Toggle navigation
หน้าหลัก
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามหน่วยงาน
หน่วยงาน
คณะครุศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักศิลปวัฒนธรรม
งานวิจัยตามปี พ.ศ.
แบ่งตามปี พ.ศ.
พ.ศ. 2567
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2545
สถิติงานวิจัย
ประเภทของสถิติ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายในและภายนอก
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
สถิติจำนวนโครงการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
คณะทำงาน
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
เข้าสู่ระบบ
หน้าหลัก
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายระเอียดการวิจัย
เมนูหลัก
หน้าหลัก
สาขางานวิจัยทั้งหมด
ประวัตินักวิจัย
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามคณะ
139
คณะครุศาสตร์
27
คณะนิติศาสตร์
36
คณะนิเทศศาสตร์
2
คณะพยาบาลศาสตร์
89
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
30
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
67
คณะวิทยาการจัดการ
130
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
107
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
159
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
27
สถาบันวิจัยและพัฒนา
1
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
สำนักศิลปวัฒนธรรม
รายการข้อมูลงานวิจัย
รายการข้อมูลงานวิจัย
ชื่องานวิจัย (ภาษาไทย)
การศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติจากการจัดการเรียนการสอนด้วย KDA โมเดล ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ชื่องานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)
A Study of Student Learning Outcomes based on National Qualifications Framework for Highes Education in Thailand from the KDA Model based Classroom in Rambhai Barni Rajabhat University.
ชื่อผู้แต่ง
พิม แสนบุญศิริ , จักรวรรดิ กิ่งส้มกลาง , ศุภศิระ ทวิชัย , อุดมลักษณ์ ระพีแสง และ อุมารินทร์ มัจฉาเกื้อ
สาขางานวิจัย
หน่วยงาน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประเภทงานวิจัย
งานวิจัย
ปีงบประมาณ
2561
ชื่อทุน
หน่วยงานเจ้าของทุน
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จากการจัดการเรียนการสอนด้วย KDA โมเดล มีรูปแบบการสอน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นความรู้ (Know : K) ขั้นฝึกหัด (Drills :D) และขั้นลงมือปฏิบัติในสถานการณ์จริง (Action : A) การเรียนในรายวิชาปฏิบัติ ทำการวิจัยโดยใช้รูปแบบการสอน KDA โมเดล โดยแยก การวิจัยออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบและด้านทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี ทำการวิจัยกับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ปีการศึกษา 2561 เลือกกลุ่มประชากรแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 187 คน กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาปฏิบัติ จำนวน 5 รายวิชา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินการสังเกตพฤติกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีลักษณะเป็น แบบประเมินคะแนนรูบริคสเกล 3 ระดับโดยการกำหนดค่าน้ำหนักเท่ากันและแบบวัดผมสำฤทธิ์ทางการศึกษามีลักษณะเป็นแบบทดสอบด้านความรู้ เก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยโดยบันทึกพฤติกรรม ของนักศึกษาเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทั้งก่อนและหลังเรียน (Pre-Post Test) วิเคราะห์ผลการวิจัย ด้วยสถิติ t-test dependent และแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ผลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ผลการวิจัยดังนี้ 1) การศึกษาผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ของนักศึกษาหลังจากใช้การจัดการเรียนการสอนด้วย KDA โมเดลพบว่า การจัดการเรียนการสอนด้วย KDA โมเดล สามารถทำให้นักศึกษามีผลการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นแต่ละด้าน ดังนี้ 1.1 ด้านคุณธรรมจริยธรรม (รายวิชาการเป็นผู้ฝึกและการจัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล) นักศึกษามีผลการเรียนดีขึ้น ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 22.59 คะแนน (คิดเป็นร้อยละ 57.96) หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 27.04 คะแนน (คิดเป็นร้อยละ 69.34) จากคะแนนเต็ม 39 คะแนน 1.2 ด้านความรู้ (รายวิชาการจัดกิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์ 2) นักศึกษามีผลการเรียนดีขึ้น ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 11.76 คะแนน (คิดเป็นร้อยละ 39.20) หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 17.54 คะแนน (คิดเป็นร้อยละ 58.46) จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน 1.3 ด้านทักษะทางปัญญา (รายวิชาการเป็นพิธีกรและผู้ประกาศ) นักศึกษามีผลการเรียนดีขึ้น ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 13.43 คะแนน (คิดเป็นร้อยละ 67.13) หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 16.28 คะแนน (คิดเป็นร้อยละ 81.38) จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน 1.4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (รายวิชาการเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม) นักศึกษามีผลการเรียนดีขึ้น ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 10.11 คะแนน (คิดเป็นร้อยละ 37.44) หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 21.44 คะแนน (คิดเป็นร้อยละ 79.40) จากคะแนนเต็ม 27 คะแนน 1.5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี (รายวิชาการอ่านและเขียนโน้ตสากล) นักศึกษามีผลการเรียนดีขึ้น ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 5.85 คะแนน (คิดเป็นร้อยละ 29.25) หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 13.69 คะแนน (คิดเป็นร้อยละ 68.45) จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน 2) การเปรียบเทียบการใช้การจัดการเรียนการสอนด้วย KDA โมเดลในการพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ก่อนและหลังเรียน พบว่านักศึกษามีผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) หลังเรียนสูงกว่าก่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) การศึกษาการจัดการเรียนการสอนด้วย KDA โมเดล ทำให้นักศึกษามีความคงทนด้านความรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) พบว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนและหลังเรียน 3 สัปดาห์ มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (0.00 > 0.05) ดังนั้น วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วย KDA โมเดลช่วยให้นักศึกษามีความคงทนในการเรียนรู้ 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลังสำเร็จการเรียนในกลุ่มวิชาปฏิบัติที่ใช้การจัดการเรียนการสอนด้วย KDA โมเดลพบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.93 (SD. = 0.25)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
The research aimed to study of the learning and teaching achievement of students based on the Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF) through KDA instructional model with 3 main algorithms: K-know, D-drills, and A-action. The research was divided into five dimensions. dimensions: 1) virtue and morality, 2) knowledge, 3) wisdom skills, 4) personal relation and responsibility, and 5) figurative analytical thinking, communication and technological application. The work was committed on the normal undergraduate students of Rambhai Barni Rajabhat University , who were in the research population. The samples were 187 students who registered for the five practical courses, during the first semester in the academic year of 2018 provided by purposive random sampling. The instruments used for this study were a learning behavior observation form, a pre and post-test and a questionnaire on students’ opinions. The data was collected using Likert three-point rating scale questionnaires. The duration of implementation was 6 weeks. The data was statistically analyzed by mean scores, percentage, standard deviation and t-test for dependent samples. The research findings revealed that: 1) The outcome of learning based on national TQF after the use of KDA instructional model was found that it could help students get a higher and better learning achievement in each dimension as follows: 1.1 by the dimension of virtue and morality, the students’ learning achievement with their post-learning average marks of 27.04 (69.34%) from 39 marks, 1.2 by the dimension of knowledge, the students’ got learning achievement with their post-learning average marks of 17.54 (58.46%) from 30 marks, 1.3 by the dimension of wisdom skills, the students’ learning achievement with their post-learning average marks of 16.28 (81.38%) from 20 marks, 1.4 by the dimension of personal relation and responsibility, the students’ learning achievement with their post-learning average marks of 21.44 (79.40%) from 27 marks, 1.5 by the dimension of figurative analytical thinking, communication and technological application the students’ learning achievement with their post-learning average marks of 13.69 (68.45%) from 20 marks. 2) By comparing the students’ learning achievement pre-test and post-test scores, it was found that the KDA instructional model could help students get a higher learning achievement of the 0.05 significance. 3) After the 3-week intervention, the students learning retention in the practical classroom by using the KDA instructional model were not unlike the posttest at the level of statistical significance .05 4) The students who had finished the practical courses get the highest level of satisfaction of 4.93 (SD=0.25) average.
คำสำคัญ
ผลการเรียนรู้ของนักศึกษา, กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา, การจัดการเรียนการสอนด้วย KDA โมเดล
Keywords
Learning achievements, TQF, KDA instructional model
เพิ่มข้อมูลโดย
ณัฐฐานี ดีซื่อ
แก้ไขล่าสุด
2020-09-30 16:13:18
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก