ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การออกแบบเพื่อพัฒนางานประยุกต์ศิลป์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น : ศิลปหัตถกรรมทอเสื่อจันทบูร
Local Wisdom Based Design for Applied Art Development: Chanthaboon Mat Arts and Crafts
เบญจพร ประจง และ ธนวัฒน์ กันภัย
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
งานวิจัย
2558
การวิจัยเรื่องการออกแบบเพื่อพัฒนางานประยุกต์ศิลป์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น : ศิลปหัตถกรรมทอเสื่อจันทบูร มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา แนวคิด รูปแบบ เทคนิคและกระบวนการสร้างงานประยุกต์ศิลป์จากเสื่อจันทบูร 2) ศึกษาสภาพปัญหาในการสร้างสรรค์หรือการออกแบบที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร 3) ออกแบบงานประยุกต์ศิลป์จากการสำรวจและศึกษาข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศิลปหัตถกรรมทอเสื่อจันทบูร ให้มีรูปแบบที่เหมาะกับความต้องการของตลาดหรือกลุ่มลูกค้าในยุคสมัยปัจจุบันมากขึ้น โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประธานกลุ่มทอเสื่อฯ ผู้ประกอบการ นักออกแบบ ช่างทอเสื่อ ประชาชนหรือนักท่องเที่ยวที่สนใจในงานออกแบบประยุกต์ศิลป์จากเสื่อจันทบูร และนักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรม ชั้นปีที่ 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถามปลายปิด ภาพร่างต้นแบบงานประยุกต์ศิลป์จากเสื่อจันทบูรรูปแบบใหม่ แบบประเมิน เพื่อวัดระดับ ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางการออกแบบที่มีต่อภาพร่างต้นแบบงานประยุกต์ศิลป์ จากเสื่อจันทบูรรูปแบบใหม่ ต้นแบบงานประยุกต์ศิลป์จากเสื่อจันทบูรรูปแบบใหม่ แบบประเมิน เพื่อวัดระดับความคิดเห็นต่อความเหมาะสมในต้นแบบของงานประยุกต์ศิลป์จากเสื่อจันทบูร รูปแบบใหม่ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้หลักทฤษฎีและเหตุผลการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ค่าสิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) ศิลปหัตถกรรมทอเสื่อจันทบูรมีประวัติความเป็นมา แนวคิด รูปแบบ เทคนิค วัสดุ กระบวนการทอเสื่อและกระบวนการสร้างงานประยุกต์ศิลป์จากเสื่อจันทบูร ที่ได้รับสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ จนกลายเป็นวิถีชีวิต เป้าหมายของการผลิต คือ การดำรงอยู่ ของครอบครัวและชุมชนโดยการพึ่งพาแรงงานในครอบครัว พึ่งทรัพยากรที่หาได้ในท้องถิ่น และพึ่งกันเองในชุมชน จนเกิดการรวมกลุ่มและได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานอื่นๆ ตามนโยบายของรัฐบาล ทำให้ผลิตภัณฑ์มีรูปแบบหลากหลายมากขึ้น จะเห็นว่า จากการทอเสื่อกกแบบดั้งเดิมก็ได้มีการพัฒนาเป็นลวดลายต่างๆ เช่น ลายลูกโซ่ ลายน้ำไหล ได้มีการเรียนรู้เรื่องการย้อมสีกกแบบมัดหมี่และแบบถักเปีย มีการพัฒนาการย้อมเส้นกกให้มีความสดใสเข้ากับยุคสมัยมากขึ้น การศึกษาดูงาน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสามารถนำไปประยุกต์ให้เข้ากับวัตถุดิบโดยใช้ฐานภูมิปัญญาเดิม ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ 2) ปัญหาในการสร้างสรรค์หรือการออกแบบที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรเกิดจากปัญหาในการดำเนินงาน 2 ด้าน คือ ด้านการผลิต ได้แก่ การขาดแคลนวัตถุดิบ พื้นที่ปลูกวัตถุดิบที่ใช้ ในการผลิตลดลง ขาดกำลังคน การผลิตงานส่วนใหญ่เป็นแบบดั้งเดิมไม่ได้รับการพัฒนารูปแบบมากนักและจะผลิตตามที่ได้รับสั่งให้ผลิต ผู้ผลิตขาดแรงจูงใจในการออกแบบใหม่ๆ และการแข่งขันจากผู้ผลิตในเขตภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งมีการพัฒนา รูปแบบอย่างต่อเนื่อง ส่วนด้านการตลาด ได้แก่ ความนิยมและความจำเป็นในการใช้เสื่อกกลดลง ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อื่นเข้ามาทดแทนการใช้เสื่อกก ตลาดผลิตภัณฑ์จากกกไม่แน่นอน สินค้าจากกกมีการผลิตมากขึ้น แต่ผู้บริโภคยังไม่นิยมมากนักเพราะไม่ใช่สินค้าที่จำเป็นและการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันมีน้อย 3) การออกแบบงานประยุกต์ศิลป์เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศิลปหัตถกรรมทอเสื่อจันทบูรให้มีรูปแบบที่เหมาะกับความต้องการของตลาดหรือกลุ่มลูกค้า ในยุคสมัยปัจจุบันมากขึ้นนั้น ได้รูปแบบแนวทางของงานประยุกต์ศิลป์จากเสื่อจันทบูรแนวทางต่างๆ ที่มีลักษณะต่างกันทั้งในด้านรูปแบบ เทคนิควิธีการ ประโยชน์ การใช้งาน จำนวน 10 รูปแบบ ได้แก่ ภาพปะติดประดับผนัง นาฬิกาแขวนผนัง กระเป๋าสตรี ตู้โชว์ กล่องอเนกประสงค์ เก้าอี้ ตะกร้าใส่ของเบ็ดเตล็ด ที่ใส่โปสการ์ด กระบอกใส่กระดาษและสมุดโน้ต เมื่อได้ภาพร่างของงานประยุกต์ศิลป์จากเสื่อจันทบูร จำนวน 10 แบบแล้ว ได้จัดทำต้นแบบแล้วนำไปสำรวจความพึงพอใจ กับประชาชนหรือนักท่องเที่ยวที่สนใจ จำนวน 100 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 31 - 40 ปี มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท มีความพึงพอใจในภาพรวมในต้นแบบงานประยุกต์ศิลป์จากเสื่อจันทบูรรูปแบบใหม่ มากที่สุด ได้แก่ ภาพปะติดประดับผนัง นาฬิกาแขวนผนัง กระเป๋าสตรี ตะกร้าใส่ของเบ็ดเตล็ด เก้าอี้ กล่องอเนกประสงค์ ตู้โชว์ ที่ใส่โปสการ์ด กระบอกใส่กระดาษและสมุดโน้ตตามลำดับ
The research entitled “Local Wisdom Based Design for Applied Art Development: Chanthaboon Mat Arts and Crafts aimed to; 1) study historical backgrounds, ideas, patterns, techniques, and production process of Chanthaboon mats as the applied arts; 2) explore problems about creation and design causing unpopularity, and; 3) design the applied arts based on the survey study as guidelines for Chanthaboon mat art and craft development in order to have patterns suiting with modern market demand and customers. The data were collected from the following sample groups: matting leaders, traders, designers, mat craftsmen, local people or tourists interested in the applied arts made from Chanthaboon mats, and the second year students from Fine and Applied Arts Department, the Faculty of Humanities and Social Sciences, Rambhai Barni Rajabhat Univeristy. The research instruments includes structured interview forms, questionnaires with close ended questions, sketches of new patterns for the applied arts made from Chanthaboon mats, evaluation forms to measure design experts’ opinions towards the new sketches of Chanthaboon mats’ new patterns, and evaluation forms to measure the opinions towards appropriateness of Chanthaboon mats’ new patterns. The descriptive research methodology as the qualitative data analysis was used in this study. The tools for quantitative data analysis were frequency, percentage, and mean scores. The findings are as follows; 1) Chanthaboon Mat Arts and Crafts the study of historical backgrounds, ideas, patterns, materials, matting process, and creating process of the applied arts from the ancestors. It became a way of life. The goal of production is the existence of families and communities by reliance on family labor. Rely on locally available resources and self-dependence in the community. The group was joined and supported by government agencies and other agencies. Government Policy as a result, the traditional pattern of reed mats has been developed as a pattern, such as a flow pattern. Mudmee and Braid The development of dye reed to be more bright with age. Study visit, Using of information technology to disseminate information leads to the exchange of learning can be applied with raw materials in order to get a new product; 2) two causes of unpopularity are found as follows: The first factor is production problems including a lack of raw materials, decreasing lands for growing the plants used as the raw materials, shortage of workers, conventional patterns without new design development, only made-to-order products, and lack of motivation and competition to create new designs with manufactures from other regions who have continually improved the new designs. Another factor is market problems including reducing popularity and unnecessary use of reed mats, more substitute goods in place of using the reed mats, market instability of the reed mat products, increasing production of the reed mat goods, the state of unpopular products among the customers due to becoming inessential and useless products in daily use. The study of applied art design as guidelines for art and craft development made from Chanthaboon mats and appropriate patterns suiting with market demand and modern customers revealed the following 10 various patterns with different techniques, benefits, and usability: wall picture collages, wall clocks, women’s bags, showcases, multipurpose boxes, chairs, baskets for miscellaneous objects, postcard holders, tissue boxes, and notebooks. The researchers created 10 new sketches of the applied arts made from Chanthaboon mats and randomly did the satisfaction survey with any interested people and tourists as the research sample groups. The sample groups selected by the accidental sampling method were consisted of 100 questionnaire respondents including women in the 31 and 40 year-old groups earning a monthly income of 20,001 to 30,000 baht who showed the highest satisfaction level to the wall picture collages. The following new patterns were also ranked according to the satisfaction respectively: wall clocks, women’s bags, baskets for miscellaneous objects, chairs, multipurpose boxes, showcases, postcard holders, tissue boxes, and notebooks.
การออกแบบ, การพัฒนา, งานประยุกต์ศิลป์, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ศิลปหัตถกรรมทอเสื่อจันทบูร
design, development, applied art, local wisdom, Chanthaboon mat arts and crafts
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-10-01 14:24:50