn, Rambhai Barni Rajabhat University were surveyed during January to October 2018. The lichens were collected on both sides along distance of the nature trail of swamp forest about 220 meters. The sampling sites were collected from ground level to a height of 2 meters. A total of 53 samples were examined the morphology, taxonomy and chemical composition by spot test in laboratory. The predominance of taxa belonging to the crustose lichen (96.23%) and only 2 samples were foliose lichen (3.77%). The lichen samples were classified into 10 families, 16 genera and 27 species. Three main lichen families containing the greatest number of species were Graphidaceae (7 genera, 11 species and 1 unidentified species), followed by Pyrenulaceae (1 genus, 3 species and 1 unidentified species) and Malmideaceae (1 genus, 1 species and 1 unidentified species), representing 49.06, 15.09 and 11.32, respectively.
ไลเคน, ป่าพรุ, พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชฯ, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Lichen, Swamp Forest, Plant Genetic Protection Area, Rambhai Barni Rajabhat University
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-01-28 10:49:43

ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด