ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การประเมินฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แซนทีนออกซิเดสในสารสกัดมะม่วงหาวมะนาวโห่
Evaluation of Xanthine oxidase inhibitory activity in Carissa carandas L. extract
นิภัทร เปี่ยมอรุณ , นันทพร มูลรังษี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
งานวิจัย
2561
ภูมิปัญญาของไทยนำผลมะม่วงหาวมะนาวโห่มาใช้เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านที่มีสรรพคุณหลากหลาย แต่ยังไม่มีผลการวิจัยเชิงเคมีที่ประจักษ์ว่าผลมะม่วงหาวมะนาวโห่ของไทยมีฤทธิ์รักษาโรคเกาต์ได้ งานวิจัยนี้จึงนำสารสกัดผลมะม่วงหาวมะนาวโห่ในระยะผลห่ามและสุกมาศึกษาพฤกษเคมีและฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์แซนทีนออกซิเดส ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคเกาต์ จากการตรวจสอบพฤกษเคมีเบื้องต้นของสารสกัดหยาบเอทานอลพบว่าผลห่ามมีพฤกษเคมี คือ สารประกอบฟีนอลิก แอลคาลอยด์ ฟลาโวนอยด์ เทอร์พีนอยด์ ซาโปนิน และน้ำตาลดีออกซี ส่วนในระยะผลสุกให้ผลใกล้เคียงกันแต่ไม่พบซาโปนิน ผลการทดสอบสารสกัดหยาบผลมะม่วงหาวมะนาวโห่สามารถยับยั้งเอนไซม์แซนทีนออกซิเดสได้ โดยพบว่าสารสกัดเอทานอลให้ค่าร้อยละการยับยั้งที่สูงกว่าสารสกัดน้ำ และในสารสกัดหยาบเอทา-นอลระยะผลห่ามมีฤทธิ์การยับยั้งที่สูงกว่าระยะผลสุกเล็กน้อย โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 24.0 ± 0.5 และ 28.7 ± 3.7 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ จากผลระยะการสุกที่ให้พฤกษเคมีต่างกันและมีความสัมพันธ์กับฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์แซนทีนออกซิเดสจะมีประโยชน์ในการเลือกช่วงการเก็บผลผลิต ส่วนผลการวิเคราะห์หาสารเควอซิตินในสารสกัดหยาบของผลมะม่วงหาวมะนาวโห่ทั้งในระยะห่ามและสุกไม่พบสารเควอซิติน หรืออาจมีน้อยมาก ดังนั้นควรมีการแยกสารสกัดให้บริสุทธิ์และพิสูจน์โครงสร้างสารสกัดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แซนทีนออกซิเดส เพื่อเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับสารในผลมะม่วงหาวมะนาวโห่ให้มากขึ้น เพื่อประโยชน์สำหรับการพัฒนาเป็นยาสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับการรักษาโรคเกาต์ในอนาคต
The Thai wisdom knows the benefits of Carissa carandas L. to be used as a traditional herbal medicine. However, there was no scientific evidence to show that Carissa carandas L. of Thailand can treat gout or not. In this research, the Carissa carandas L. fruit extract in semi-ripening and ripe stage were studied for the phytochemical and inhibitory activity of xanthine oxidase, one of the causes of gout. The result of phytochemical indicated that the crude extract from semi-ripening stage fruit contained many substances; phenolic compounds, alkaloids, flavonoids, terpenoids, saponins and deoxy sugars. While the ripe stage fruit contained the similar substances excepted saponins. The extract solution of Carissa carandas L. showed the xanthine oxidase inhibitory activity, as the ethanolic extract solution gave the higher activity than water extract solution. The crude extracts of semi-ripening stage fruit presented the higher activity than the ripe stage one with the IC50 values of 24.0 ± 0.5 and 28.7 ± 3.7 mg/mL, respectively. Ripening stage gave different phytochemical which related to xanthine oxidase inhibitory activity. This was an advantage for selecting a time period to harvest. No quercetin was found in the extracted solution of both semi-ripe and ripe fruits or it existed with very low content. Therefore, the extract solution should be purified and identified the active structure of xanthine oxidase inhibitor to give more information about the substance in the caranda fruits for the benefit of developing a herbal medicine or supplement for gout treatment in the future.
แซนทีนออกซิเดส มะม่วงหาวมะนาวโห่ กรดยูริก โรคเกาต์
Xanthine Oxidase, Carissa carandas L., Uric Acid, Gout
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-01-29 14:22:39