ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

ปัญหาการกำหนดเงื่อนไขและการเบิกสิทธิประโยชน์ชราภาพตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. 2533
Problem of Determine Conditions and Old-age Pension Benefits Based on social Security Act. B.E. 2533
อุลิช ดิษฐปราณีต , อาทิตยา โภคสุทธิ์ , รัชนีวรรณ โอรทัต , สุธีราภรณ์ แสงจันทร์ศรี และ วิศิษศักดิ์ เนืองนอง
คณะนิติศาสตร์
งานวิจัย
2562
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด หลักการ สภาพปัญหา สาระสำคัญของการ ประกันสังคมในส่วนที่เกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพตามกฎหมายประกันสังคม และ 2) ศึกษาและค้นคว้ามาตรการทางกฎหมายมาใช้เป็นแนวทางสำหรับการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับการประกันตน กรณีชราภาพตามกฎหมายประกันสังคมให้เหมาะสม ชัดเจน และเป็น ธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งวิธีดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสารทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ รวมทั้งปัญหาการเบิกสิทธิประโยชน์ทดแทนชราภาพตามกฎหมายประกันสังคมของผู้ประกันตนเฉพาะในเขตพื้นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 ได้แก่ เขตบางบอน เขตบางขุนเทียน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ และเขตทุ่ง ครุจากการศึกษา พบว่าการประกันชราภาพ เป็นการสร้างหลักประกันเพื่อคุ้มครองรายได้ของ ผู้ประกันตน ที่ได้ทำงานมาเป็นเวลานาน และต้องสูญเสียรายได้หรือรายได้ลดลงเพราะความสามารถในการทำงานลดลงเนื่องจากความชรา ซึ่งเป็นเหตุแห่งการเดือดร้อนและกระทบกระเทือนรายได้ในการยังชีพ โดยการดำเนินการให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตในมาตรฐานที่เหมาะสม โดยการจัดให้มีบำนาญเลี้ยงชีพเพื่อจะได้ใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างปกติสุข ถึงแม้ว่ากองทุนประกันสังคมตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 กำหนดสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างไว้ถึง 7 กรณี ซึ่งถือเป็นสิทธิประโยชน์ที่มีความจำเป็นและสำคัญในการดำรงชีวิตของลูกจ้างก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติยังพบว่าการเบิกจ่ายสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนกรณีชราภาพนั้นยังคงมีปัญหาและเงื่อนไขในการเบิกจ่ายอยู่ไม่น้อยไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ 1) ข้อจำกัดในการรับบำเหน็จหรือบำนาญ ผู้ประกันตนไม่มีสิทธิที่จะเลือกแต่ถูกกำหนดไว้ด้วยผลของกฎหมาย 2) เรื่องของอายุในการรับประโยชน์กรณีชราภาพนอกจากต้องมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์และต้องไม่เป็นผู้ประกันตนแล้วถึงจะมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ นั่นหมายความว่าหากผู้ประกันตนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ยังทำงานอยู่ถ้าหากอยากได้รับเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพจะต้องลาออกจากการทำงานเสียก่อน และหากลาออกจากการเป็นผู้ประกันเพื่อรับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพดังกล่าวแล้ว จะไม่มีสิทธิในการรักษาพยาบาลต่ออย่างเช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญ และ 3) การจ่ายเงินชราภาพกรณีบำนาญยังมีจำนวนที่น้อยไป หากเทียบกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ดังนั้นจึงควรมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายประกันสังคมในเรื่องของการกำหนดสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขในการรับบำเหน็จบำนาญชราภาพ ดังนี้ 1) ผู้ประกันตนควรมีสิทธิที่จะเลือกว่าจะรับบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพ หากผู้ประกันตนที่เลือกรับบำนาญชราภาพควรมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลต่อไป 2) เรื่องของอายุในการรับบำเหน็จบำนาญชราภาพควรมีการแก้ไขให้เป็นไปตามเงื่อนไขในเรื่องการเกษียณอายุการทำงานด้วย เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างให้ผู้ที่อยากได้รับเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพลาออกจากงานเพื่อมารับเงินดังกล่าว ทั้งที่ยังคงทำงานอยู่ และ 3)ควรมีการเพิ่มเงินบำนาญกรณีชราภาพขึ้น เพื่อให้พอเพียงต่อการดำรงชีพ และสภาพเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน
The objectives of this research are to 1) study the notions, principles, problems, and main content of social security which related to old age compensation benefits under Social Security Law and 2) to study and in-dept legal measures research in order to be the guidance for the appropriate, clear, and justified development of the law relating to old age case of an insured person under Social Security Law, regarding social and economical changing conditions The methodology of the research is based documrntory research boyh domestic and international information, including problems on old age compensation benefit claims under Social Security Law of insured persons only in area 7 of Social Security Bangkok Office which includes Khet Bang Bon, Khet Bang Khun Thian, Khet Chom Thong, Khet Ratburana, and Khet Thung Khru. The findings have showed that old age social security is the guarantee for insured persons who have worked for long time and their incomes are lost or declined because of the decreasing of working ability level resulted from old age. This is the reason for the troubles and income disruption in life sustain must The solution is to provide appropriate standard of living for old age with pension benefits for their happy and peaceful lives. Although The Social Security Fund (SSF) under the Social Security Act B.E. 2533 has determined 7 causes of employee’s benefits which are considered basic and necessary for their lives, the claims of insured person for old age practically face with numerous problems and limitations. These problems and limitations are 1) limitations in pension claims which an insured person has no right to choose, the benefits is set according to effects of law 2) the age for old age compensation benefits must not only be 55 but must not be an insured person in order to have right on old age compensation benefits, in other words, if an insured person is 55 years old already but he/ she is still working, to get pension, he/ she has to resign from his/her work. Moreover, if he/she resigns from his/her work for pension benefits, he/she will have no right for continuing nursing, like pension fund, and 3) old age pension is still an insufficient amount of money regarding the recent economical state. Consequently, there should be the development of social security law about setting benefits and conditions for old age pension claims which includes 1) an insured person should have the right to choose either whole- paid pension or monthly pension, if he/ she chooses monthly pension, he/ she should have right for continuity health care2) the age for pension should be adjusted to conform to the conditions of retirement in order to prevent the gap of the person who resign from work, during working, onpurpose of pension, and 3) there should be an increase in pension which is suitable for life sustaining in recent economical state.
กฎหมายประกันสังคม,ประกันชราภาพ, บำเหน็จ, บำนาญ
social security law, old age social security, whole-paid pension, monthly pension
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-09-30 16:01:36