ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

รูปแบบการขับเคลื่อนการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: ศึกษากรณี การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดระยอง และจันทบุรี
The Mobilization Styles of Creativity Tourism Management: Case Study of Agro-tourism Management in Rayong and Chanthaburi Province
คมพล สุวรรณกูฏ , กนกวรรณ เบญจาทิกุล และ ณิชาภา เจริญรูป
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
2561
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ และปัจจัยการจัดการการท่องเที่ยว ตัวแบบ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการขับเคลื่อนการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยเลือกพื้นที่ทำการศึกษารายกรณี แบบเจาะจง ในพื้นที่ชุมชนบ้านทะเลน้อย ตำบลทางเกวียน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และชุมชนบางสระเก้า ตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ 27 คน และอาศัยเทคนิคสามเส้า เพื่อการตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากบุคคล สถานที่ และเวลาที่แตกต่างกัน ควบคู่กับการวิเคราะห์บริบทชุมชน ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยว อาศัยทั้งชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตรและวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เป็นเอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะและประสบการณ์เรียนรู้ของชุมชน ตัวแบบการขับเคลื่อนการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนได้นำมรดกทางวัฒนธรรมมานำเสนอให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ และสัมผัสผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยว อาหารพื้นบ้าน และผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งสองชุมชน มีศูนย์การเรียนรู้ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ความเป็นชุมชนที่มีลักษณะ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีความเป็นเครือญาติ ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ดำเนินชีวิตตามหลักพุทธศาสนา และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาของ ชุมชนและร่วมตัดสินใจ มีการพัฒนาข้อมูลชุมชนให้มีความทันสมัยเสมอ ด้านปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ ความไม่พร้อมของชุมชน ประเภทของนักท่องเที่ยวยังไม่หลากหลาย การขาดการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวของตำบล การขาดการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มผู้นำชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงปัญหาในการเบิกจ่ายและจัดการ งบประมาณ ตลอดจนการจัดทำแผนท่องเที่ยวในระยะยาว ทำให้เห็นผลช้าซึ่งกระทบต่อรายได้ของประชาชน และข้อเสนอแนะต่อการขับเคลื่อนการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในชุมชน คนในชุมชน ต้องมีการเรียนรู้ ปรับตัว และเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการ ชุมชน ควรจัดทำแผนธุรกิจชุมชนให้ชัดเจน จะได้รู้ถึงจุดหมายและบทบาทที่คนในชุมชนต้องการก้าวเดินไปร่วมกัน ชุมชนต้องพัฒนาและเพิ่มคุณค่าทรัพยากรทางธรรมชาติและ (2) มรดกทางวัฒนธรรมของตน รวมถึงการส่งเสริมและการสร้างเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยว อีกทั้งนักท่องเที่ยว ยังต้องมีจิตสำนึกในการเข้ามาในชุมชน
The objective of this research were to study styles and tourism management factors, the models, obstacles and suggestions for driving creative tourism management of agro-tourism. It was a qualitative research as the researcher purposive selected case studies in Ban Talay Noi Community Thang Kwian Sub-district, Klaeng District, Rayong Province and Bang Sa Kao Community Bang Sa Kao Sub-district, Laem Sing District, Chantaburi Province, collecting data by using the in-depth interview of 27 key-informants, data analyzed with logical context and triangulation techniques to check the information obtained from different people, places and times. The study found that tourism management styles relying on the whole community as a tourist attraction agricultural and cultural oriented. Factors affecting creative tourism management including of abundance of natural resources, culture and tradition, unique total way of life, local wisdom, skills and experience of community learning. Model for driving creative tourism management; the community has brought cultural heritage presented to tourists to learn and experience through tourism activities, local cuisine and community products. Both communities have a learning center that allows tourists to participate in learning,including of civil society that resembles helping each other, kinship, live a simple life, live according to Buddhism principles and sufficiency economy philosophy, people in the community participate in decision making and determining the development direction of the community and always developing community information to be up-to-date. The problems and obstacles are includsive of the lack of community readiness. The numerous of tourists are not varied. The lack of publicity on tourist attractions. Lack of development ongoing tourism management from community leaders and government agencies, Includsiveness of the problems (4)in disbursement and dudget management, AS well as the long-term travelling plans organization, resulted a slow process which affect the income of the locals. Recommendations for driving creative tourism management of agrotourism sites that people in the community have learning, adapt and prepare to be entrepreneurs, communities should make community business plans for knowing destinations and roles that they want to walk together, the community must develop and increase the value of natural resources and their cultural heritage, promotion and creative of a community tourism network, the tourists must also have a consciousness to come into the community.
การท่องเที่ยว, รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยว, การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, การท่องเที่ยวเชิงเกษตร, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
Tourism, Tourism Management Style, Creativity Tourism Management, Agro-tourism, Cultural-tourism,
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-10-01 10:39:53

ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด