ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า กรณีศึกษา : ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
The Study of Human-Elephant ConFlict Alleviation : A Case Study of Phawa Subdistrict, Kaeng Hang Maeo District, Chanthaburi Province
ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนา และ สันดุสิทธิ์ บริวงษ์ตระกูล
คณะนิเทศศาสตร์
งานวิจัย
2561
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของความขัดแย้งระหว่างคนและช้างป่า และศึกษาแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างคนกับช้างป่าตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี โดยเป็นการวิเคราะห์ ที่ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยมีแบบคำถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้นำชุมชนในพื้นที่มีปัญหาจากช้างป่าบุกรุกเข้ามาทำลายพืชผลทางการเกษตรจำนวน 5 หมู่บ้านกลุ่มที่ 2 กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการที่ช้างป่าเข้ามาทำลายพืชผลการเกษตรในปี พ.ศ. 2562 ทุกครัวเรือนจำนวน 20 ครัวเรือน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มารวบรวมและสรุปผลโดยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า ในพื้นที่ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของประชากรในชุมชนพวาในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ.2537 – พ.ศ.2562 ที่มีการเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 60 ทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำกินส่งผลต่อป่าที่เป็นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของช้างลดลงทำให้ช้างป่าออกหากินนอกพื้นที่ป่า และการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนพวาตามระบบเศรษฐกิจทุนนิยมซึ่งแพร่ขยายเข้ามาภายในชุมชนที่เกิดจากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของหน่วยงานภาครัฐส่งผลให้วิถีการดำเนินชีวิตของชาวชนชุมพวาเปลี่ยนแปลงไปจากการอาศัยพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นวิถีชีวิตดั้งเดิม ไปสู่ความจำเป็นที่ต้องอาศัยปัจจัยการผลิต การดำเนินชีวิตจากภายนอกส่งผลให้ชาวชุมชนพวาต้องขวนขวายหาเงินอันเป็นปัจจัยหลักในการจับจ่ายเพื่อสินค้าอุปโภค บริโภคทำให้ต้องมีการเข้าไปใช้ประโยชน์จากป่าส่งผลต่อการเผชิญหน้ากันระหว่างคนกับช้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า สามารถแบ่งได้เป็น 3 แนวทางทางหลัก ดังนี้ 1. ระยะเร่งด่วนหรือแนวทางการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ประกอบด้วย 1) การตั้งชุดปฏิบัติการเฝ้าระวังและขับไล่ช้างป่า และชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว ลาดตระเวนพื้นที่และให้คำแนะนำประชาชนตลอดจนให้การช่วยเหลือแก้ไขสถานการณ์ 2) การตั้งศูนย์เฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า ด้วยระบบเทคโนโลยี Internet of Things (IOT) 3) จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือประชาชนที่ถูกช้างป่ารบกวนและจ่ายค่าชดเชยความเสียหายจุดที่ช้างป่าออกไปทำลายพืชผลทางการเกษตร 4) จัดสร้างแหล่งอาหารช้างป่าและแหล่งน้ำเพิ่มขึ้นให้เพียงพอสำหรับช้างป่า โดยจัดทำโครงการปลูกพืชอาหารและขุดสระน้ำ 2. ระยะกลาง ประกอบด้วย 1) จัดทำแนวคูกั้นช้างป่าในจุดที่ล่อแหลมเป็นอันตรายในเส้นทางที่มีประชาชนและนักเรียนใช้สัญจรเป็นประจำ เพื่อป้องกันไม่ให้ช้างป่าออกมาทำร้าย และปลูกไผ่ป่าที่มีหนามให้มากขึ้นตลอดแนวคูกั้นช้าง 2) จัดทำโครงการรั้วกระแสไฟฟ้า โดยประสานกับกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน พิจารณาพื้นที่ที่เป็นสวนผลไม้ที่ช้างป่าลงมากินพืชผลเป็นประจำ 3) จัดชุดปฏิบัติการออกให้ความรู้ในการป้องกันช้างป่า 3. ระยะยาว ประกอบด้วย 1) การสร้างทัศนคติที่ดีเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า 2) ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรกรรมรอบพื้นที่ที่มีช้างป่าอาศัยอยู่ 3) ควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบของทางราชการโดยหน่วยงานกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ต้องมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนและรวดเร็วในการให้ความช่วยเหลือเมื่อมีราษฎรได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากช้างป่าหรือกรณีพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายถูกทำลาย 4) ประสานกับหน่วยงานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหาทางเคลื่อนย้ายช้างป่าออกไปบ้างเมื่อมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากเกินจำนวนแหล่งอาหารซึ่งมีไม่เพียงพอ และเคลื่อนย้ายหาที่อยู่ให้ช้างป่าใหม่สำหรับช้างป่ามีพฤติกรรมดุร้ายทำอันตรายให้ไปอยู่ในพื้นที่ที่จัดให้ใหม่โดยเฉพาะ
The study of of Human-Elephant ConFlict Alleviation : A Case Study of Phawa Subdistrict, Kaeng Hang Maeo District, Chanthaburi Province had two main objectives. The first objective was to analyze the causes of conflicts between humans and wild elephants. The second objective was to investigate the guidelines for sustainable coexistence between people and wild elephants in Phawa Subdistrict, Kaeng Hang Maeo District, Chanthaburi Province. This was a qualitative research using an in-depth interview with questionnaires as a tool for collecting data from two groups of key informants including Group 1: Community Leaders in the area having problems from wild elephants invading and destroying agricultural crops in 5 villages, and Group 2: Farmer Groups affected by the destruction of wild elephants in The area of agricultural crops in the year 2019 in every household, a total of 20 households, in order to collect data and summarize by analytical descriptive. The study found that Factors that cause conflicts between humans and wild elephants In the area of Phawa Subdistrict, Kaeng Hang Maeo District, Chanthaburi province was a population increase in the Pava community during the period 1994 - 2019, with an increase of more than 60 percent, causing encroachment of forest areas to expand arable land, resulting in Further reducing the forest that is the natural habitat of elephants, causing wild elephants to search for food outside of the forest. And the way of life of the people in the Pava community according to the capitalist economic system which spread within the community resulting from the development of public utilities of the government agencies, resulting in the way of life of the people of the community to change from relying on natural resources as a traditional way of life To the necessity of production factors. Living from outside causes the people of Pawa community to earn money which is the main factor in shopping for consumer goods. Consuming makes it necessary to make use of the forest, which inevitably affects encounters between humans and elephants. As for the ways to solve conflicts between people and wild elephants Can be divided into 3 main ways as follows: 1) Urgent phase or approach to solving problems immediately consists of : (1) Setting up a surveillance and evacuation operation for the forest. And the fast-moving operating set to patrol the area and advise the people as well as help to solve the situation (2) Setting up a wild elephant surveillance center with an early warning system With the Internet of Things (IOT) technology system (3) Establishing a fund to help people affected by wild elephants and pay compensation for the damage caused by wild elephants to destroy agricultural crops (4) Establishing sufficient elephant food sources and water sources for wild elephants by creating a project to grow food and dig a pond 2) The medium-term consists of: (1) establishing a line of dams to protect wild elephants at precarious spots on routes that people and students use regularly. In order to prevent the elephants from attacking And planting more bamboo bamboos with thorns along the elephant barrier (2) Establishing an electric fence project By coordinating with the village headman in order to consider the area of a fruit orchard where wild elephants come down to eat crops on a regular basis (3) Organizing a practice set to give knowledge on how to protect wild elephants 3) The long-term consists of: (1) Creating a good attitude to coexist between humans and wild elephants (2) Changing the agriculture patterns around areas where wild elephants live (3) Government regulations should be revised by units Department of Disaster Prevention and Mitigation. There must be guidelines that provide a clear framework and ensure quick set-up and proper operation for providing assistance when people are injured or killed by wild elephants or if agricultural crops are damaged or destroyed. (4) Coordinating with the Ministry of natural Resources and Environment to find a way to move wild elephants away when there is an excess of insufficient food sources and find a new area for the furious wild elephant
แนวทางแก้ปัญหา, ความขัดแย้ง, ช้างป่า
Guidelines for solving, Conflicts, Wild elephants.
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-10-01 10:25:09