ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การศึกษาภาวะผู้นำของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นจันทบุรี
The Study of The Leadership of King Taksin the Great in The Chanthaburi Local Histories
ปัญญา วงศ์ต่าย , ธนกร ภิบาลรักษ์ และ ณัฏฐกฤต ชัยอริยเมธี
สถาบันวิจัยและพัฒนา
งานวิจัย
2561
งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยภาวะผู้นำสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์การเสด็จเมืองจันทบุรีของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 2) เพื่อศึกษาบทบาทภาวะผู้นำของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตามหลักพุทธธรรม จากการศึกษาพบว่า 1. การเสด็จเมืองจันทบุรีของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นการเสด็จมาเพื่อเตรียมการเพื่อกอบกู้เอกราชคืนจากพม่า โดยการเสด็จออกมาจากกรุงศรีอยุธยาด้วยความยากลำบาก มาตามเส้นทางฝั่งตะวันออก ตามลำดับ คือ กรุงศรีอยุธยา นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และกลับมาจันทบุรีอีกครั้ง เพื่อเป็นการรวมไพร่พลครั้งสุดท้าย เพื่อขึ้นไปตีกรุงศรีอยุธยา กอบกู้เอกราชให้กับชาวไทย แม้การอยู่จันทบุรีไม่นานนัก แต่จันทบุรีก็ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่คนทั่วไปต้องกล่าวถึง เมื่อเอ่ยนามสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ต้องนึกถึงเมืองจันทบุรีทุกครั้งไป 2. บทบาทภาวะผู้นำของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อกรุงศรีอยุธยากำลังจะแตก พระองค์ก็เริ่มแสดงภาวะผู้นำด้วยการมองกาลไกล ถึงความหายนะของกรุงศรีอยุธยา จึงได้รวมไพร่พล ตีฝ่าวงล้อมออกมา อีกทั้งพระองค์ได้ทรงแสดงความเป็นผู้นำโดยการปกครองผู้คนในขณะนั้น ให้อยู่ในระเบียบวินัย กล้าหาญ โดยการใช้หลักสัปปุริสธรรม ในการปกครองผู้คนในขณะนั้น แม้จะเผชิญกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมต่างๆมากมาย ด้วยความเป็นผู้นำและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่พระองค์ทรงยึดถือและปฏิบัติ จึงทำให้พระองค์ประสบความสำเร็จในกาลต่อมา ความเป็นผู้นำของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แม้จะผ่านมานานแล้ว เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่คนไทย โดยเฉพาะชาวจันทบุรี ไม่เคยลืมด้วยความเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงธรรม และกล้าหาญ ทำให้ประชาชนชาวไทยต่างก็นำแบบอย่างความเป็นผู้นำของท่านประประยุกต์ใช้ ในด้านการดำรงชีวิต ในด้านการทำงาน และอื่นๆ อีกมากมาย
Principles of King Taksin the Great. Use qualitative research methodology. The purpose of this research was to 1) study the history of Chantaburi army move of King Taksin the Great. 2) to study the leadership role based on Buddhist 1.Principles of King Taksin the Great. The army move to Chanthaburi City of King Taksin the great. It is a army move to prepare for the liberation of Burma. By the army move out of Ayutthaya with difficulty, follow the east route is Ayutthaya, Nakhon Nayok, Prachin Buri, Chachoengsao, Chonburi, Rayong, Chanthaburi, Trat and back to Chanthaburi again, to be the troop soldiers to fight against Burma in Ayutthaya to save the Thai people. Not even in Chanthaburi but Chanthaburi is reputed to be a famous city of Thailand and a symbol of him. 2.Leadership of King Taksin the Great. When Ayutthaya is going to be destroyed. He began to show leadership by looking at good visions. He know of Ayutthaya future defeat so he moves the army from Ayutthaya to the east. He also showed leadership by dominating the people at that time to live in courageous discipline by using Buddhism to rule people at the moment with the leadership and the principles of Buddhism, he took and practiced so he succeeded in later times. This research is a study of the leadership of King Taksin the Great and the leadership of Buddhism. Qualitative Research The purpose of this research was . to study the history of Chanthaburi city of King Taksin the Great. . To study the leadership role of King Taksin the Great. Buddhist According to studies, it has been found that Chanthaburi City of King Taksin. He came to prepare for the liberation of Burma. By the coming out of Ayutthaya with difficulty. Follow the east route is Ayutthaya, Nakhon Nayok, Prachin Buri, Chachoengsao, Chonburi, Rayong, Chantaburi, and back to Chanthaburi. To consolidate the last host. To go to Ayutthaya. To save the Thai people. Not even in Chanthaburi. But Chanthaburi is reputed to be a historic city that people have to mention. When the name of King Taksin the Great. I need to think of Chanthaburi every time. Leadership of King Taksin the Great. When Ayutthaya is about to break. He began to show leadership by looking far. The disaster of Ayutthaya. It has included hosts. Strike out He also showed leadership by dominating people at that time. To live in a courageous discipline by using the righteous virtue. To rule people at the moment. Even face the situation. And many environmental. With the leadership and the principles of Buddhism, he took and practiced. He succeeded in succeeding. The leadership of King Taksin the Great, even for long time the history of the Thai people especialy Chanthaburi people never forget his monarchy of the noble and courageous, the people of Thailand are leading the his way applied In their life In the field of work and much more.
สมเด็จพระเจ้าตากสิน , จังหวัดจันทบุรี, ภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรม
leadership, King Taksin the Great, Chanthaburi,
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-10-01 10:24:27

ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด