ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบยางพาราในการ ต้านการเจริญของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคบางชนิด
Development of Hand Sanitizer Containing Hevea brasiliensis (A. Juss) Muell. Arg. Leaves Extract Against the Growth of Some Pathogenic Bacteria.
ปรัชญา เฉลียวฉลาด และเดือนเต็ม ทองเผือก
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
งานวิจัย
2561
ใบยางพาราที่สกัดด้วยเอทานอลความเข้มข้น 95 เปอร์เซ็นต์ โดยวิธีมาเซอเรชัน ถูกนำมาศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด พบว่า สารสกัดใบยางพาราให้ผลผลิตร้อยละเท่ากับ 11.21 เมื่อทดสอบการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียจำนวน 5 สายพันธุ์ ได้แก่ Bacillus subtilis TISTR 1248, Escherichia coli ATCC 25922, Pseudomonas aeruginosa ATCC 27853, Staphylococcus aureus ATCC 25923 และ Klebsiella pneumoniae TISTR 1867 ด้วยวิธี paper disc diffusion พบว่า สารสกัดมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ P. aeruginosa ATCC 27853 ได้ดีที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่าศูนย์กลางวงใสของการยับยั้งเท่ากับ 9.33 ± 1.15 มิลลิเมตร แต่ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อ E. coli ATCC 25922 และ K. pneumoniae TISTR 1867 ได้ การทดสอบความสามารถของสารสกัดใบยางพาราในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียต่อหน่วยเวลาพบว่า สารสกัดที่ความเข้มข้น 2,000 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของ P. aeruginosa ATCC 27853 ได้ดีที่สุดที่เวลา 20 ชั่วโมง โดยมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่าศูนย์กลางวงใสของการยับยั้ง เท่ากับ 13.67 ± 2.08 มิลลิลิตร เมื่อทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย (MIC) และความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ (MBC) ด้วยวิธี broth dilution ผลการทดลองพบว่า สารสกัดสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ B. subtilis TISTR 1248 ได้ดีที่สุด โดยมีค่า MIC และค่า MBC เท่ากับ 62.5 และ 125 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดใบยางพาราร่วมกับยาปฏิชีวนะ gentamicin (Synergism) ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อทดสอบ พบว่า สารสกัดใบยางพาราที่ความเข้มข้น 2,000 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร กับยา gentamicin ที่ความเข้มข้น 10 ไมโครกรัม/ดิสก์ ออกฤทธิ์เสริมกันในการยับยั้งการเจริญของ P. aeruginosa ATCC 27853 และ การทดสอบความสามารถของผลิตภัณฑ์เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบยางพาราในการยับยั้ง การเจริญของเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี paper disc diffusion และ agar well diffusion พบว่า เจลล้างมือที่ผสมสารสกัดจากใบยางพาราสูตรที่ 1 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อทดสอบ ในขณะที่สูตรที่ 5 ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด และการทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์เจลล้างมือด้วยวิธี heating – cooling cycle พบว่า ลักษณะทางกายภาพของเจลล้างมือที่มีส่วนผสมของสารสกัดจาก ใบยางพาราเกิดการเปลี่ยนแปลงในรอบที่ 3 ของการทดสอบ และไม่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียทดสอบเมื่อทดสอบด้วยวิธี paper disc diffusion
Ethanolic extract of Hevea brasiliensis (A. Juss) Muell. Arg. leaves using the maceration method was evaluated their efficacy against some bacterial species. The extract showed a percentage value of 11.21. Moreover, inhibitory effects against five bacterial species; Bacillus subtilis TISTR 1248, Escherichia coli ATCC 25922, Pseudomonas aeruginosa ATCC 27853, Staphylococcus aureus ATCC 25923 and Klebsiella pneumoniae TISTR 1867 by H. brasiliensis extract were also demonstrated by paper disc diffusion method. The result showed that the extract exerted the highest activity against the growth P. aeruginosa ATCC 27853 with an inhibition zone value of 9.33 ± 1.15 mm, while not affect the growth of E. coli ATCC 25922 and K. pneumoniae TISTR 1867. The time-inhibited assay revealed that the extract at a concentration of 2,000 mg/ml could inhibit the growth of P. aeruginosa ATCC 27853 with an inhibition zone value of 13.67 ± 2.08 mm after 20 hours of incubation. The extract was further investigated their minimal inhibitory concentration (MIC) and minimal bactericidal concentration (MBC) by broth dilution method. The result revealed that the ethanolic extract of H. brasiliensis exhibited the highest antibacterial activity against the growth of B. subtilis TISTR 1248 with MIC and MBC value of 62.5 and 125 mg/ml, respectively. The synergism effect of gentamicin and H. brasiliensis leave extract against the growth of all tested bacteria was also performed in this study. The results revealed that the extract at a concentration of 2,000 mg/ml and gentamicin at a concentration of 10 µg/disc showed a synergic effect against the growth of P. aeruginosa ATCC 27853. Therefore, hand gel sanitizers containing H. brasiliensis extract were also investigated for their inhibitory effect against the growth of bacterial species by paper disc diffusion and agar well diffusion assays. It was found that recipe 1 exerted the strongest efficacy to inhibit the growth of tested bacterial species, while recipe 5 showed the most satisfaction value. Furthermore, the heating–cooling cycle assay was performed in this present study. The results revealed that the physical properties of hand gel sanitizers containing Hevea extract was changed at 3 cycles of test and could not inhibit the growth of tested bacteria by paper disc diffusion.
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย, ยางพารา, สารสกัดจากพืช, สมุนไพร
Antibacterial activity, Hevea brasiliensis, plant extract, herb
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-03-27 11:03:09