ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การศึกษาห่วงโซ่คุณค่าประมงพื้นบ้านจันทบุรีและตราด เชื่อมโยงการสร้างเครือข่ายตลาดเชิงพาณิชย์เพื่อการแข่งขันบนพื้นฐานการพึ่งพาตนเอง
The study on Chanthaburi and Trat fisheries value chain of creating a network linking commercial markets for seafood competing based on self-reliance.
ณรงค์ อนุพันธ์ และ ยุทธนา พรรคอนันต์
คณะวิทยาการจัดการ
งานวิจัย
2560
การศึกษาห่วงโซ่คุณค่าประมงพื้นบ้านจันทบุรีและตราด เชื่อมโยงการสร้างเครือข่ายตลาดเชิงพาณิชย์เพื่อการแข่งขันบนพื้นฐานการพึ่งพาตนเอง วัตถุประสงค์ที่ทำการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาสภาวะของการทำประมงพื้นบ้านและตลาดสินค้าประมงในจังหวัดจันทุบรี และจังหวัดตราด 2) เพื่อวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าและปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของห่วงโซ่ของสินค้าประมงพื้นบ้านในจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด และ 3) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และนำเสนอแนวทางการยกระดับของห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจการค้าประมงในจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด โดยใช้วิธีการแบบสัมภาษณ์และมุ่งเน้นรูปแบบการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) โดยการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบมีส่วนร่วม จำนวนกลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มชุมชนประมงพื้นบ้านจังหวัดจันทบุรี 5 กลุ่ม จังหวัดตราด 5 กลุ่ม รวมเป็น 10 กลุ่ม โดยทำการเก็บข้อมูลขนาดตัวอย่างน้อย 200 คน วิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าประมงพื้นบ้านจันทบุรีและตราด เชื่อมโยงการสร้างเครือข่ายตลาดเชิงพาณิชย์เพื่อการแข่งขันบนพื้นฐานการพึ่งพาตนเอง ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาวะของการทำประมงพื้นบ้านและตลาดสินค้าประมงในจังหวัดจันทุบรี และจังหวัดตราด ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อปีน้อยกว่า 100,000 บาท ลักษณะการทำประกอบอาชีพการทำประมงใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการจับสัตว์น้ำจากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติแล้วนำมาจำหน่ายให้กับธุรกิจเครือข่ายในชุมชนเป็นหลัก 2) ห่วงโซ่คุณค่าและปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของห่วงโซ่ของสินค้าประมงพื้นบ้าน ชาวประมงพื้นบ้านมีการจัดการห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่กิจกรรมต้นน้ำให้สัมพันธ์กับกิจกรรมกลางน้ำและกิจกรรมปลายน้ำโดยเริ่มต้นตั้งแต่การจับสัตว์น้ำที่สดใหม่ ลำเรียงมาเก็บคัดแยก ถนอมอาหารเป็นอาหารทะเลสดและอาหารทะเลแปรูปแล้วกระจายสินค้านำไปขายให้กับเครือข่ายตลาดเชิงพาณิชย์ที่เป็นผู้บริโภคคนสุดท้าย ร้านค้าชุมชน ตลาดสดชุมชน เจ้าของกิจการธุรกิจ โฮมสเตย์/รีสอร์ท/ โรงแรม รวมถึงร้านอาหารในชุมชน ด้วยวิธีการจัดการห่วงโซ่อุปทานแบบการใช้ภูมิปัญญาการทำประมงพื้นบ้านของตนเองและกลุ่มประมงที่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และ 3) การยกระดับของห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจการค้าประมง โดยชุมชนประมงพื้นเป็นแหล่งของอาหารทะเลสดที่มีคุณภาพดี สดเป็นที่ต้องการของตลาดและมีแหล่งจับสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ที่สามารถจับได้ตลอดทั้งปีที่ทำมีรายได้และเลี้ยงครอบครัวได้อย่างยั่งยืน ส่งผลทำให้เกิดผลประกอบการจากการทำประมงพื้นบ้านของการประกอบอาชีพการทำประมงที่มั่นคง และสามารถเป็นอาชีพที่สามารถถ่ายทอดสู่ลูกหลานให้ยั่งยืนได้ แต่ยังมีจุดอ่อนคือสมาชิกมีการรวมกลุ่มที่ยังไม่เข้มแข็งขาดการมีส่วนร่วมตลอดห่วงโซ่อุปทาน และขาดการสร้างคลัสเตอร์เครือข่ายในการทำประมงพื้นบ้าน
The objectives of the study were, 1) To study the state of the local fishery and the fishery product market in Chanthaburi. and Trat province, 2) To analyze the value chain and factors affecting the operation of the chain of local fishery products in Chanthaburi province And Trat province and 3) To study the feasibility and propose guidelines for upgrading the value chain of the fishing trade business in Chanthaburi province. And Trat Province By using interview methods and focusing on participatory patterns (Participatory Action Research: PAR) by opening a learning exchange platform Participatory Number of sample groups Is a group of 5 local fishery communities in Chanthaburi Province, 5 groups in Trat Province, a total of 10 groups, with a collection of 200 sample sizes, analyzing the local fishery value chain, Chanthaburi and Trat. Linking the creation of a commercial market network for competition based on self-reliance. The study indicated that : 1) The state of the local fishery and the fishery product market in Chanthaburi and Trat province mostly male age between 41-50 years old, education level is at elementary level, the average income per year is less than 100,000 baht, the nature of making a fishery occupation uses local wisdom. There is a capture of aquatic animals from natural resources and then sold to the network business in the community. 2) Value chain and factors that affect the operation of the chain of local fishery products local fishermen have a supply chain management, ranging from upstream activities in relation to water activities and downstream activities, starting from catching fresh fish. Sorting preserving food as fresh seafood and spicy seafood, then distributing products to sell to the final commercial market network of consumers, community shops, bazaars, communities, business owners, homestays / resorts / hotels and restaurants in the community. With the supply chain management method, the use of local fishery wisdom and self-help fishing groups. 3) The upgrading of the value chain of the fishing trade business. The fishing community is a source of good quality fresh seafood, fresh is needed by the market and there is a rich source of fish that can be caught throughout the year to make a sustainable income and family. Resulting in results from the local fisheries from a stable fishery occupation and can be a career that can be transmitted to children to be sustainable. But there are weaknesses, which are members that are not strong in the lack of participation throughout the supply chain. And lack of clustering networks for local fisheries.
โซ่คุณค่า, ประมงพื้นบ้าน, จังหวัดจันทบุรี, จังหวัดตราด
Value chain, Local fishing, Chanthaburi province, Trat province.
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-04-12 20:07:19