ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความเป็น พลเมืองประชาธิปไตยของนักศึกษาวิชาชีพครู
THE DEVELOPMENT OF THINKING SKILLS USING BY PROBLEM BASEDLEARNING TO PROMOTE DEMOCRATIC CITIZENSHIP OF TEACHER PROFESSION STUDENT
นภัส ศรีเจริญประมง , วราลี ถนอมชาติ
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
2560
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักศึกษาวิชาชีพครู ผู้เข้าร่วมวิจัยครั้งนี้เป็น นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 30 คน โดย การเลือกแบบเจาะจง การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพวิธีการดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ประกอบด้วย 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การพัฒนาต้นแบบทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ช่วงที่ 2 การทดลองใช้ต้นแบบกระบวนการพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และช่วงที่ 3 การวิเคราะห์และปรับกระบวน การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และระยะที่ 2 การสรุปและถ่ายทอดผลการวิจัย ผลการวิจัย มีดังนี้ 1. การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักศึกษาวิชาชีพครู เป็นการดำเนินการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักศึกษาวิชาชีพครูได้รู้และเกิดการพัฒนาทั้งทักษะการคิด และความเป็นพลเมืองประชาธิปไตย ผู้วิจัยได้นำการฝึกทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานของ Delisle มาปรับใช้ในการพัฒนาศักยภาพทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักศึกษาวิชาชีพครู ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นการเชื่อมโยงและนำเสนอปัญหา ขั้นที่ 2 ขั้นการทำความเข้าใจกับปัญหา ขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินการศึกษาค้นคว้า ขั้นที่ 4 ขั้นการสังเคราะห์ความรู้ และขั้นที่ 5 ขั้นการสรุปและประเมินค่า 2. จากผลการพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นส่งผลต่อ การส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักศึกษาวิชาชีพครู เมื่อผู้วิจัยได้วิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ที่ได้จัดกับนักศึกษาวิชาชีพครูนั้น พบว่า การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานนั้นมีส่วนช่วยทำให้นักศึกษาวิชาชีพครูมีความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น ซึ่งในส่วนของลักษณะของกระบวนการในการคิดที่ใช้ปัญหาเป็นฐานของนักศึกษาวิชาชีพครูในแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้วิจัยสามารถแบ่งรูปแบบของทักษะการคิดได้ออกเป็น 2 แบบ ทั้ง 2 แบบ ส่งผลให้มีการปฏิบัติตัวในความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยในลักษณะที่ต่างกัน ดังนี้ แบบที่ 1 มีลักษณะของความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยโดยแสดงออกในลักษณะของบุคคลที่ ใช้ความรู้สึก ใช้อารมณ์ และยึดมั่นกับความคิดของตนเองในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับสมาชิกภายในกลุ่ม ซึ่งจะพบว่า นักศึกษาวิชาชีพครูในลักษณะนี้จะประสบปัญหาในการที่จะปรับตัวให้เข้ากับสมาชิกภายในกลุ่ม ซึ่งก็ไม่ได้มีผลกระทบหรือส่งผลต่อการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดและแสดงความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยแต่อย่างใด เมื่อนักศึกษาได้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมในลักษณะนี้มากขึ้น นักศึกษามีการปรับตัวในลักษณะของความเป็นพลเมืองประชาธิปไตย เช่น การยอมรับฟังความคิดเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม การใช้วาจาหรือคำพูดที่สุภาพในการแสดงออกทางความคิด และเรียนรู้ที่จะอภิปรายโดยหลักการและเหตุผลเพิ่มขึ้น แบบที่ 2 มีลักษณะของความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยอย่างดีโดยจะมีการแสดงออกของ พฤติกรรมของคนที่ใช้ทักษะชีวิต ทักษะความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยเข้ามาร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเคารพในเหตุผลของผู้อื่น การแสดงความคิดเห็นของตนเอง การยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง และการบอกเหตุผลในการคิดตัดสินใจในการอภิปรายร่วมกับเพื่อนสมาชิกในกลุ่มอย่างสมเหตุสมผล รวมทั้งการรับฟังและการปฏิบัติตามเสียงข้างมากและคำนึงถึงเสียงส่วนน้อย และการใช้คำพูดที่สุภาพในการแก้ปัญหา ร่วมกับการใช้ทักษะการคิดที่ตนเองได้พบในกิจกรรมการเรียนรู้นั้นๆ และเป็นนักปฏิบัติที่จะคอยคิดและกระทำการแก้ปัญหาร่วมด้วย พบว่า นักศึกษาวิชาชีพครูในรูปแบบที่ 2 นี้ค่อนข้างจะมีการพัฒนาตนเองทั้งทางด้านการกระทำ และความคิดในทักษะการคิดเป็นอย่างดี
The purposes of this research were; 1) to study the thinking skills using by problem based of teacher profession students and; 2) to develop thinking skills using by problem based for promote democratic citizenship of teacher profession students. The research participants were 30 sophomore teacher profession students of Early Childhood Education. The research consisted of 2 phases: 1) the development of thinking skills by using problem based learning consisting of 3 steps; (1) develop thinking skills, (2) preliminary field study of the thinking skills, and (3) analysis and revision of the thinking skills using by problem based, and 2) the conclusion of the research results. The findings were as follows: 1. The development of thinking skills by using problem based is the learning process which support the teacher profession students to know, develop their thinking skills and have the democratic citizenship. The thinking skills using by problem based consisted of five steps : 1) connecting with the problem and present the problem, 2) understanding the problem, 3) research the problem, 4) syntheticing the problem, and 5) conclusion and evaluating the problem 2. From the development of thinking skills by using problem based supported the teacher profession students to get more the sense of democratic citizenship. The characteristic of thinking skills by using problem based learning can be devided 2 categories. The first category applies to develop the thinking skills through feeling and emotion trust in their thought; the second category applies to develop the thinking skills through the life skills and use thinking skills using by problem based within the group. The teacher profession students have democratic citizenship; respect to the rules, respect for the right of others, respect for the reasons and listen ideas from the others.
ทักษะการคิด, ปัญหาเป็นฐาน, พลเมืองประชาธิปไตย
thinking skills, problem based, democratic citizenship
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-01-30 13:50:15

ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด