ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

ตัวแบบเพื่อพยากรณ์ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
Model for Forecasting Well-being of the Elderly: case study in Songpenong Subdistrict, Thamai District, Chanthaburi Province
วิทมา ธรรมเจริญ , นิทัศนีย์ เจริญงาม และ นิตยา ชนะสิทธิ์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
งานวิจัย
2560
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุ และสร้างตัวแบบเพื่อพยากรณ์ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในตำบลสองพี่น้อง อำเภอ ท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในตำบลสองพี่น้องจำนวน 295 คน โดยใช้การสุ่มแบบสองขั้น (Two-Stage Sampling) และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และการหาความสัมพันธ์ ส่วนสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ โดยใช้โปรแกรมทางสถิติในการประมวลผล ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุ ได้แก่ สถานการณ์ด้านการเงิน ( ) ปัจจัยด้านการปฏิบัติภารกิจทางสังคมและศาสนา ( ) ปัจจัยด้านชีวิตครอบครัว ( ) โดยปัจจัยทั้ง 3ร่วมกันอธิบายความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 25.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งสามารถสร้างตัวแบบเพื่อพยากรณ์ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุ ในตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ในรูปคะแนนมาตรฐาน (สัมประสิทธิ์ถดถอยที่ปรับค่าแล้ว)
The objectives of this research were to study factors influencing for Well-being of the Elders and created Model for Forecasting Well-being of the Elders case study in Songpenong subdistrict, Thamai district, Chanthaburi province. The samples were 295 elders. The samples were 295 elders who were selected by two-stage sampling method. The research tools were descriptive statistics, frequency, percentage and correlation coefficient. The statistics used were inferential statistics and Multi Regression Analysis. The results showed that financial flow ( ) , social and religious activity ( ), family ( ) influenced Well-being of the Elders. These 3 aspects could explain the variation of Well-being of the Elders as 25.40 percent at the 0.05 significance level. It created the predictive equation Well-being of the Elderly (Standardized Coefficients)
พยากรณ์, ความอยู่ดีมีสุข, ผู้สูงอายุ
Forecasting, Well-being, Elderly
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-04-28 14:02:52

ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด