ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

ผลของการใช้น้ำทิ้งจากการหมักก๊าซชีวภาพด้วยมูลสัตว์และเศษลำไยต่อสมบัติทางเคมีของดินและการเจริญเติบโตของดาวเรือง (Tagetes erecta)
Effect of Biogas Effluent from Manure and Longan (Dimocarpus longan) Residues on Soil Chemical Property and Growth of Marigold (Tagetes erecta)
วิกันยา ประทุมยศ , สมชาย ชคตระการ และ เลิศชัย จิตร์อารี
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
งานวิจัย
2560
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนของน้ำทิ้งจากการผลิตก๊าซชีวภาพด้วยมูลสัตว์และเศษลำไยต่อการเจริญเติบโตของดาวเรือง โดยวางแผนแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 6 สิ่งทดลอง จำนวน 4 ซ้ำ ได้แก่ น้ำทิ้งจากการหมักก๊าซชีวภาพและเศษลำไย 5 อัตรา คือ 0 (T1, ควบคุม), 10 (T2), 20 (T3), 30 (T4) และ 40 (T5) เปอร์เซ็นต์ และการใช้ปุ๋ยเคมี (T6) ดำเนินการทดลอง ณ อาคารวิจัยพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี บันทึกข้อมูลค่า pH, N, P และ K ของดินก่อนและหลังการทดลอง บันทึกความสูง เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นและทรงพุ่ม น้ำหนักสดและแห้งของลำต้น กิ่ง และใบ ตลอดจนบันทึกวันแรกที่ดาวเรืองออกดอก, จำนวนดอกบาน, เส้นผ่าศูนย์กลางดอก น้ำหนักสดและแห้งของดอกบาน ผลการทดลองพบว่า ต้นดาวเรืองที่ได้รับปุ๋ยเคมีมีการเจริญเติบโตดีที่สุด รองลงมาคือต้นดาวเรืองที่ได้รับน้ำทิ้ง และต้นดาวเรืองในสิ่งทดลองควบคุมมีการเจริญเติบโตน้อยที่สุด ต้นดาวเรืองที่ได้รับน้ำทิ้ง 30% มีการเจริญเติบโตและผลผลิตดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำทิ้งความเข้มข้นอื่น ๆ
The efficiency of biogas effluent fermented with pig manure and longan residues on growth of marigold was investigated. The experimental design was a Completely Randomized Design with 4 replications. Six treatments were controlled (no fertilizer), and four concentrations (10%, 20%, 30% and 40%) of biogas effluent and chemical fertilizer. Fertilizers used for chemical treatment were 15-15-15 and 8-24-24. The experiment was conducted at Rambhai Barni Rajabhat University. Data of plant height, stem diameter and bush diameter were collected weekly. After flowering, flower number, initiation of first flower, fresh weight and dry weight of blooming flowers were measured daily. Total chlorophyll, chlorophyll a and chlorophyll b concentrations per unit leaf area, fresh weight and dry weight of roots, branches and leaves were measured at the end of experiment. Results showed that the growth of marigold in the chemical fertilizer treatment was highest and followed by that in the biogas effluents treatments. The growth of marigold in the control was lowest as compared to the remaining treatments. The growth of marigold and flower quality in 30% effluent treatment was the best as compared to the treatments of other effluent concentrations.
ดาวเรือง, น้ำทิ้งจากการผลิตก๊าซชีวภาพ, เศษลำไย, การเจริญเติบโต
biogas effluent, longan, marigold, growth
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-04-27 10:36:09

ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด