ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนเพื่อพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพ กรณีศึกษาชุมชนบางชัน
People’s Participation in Mangrove Forest Conservation and Restoration for Biodiversity Development: a Case Study of Bang Chan Community
นภา จันทร์ตรี , พงศธร จันทร์ตรี
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
งานวิจัย
2560
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนเพื่อพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพ และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนจำแนกตามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐาน ใช้ t – test และ One – way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าชายเลนเพื่อพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพในภาพรวม อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ลำดับที่ 1 ประชาชนมีส่วนร่วมด้านการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการดำเนินการอยู่ในระดับมาก รองลงมาลำดับที่ 2 ประชาชนมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจอยู่ในระดับน้อย ลำดับที่ 3 ประชาชนมีส่วนร่วมด้านการประเมินผลอยู่ในระดับน้อย และลำดับที่ 4 ประชาชนมีส่วนร่วมด้านการดำเนินการอยู่ในระดับน้อย ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าประชานชนที่มีเพศ อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน และการเข้าร่วมอบรมที่ต่างกันมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนต่างกัน ส่วนประชานชนที่มีระดับการศึกษา สถานภาพ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับป่าชายเลนที่ต่างกันมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this research were to investigate people’s participation in mangrove forest conservation and restoration for biodiversity development and to compare the participation of people in mangrove forest conservation and restoration by classifying general information of the research sample groups who were 360 people. The research instrument was a set of questionnaires. The percentage, mean, and standard deviation were used as the research analysis. The t-test and analysis of variance were used for the hypothesis testing. The findings showed that people had the low level of participation in mangrove forest conservation and restoration for biodiversity development. When each item was analyzed, it showed that the first item of people’s participation in benefit sharing based on work operation was ranked in the high level, the second item of people’s participation in decision making was shown in the low level, the third item of people’s participation in evaluation was rated in the low level, and the fourth item of people’s participation in work operation was in the low level. The hypothesis testing results showed that people with different genders, ages, occupations, incomes, duration of staying in the community, and attendance for the training sessions had the different level of participation in mangrove forest conservation and restoration. People with different education levels, status, as well as knowledge and understanding of mangrove forests did not show the different level of participation in mangrove forest conservation and restoration, showing the statistical significance of the .05 level.
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-01-30 14:03:35

ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด