ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การพัฒนาวัสดุทางเลือกจากยางพาราเพื่อการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์
Alternative Materials Development from Rubber Enhancing Furniture Product Value
จุฑาทิพย์ นามวงษ์ , เข็มชาติ เชยชม , พรพจน์ หมื่นหาญ , นาวี เปลี่ยวจิตร์ และ วรฉัตร อังคะหิรัญ
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
งานวิจัย
2561
จากปัญหาราคาน้ำยางพาราตกต่ำ ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาทดลองนำส่วนเหลือใช้จากกระบวนการแปรรูปยางพารา ได้แก่ ขี้เลื่อยและใบยางพารา มาแปรรูปผสมกับน้ำยางพาราในสัดส่วนต่าง ๆ เพื่อให้ได้แผ่นวัสดุที่เหมาะสมสำหรับการตกแต่งผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ให้กับผู้ประกอบการในจังหวัดจันทบุรีและใกล้เคียง เพื่อนำไปสู่การสร้างเสริมรายแก่เกษตรกรในพื้นที่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ของท้องถิ่นและการใช้เทคโนโลยีพื้นฐานที่ให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ด้วยกระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการออกแบบ คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษารวบรวมข้อมูลสถานการณ์การผลิต พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ โดยการแจกแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้สนใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ในร้านจำหน่ายและงานนิทรรศการต่างๆ ในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 100 คน ด้วยวิธีการการสุ่มแบบบังอิญ (accidental sampling) จากนั้นนำมาสรุปวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อทำการทดลองพัฒนาวัสดุทางเลือกใหม่สำหรับใช้ตกแต่งผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ ซึ่งผลจากการศึกษาทดลอง ได้วัสดุทางเลือกใหม่จากส่วนของยางพารา จำนวน 3 รูปแบบ คือ 1) แผ่นโครงใบยางพาราผสมน้ำยาง 2) แผ่นขี้เลื่อยผสมน้ำยาง(1:1:5) และ3) แผ่นใบยางพาราปั่นผสมย้ำยาง (1:2) แล้วทำการประเมินคัดเลือกวัสดุโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน จากนั้นประชุมกลุ่มระดมความคิดเห็น(Focus Groups)ร่วมกับตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางพารา ผู้ประกอบการ นักวิชาการและนักออกแบบผลิตภัณฑ์ เพิ่อหาแนวทางพัฒนาปรับปรุงวัสดุให้เหมาะสมต่อการผลิตและเป็นไปตามความต้องการของตลาด โดยได้ทำการออกแบบและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ซึ่งมีการตกแต่งด้วยวัสดุทางเลือกใหม่ซึ่งได้รับการพัฒนามาแล้วดังกล่าว
Owing to the effects of decline in natural rubber latex prices, the aim of this study is to produce alternative materials for decorative products of furniture from the unused parts of natural rubber tree, including sawdust and leaves, mixed with natural rubber latex in variable proportions. Consequently, this study can be used to help rubber entrepreneurs especially in Chanthaburi Province and nearby areas. This research, furthermore, can lead to an income enhancement of rubber farmers in those areas underneath the concept of “The Creative Economy”, focused on further development of local knowledge and basic technology to support farmers’ self-reliant by adding value through design. The data of production situation, consumer behavior, and consumer demand were collected from questionnaires with the accidental sampling method. The participants were 100 customers who intended to buy furniture in the shop and various exhibitions in Chanthaburi province. Then, the data were analyzed and summarized to use experimental data to develop new alternative materials for decorative products of furniture. According to the experiment, the results revealed that there were 3 new alternative materials: 1) Skeleton rubber leaves mixed with rubber latex 2) Rubber sawdust mixed with rubber latex (1:1.5) and 3) Shredded rubber leaves mixed rubber latex (1:2). The materials were evaluated and selected by 3 experts, then they discussed and brainstormed with representatives of rubber farmers, entrepreneurs, academics and product designers to find the suitable ways of material development which are suitable for production and market demand. In addition, the prototype of furniture product was designed and created by using these new alternative materials.
ยางพารา, วัสดุทางเลือก, ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์, อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์, เศรษฐกิจสร้างสรรค์
rubber latex, alternative materials, furniture industry, the creative economy.
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-10-01 10:21:29