ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การสี่อสารความเชื่อจากสัญญะในพิธีกรรมของศิลปินละครเท่งตุ๊กจังหวัดจันทบุรี
Belief Communication through semiotic in Ritualistic of ‘Teng-Took’ Drama Folk Performers, Chanthaburi Province
สมพงษ์ เส้งมณีย์ รัจน์ชีวาต์ แซ่ตั๋น สริยาภา คันธวัลย์ บวรสรรค์ เจี่ยดำรง และจำเริญ คังคะศรี
คณะนิเทศศาสตร์
งานวิจัย
2561
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเชื่อเบื้องหลังในพิธีกรรมของศิลปินพื้นบ้านละครเท่งตุ๊กจังหวัดจันทบุรี และ (2) วิเคราะห์การสื่อสารความเชื่อจากสัญญะในพิธีกรรมของศิลปินพื้นบ้านละครเท่งตุ๊ก เป็นงานวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาโดยวิจัยเอกสาร และเก็บข้อมูลกับศิลปินคณะละครเท่งตุ๊กจังหวัดจันทบุรี จำนวน 30 คน ด้วยเทคนิคการวิจัยแบบฝังตัว สังเกตแบบมีส่วนร่วม และสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า (1) ความเชื่อเบื้องหลังศักดิ์สิทธิ์ของศิลปินละครเท่งตุ๊กส่วนใหญ่ คือ พระฤๅษีนารอด หรือพระภรตมุนี (พ่อแก่) และครูละครเท่งตุ๊กผู้ล่วงลับ บางคณะละครเชื่อครูหมอโนรา โดยการตอบสนองความเชื่อผ่านพิธีกรรมไหว้ครูละครเท่งตุ๊กทุกปี ซึ่งเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่ผสมผสานความเชื่อระหว่างศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ และ (2) การสื่อสารความเชื่อของศิลปินเท่งตุ๊ก (2.1) สามารถวิเคราะห์ได้ตามองค์ประกอบการสื่อสาร ได้แก่ ผู้ส่งสาร เนื้อหาสาระ ช่องทางการสื่อสาร ผู้รับสาร และผลกระทบจาการสื่อสารความเชื่อ โดยเกิดการสื่อสารความเชื่อ 2 ระดับ คือ การสื่อสารความเชื่อภายในบุคคล และการสื่อสารระหว่างบุคคลภายในกลุ่มศิลปินเท่งตุ๊ก (2.2) สัญญะในพิธีกรรมการไหว้ครูของละครเท่งตุ๊ก พบว่า (ก) สัญลักษณ์ความเชื่อเรื่องครู สะท้อนความหมายถึง การแสดงความเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในฐานะ “ครู” ผู้ถ่ายทอดศิลปะการแสดงละครเท่งตุ๊ก พิธีกรรมการไหว้ครูจึงเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการตอบแทนครูด้วยความกตัญญูกตเวทิตา การสำนึกในหน้าที่ของศิษย์ การสร้างความสามัคคี การให้อภัย และอุทิศส่วนกุศลให้ครู (ข) สัญญะเครื่องสักการะสังเวยบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประกอบด้วยอาหารคาว หวาน พืช ผลไม้ หมายถึง การจัดเลี้ยงแสดงความขอบคุณสำนึกในคุณของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผู้เป็น “ครู” ของละครเท่งตุ๊ก ด้วยอาหาร พืช ผลไม้ และสิ่งของมงคลต่าง ๆ อย่างอุดมสมบูรณ์ โดยหวังว่าจะได้รับความสุข และความอุดมสมบูรณ์
This research aimed to: 1) studied on background beliefs of Teng-Took drama folk performers in the ritualistic ceremony, Chanthaburi province, and 2) analysed in belief communication regard to the significant symbols that were used throughout the entire ceremony of Teng-Took drama folk performers. In this ethnographic research, documentary research and the data were collected from 30 Teng-Took drama performers in Chanthaburi province. The methods of field research technique, participatory observation, and in-depth interviews were employed. The research findings revealed that: 1) The background beliefs in sacred being of the most Teng-Took drama performers were ‘Narata Muni’ or ‘Bharata Muni’ (Por-kea), the Holy hermit Guru, and the spirits of drama-music masters. Some Teng-Took troupe believed in Nora Guru by the beliefs in responding throughout the ‘Wai-Khru’ ceremony in anniversary, which the sacred ceremony hybridized between Buddhism belief, Brahma-Hindu, and sacred spirits. 2) The analysis of the belief communication of Teng-Took drama folk performers under study comprised two distinct sections: (1) The form of communication elements were senders, message, channel, receivers, and effect of belief communication. The belief communication occurred in two levels, i.e. intrapersonal communication level, and interpersonal communication inside the Thengtug performers. (2) Semiotic in the ‘Wai-Khru’ ceremony found that (2.1) Belief symbolic of Guru was meaning reflection of the respectfulness of sacred spirits as Guru, who was the Teng-Took performing arts transition. The ‘Wai-Khru’ ceremony was symbolic to demonstrate that being gratitude thankful for benefits received and reciprocates venerable person, conscious of student role being, harmonious building, forgiveness, and charitable dedicated to Teng-Took spirit masters. (2.2) Semiotic of ‘Kureng Sangwey’, offerings of food/dessert, plants, fruit or flowers significantly means that paying homage to thankfulness party, which conscious of sacred master spirits as guru of Teng-Took drama within prosperity and wealth of food/dessert, plants, fruits or flowers, and auspicious things, which hoped that the happiness and wealth come true.
การสื่อสารสัญญะ, ความเชื่อและพิธีกรรม, ละครเท่งตุ๊ก
Semiotic Communication; Belief
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-09-30 16:16:39