ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

ความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ทะเลบางกลุ่มในบริเวณหาดหิน และแนวปะการัง บริเวณอ่าวยาง จังหวัดจันทบุรี
Biological diversity of some marine animal in rocky shore and coral reef at Ao Yang Bay, Chanthaburi Province
ประสาน แสงไพบูลย์ , ชุตาภา คุณสุข และ สรศักดิ์ นาคเอี่ยม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
งานวิจัย
2562
การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ทะเลในกลุ่มครัสเตเชียน มอลลัสก์ และปลาในบริเวณหาดหิน และแนวปะการัง บริเวณอ่าวยาง จังหวัดจันทบุรี เก็บตัวอย่างภาคสนามทั้งหมด 6 ครั้ง ในฤดูแล้ง ได้แก่ เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม และฤดูฝน ในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม 2562 ในระบบนิเวศหาดหิน เก็บตัวอย่างโดยการใช้มือ และสวิง ส่วนในระบบนิเวศปะการังจะดำน้ำแบบ Scuba และใช้ลอบแบบพับได้ที่มีขนาดตา 2.5 นิ้วในการจับ ทั้งหมด 100 ลูก และศึกษาปัจจัยทางกายภาพบางประการที่มีผลต่อการแพร่กระจายของสัตว์ทะเล ผลการศึกษาในระบบนิเวศหาดหิน พบความหลากหลายของครัสเตเชียน จำนวน 16 วงศ์ 21 สกุล 24 ชนิด สำหรับมอลลัสก์ พบความหลากหลายจำนวน 16 วงศ์ 20 สกุล 22 ชนิด และปลาทะเลพบความหลากหลายจำนวน 9 วงศ์ 9 สกุล 11 ชนิด โดยมีสัดส่วนของประชากรสัตว์ทะเลในบริเวณหาดหิน พบกลุ่มครัสเตเชียนมากที่สุด คิดเป็น 85% รองลงมา คือ มอลลัสก์ 11% และปลาทะเล 4% สำหรับในระบบนิเวศแนวปะการัง พบความหลากหลายของครัสเตเชียนทั้งหมด 5 วงศ์ 8 สกุล 13 ชนิด มอลลัสก์พบความหลากหลายทั้งหมด 2 วงศ์ 2 สกุล 2 ชนิด และปลาทะเลพบความหลากหลายทั้งหมด 5 วงศ์ 4 สกุล 5 ชนิด โดยมีสัดส่วนของประชากรสัตว์ทะเลในบริเวณระบบนิเวศปะการัง พบกลุ่มครัสเตเชียนมากที่สุด คิดเป็น 97% รองลงมา คือ ปลา 3% และมอลลัสก์พบน้อยมาก การศึกษาความชุกชุมของสัตว์ทะเลทั้ง 3 กลุ่มในบริเวณหาดหิน พบความชุกชุมมากที่สุดในบริเวณสถานีที่ 3 สำหรับความชุกชุมของสัตว์ทะเลในแต่ละฤดูกาล พบความชุกชุมในช่วงฤดูแล้ง (72.64%) มากกว่าฤดูฝน (27.36%) โดยพบความชุกชุมของแมลงสาบทะเล (Ligia sp.) มากที่สุด คิดเป็น 52.16% สำหรับในบริเวณแนวปะการัง พบความชุกชุมมากที่สุดในบริเวณสถานีที่ 2 โดยพบความชุกชุมในช่วงฤดูฝน (61.16%) มากกว่าฤดูแล้ง (38.84%) และพบว่าปูหินขาลาย (Charybdis annulata) มีความชุกชุมมากที่สุด คิดเป็น 35.36% ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความชุกชุมของสัตว์ทะเลกับปัจจัยทางกายภาพบางประการ พบว่าความชุกชุมของสัตว์ทะเลมีความสัมพันธ์กับค่าอุณหภูมิของน้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)
Biological diversity of some marine animals in Rocky shore and coral reef at Ao YangBay, Chanthaburi Province. Field survey was carried out to six times covered in dry season during January to March and wet season during May to July 2019. In rocky shore ecosystem, samples were collected by hand and drift net. But for the coral reef ecosystem samples were collected by diving along the coral reef and trapping by the 100 collapsible crab traps mesh size 2.5 inch in the bottom and all around have mesh size 2 inch. Physical factors that influenced to distribution of marine animals were also measured. Identification of the rocky shore ecosystem had revealed that a total of crustaceans were 16 families, 21 genera and 24 species. Mollusc were belonged to a richness of 16 families, 21 genera and 22 species. In addition, the total number of 9 families, 9 genera and 11 species of fish were recorded across the rocky shore sampled. Crustacean was most abundance (85%) and followed by mollusc (11%) and fish (4%), respectively. For the coral reef ecosystem was found that crustaceans belonged to 5 families, 8 genera and 13 species. Mollusc was found that 2 families, 2 genera and 2 species including fish was found that 5 families 4 genera and 5 species. Crustacean was the most abundance (97%) and fish (3%). For the mollusk was rare in this ecosystem. Abundance of marine animal in the rocky shore was most found in station 3 (Right hand side of Nomsao Island) and also found that in dry season (72.64%) higher than wet season (27.36%). Ligia sp. was most dominant in this ecosystem (52.16%). Abundance of marine animal in the coral reef was most found in station 2 (in the middle of Nomsao Island) and also found that in wet season (61.16%) higher than dry season (38.84%). Rock crab Charybdis annulata was most dominant in this ecosystem (35.36%). The abundance of marine animal was correlated with the water temperature (p<0.05).
ความหลากหลายทางชีวภาพ, สัตว์ทะเล, หาดหิน, แนวปะการัง, อ่าวยาง
Biodiversity, Marine animal, Rocky shore, Coral reef, Ao Yang Bay
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-09-30 15:56:52