ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การออกแบบของที่ระลึกสำหรับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี
Souvenir Designing for Kung Krabaen Bay Royal Development Study Center, Chanthaburi.
พรพจน์ หมื่นหาญ , ฐปนีย์ ศรีแก้
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
งานวิจัย
2561
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบของที่ระลึกสำหรับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อออกแบบของที่ระลึกสำหรับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสำหรับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความต้องการของที่ระลึก แบบสอบถามการออกแบบ และผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ปลาพะยูน ปลากระเบน เส้นทางเดินชมป่าชายเลน และรูปทรงของอ่าวคุ้งกระเบนจากมุมสูง สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบและควรบ่งบอกหรือคำว่ามีคุ้งกระเบน ผู้วิจัยได้เลือกออกแบบ 3 ผลิตภัณฑ์ จากค่าเฉลี่ยความต้องการจากผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เสื้อยืด ร้อยละ 15.06 พวงกุญแจ ร้อยละ 14.54 และกระเป๋าผ้า ร้อยละ 10.12 ผลวิเคราะห์ในการออกแบบเสื้อยืดทั้ง 3 รูปแบบ (A,B,C) สรุปได้ว่ารูปแบบ C มีค่าเฉลี่ยรวมในด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.44) ในการออกแบบพวงกุญแจทั้ง 3 รูปแบบ (A,B,C) สรุปได้ว่ารูปแบบ A มีค่าเฉลี่ยรวมในด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.50) และในการออกแบบกระเป๋าผ้าทั้ง 3 รูปแบบ (A,B,C) สรุปได้ว่ารูปแบบ C มีค่าเฉลี่ยรวมในด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.72) ผู้วิจัยได้เลือกมาผลิตต้นแบบเนื่องจากมีผลวิเคราะห์ในด้านต่างๆอยู่ในภาพรวมมากที่สุด ในการศึกษาความพึงพอใจต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก สรุปได้ว่าเสื้อยืดมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.22) พวงกุญแจ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.02) และกระเป๋าผ้า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.53)
The objectives of this research were to design guidelines for Kung Krabaen bay Royal development study center Chanthaburi, to design souvenirs, and to survey the satisfaction of the new souvenir designs. The research was studied and collected information by structured interview. The instruments for the evaluation were the product design and questionnaire. The questionnaire were answered by 120 respondents. The data were analyzed by means and standard deviations. The results showed that the patterns from Dugongs, Stingray, Mangrove forest walk and shape of the bay were choosen to be a unique designs. The researcher designed the four pattens into a T-shirt, a key chain and a cloth bag which were the needs of the target consumers 15.06 percent, 14.54 percent and 10.12 percent respectively. As the statistical results, for the T-shirt design (A,B,C), it found that the product model C part was (x ̅ = 4.44). While the key chain design (A,B,C) indicated that the product model A part was (x ̅ = 4.50). When considering at the cloth bag designs (A,B,C), it found that the product model C part was (x ̅ = 4.72). The researcher had chosen to produce the prototype. The satisfaction of the products for the T-shirt part was (x ̅ = 4.18 ), the key chain part was (x ̅ = 4.24), and the cloth bag part was (x ̅ = 4.18).
การออกแบบ, ของที่ระลึก, อ่าวคุ้งกระเบน, จันทบุรี
Designing, Souvenir, Kung Krabaen Bay, Chanthaburi Province
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-01-29 15:47:19