ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

แนวทางการนิเทศติดตามผลการจัดการความรู้ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพโดยการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของครูผู้ช่วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2
Supervision and Monitoring Guidelines Knowledge management for Professional learning community (PLC) via Electronic Communication System of assistant teachers at Primary Educational service area 2 in Chanthaburi
เจนจบ สุขแสงประสิทธิ์ และ ฬิฏา สมบูรณ์
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
2561
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการนิเทศติดตามผลการจัดการความรู้ ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) โดยการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของ ครูผู้ช่วย สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 และเพื่อประเมินแนวทางการนิเทศติดตามผลการจัดการความรู้ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) โดยการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของครูผู้ช่วย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 สถานศึกษาในสังกัด 67 โรงเรียน จาก 6 อำเภอ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 177 คน วิธีดำเนินการวิจัยใช้แบบสอบถามเพื่อหาแนวทางการนิเทศติดตามผลการจัดการความรู้ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพโดยการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาแนวทางการนิเทศติดตามกระบวนการชุมชนแห่งวิชาชีพโดยการสื่อสาร ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โปรแกรม Google Classroom เป็นระบบในการสร้างชุมชนแห่งวิชาชีพ และใช้แบบประเมินแนวทางการนิเทศติดตามกระบวนการชุมชนแห่งวิชาชีพ โดยการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. แนวทางการนิเทศติดตามผลการจัดการความรู้ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) โดยการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างเพศหญิง ร้อยละ 56.5 เพศชาย ร้อยละ 43.5 โดยภาพรวมแล้วมีความต้องการ แนวทางการนิเทศติดตามทั้งสามด้านคือ ด้านการนิเทศแบบร่วมมือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการนิเทศแบบร่วมมือมีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุดเรื่อง การช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนทางเลือกในการแก้ปัญหา การเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ นำเสนอข้อเสนอแนะ การสร้างวิธีการต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ กระตุ้น ส่งเสริมยอมรับข้อขัดแย้งประนีประนอม และเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ ตกลงร่วมกันเพื่อหาข้อยุติ ส่วนเรื่องความต้องการการชี้แนะ รับฟังและทำความเข้าใจปัญหานั้น อยู่ในระดับมาก ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุดเรื่อง ช่วยทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น มีการสื่อสารกันได้มากขึ้น ช่วยลดเวลาและงบประมาณในการนิเทศ ส่วนเรื่องระบบสารสนเทศเพื่อความสะดวกในการติดตาม มีความต้องการอยู่ในระดับมาก ด้านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมีความต้องการมากที่สุดเรื่อง มีทีมร่วมแรงร่วมใจในการทำงาน มีการเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ และมีชุมชนกัลยาณมิตร มีความสุข ไม่โดดเดี่ยว ส่วนมีการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันและมีภาวะผู้นำร่วมกัน 2. ผลการประเมินต่อแนวทางการนิเทศติดตามผลการจัดการความรู้ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพโดยการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้ โดยรวมมีระดับมากที่สุดทุกด้าน คือ ด้านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (4.70) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (4.56) และด้าน การนิเทศแบบร่วมมือ (4.53) ตามลำดับ
This research aimed 1) to find a way to supervise and follow-up for professional learning community management (PLC) through electronic communication of assistant teachers, and 2) to determine the guidelines for supervision and follow-up for professional learning community management (PLC) through electronic communication of assistant teachers. The sample group used in this study was the 177 assistant teachers in 67 schools of 6 districts under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 2, selected specifically. The research instruments were 1) the questionnaires for determining the guidelines for supervision and follow-up for professional learning community management through electronic communication and for supervisory development for monitoring professional learning community through electronic communications by using the Google Classroom program as a system to build a professional community 2) the satisfaction questionnaire for assessment the teachers’ opinions toward the supervision guidelines. A 5-level rating scale questionnaire was applied for data collecting and statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation (S.D.). The study findings revealed as follows: the respondents were 56.5% female and 43.5% male. Overall, the respondents need supervision in all three aspects that consisted of the following: 1) cooperative supervision, 2) information technology and 3) professional learning community. Regarding to cooperative supervision, the study showed the highest satisfaction level in cooperative supervision from exchanging alternatives to solve problems, Learning by exchanging knowledge and experience, giving suggestions, creating methods to stimulate, encourage, accept conflicts, compromise, and the exchange of information and make a settlement agreement. As for the need for guidance, listening and understanding that problem was at a high level. Besides that, the satisfaction of information technology was at the highest level, resulting in working faster, reducing time and budget spent on management. As for the information system for convenience in tracking, it showed a high level of satisfaction. Regarding to the vocational learning community, the highest level of the satisfaction involved cooperative teamwork, learning and professional learning and development, caring community, happiness, social connection (not living alone), shared vision and shared leadership. The results showed that the assistant teachers’ opinions toward the guidelines for supervision and follow-up for professional learning community management (PLC) through electronic communication were at the highest level of satisfaction of all items.
การนิเทศแบบร่วมมือ , ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ , การสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
Cooperative Supervision, Professional Learning Community, Electronic Communication
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-09-30 16:02:49