ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตและการดูดซึมธาตุอาหารของต้นสาคู ภายใต้สภาวะความเครียดที่เกิดจากความแห้งแล้งและเกลือ
The study on growth characteristics and mineral absorption of sago palm under drought and salt stresses
วิกันยา ประทุมยศ , Hiroshi Ehara , สมชาย ชคตระการ , จุฑามาศ ร่มแก้ว , นรุณ วรามิตร และ เลิศชัย จิตร์อารี
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
งานวิจัย
2558
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตและการดูดซึมธาตุอาหารของต้นสาคูภายใต้สภาวะความเครียดที่เกิดจากความแห้งแล้งและเกลือ โดยวางแผนการทดลองแบบ Factorial in Completely Randomized Design ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ซึ่งปัจจัยแรกคือ ความเข้มข้นของ NaCl ได้แก่ 0, 0.5, 1.0 และ 1.5 เปอร์เซ็นต์ ปัจจัยที่สองคือ ความถี่ของการรดสารละลาย ได้แก่ รดทุกวัน, ทุก 3, 5 และ 7 วัน ในสภาวะเครียดเกลือที่ระดับความเข้มข้น 0.5 และ 1.0 เปอร์เซ็นต์ ทำให้การเจริญเติบโตของต้นสาคูลดลงทางด้านความสูง, จำนวนใบ, น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของต้นสาคู ขณะที่อิทธิพลความถี่ในการรดสารละลายทุก 7 วัน มีผลทำให้จำนวนใบเขียว, น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของรากสาคูเพิ่มขึ้น ต้นสาคูที่ได้รับอิทธิพลความถี่ในการรดสารละลายทุกวัน, ทุก 3 วัน, ทุก 5 วัน และทุก 7 วัน มีความสูง, จำนวนใบตาย และจำนวนใบเกิดใหม่ไม่ต่างกัน ต้นสาคูสามารถทนต่อสภาวะเครียดเกลือและความแล้งได้ เนื่องจากต้นสาคูสามารถรักษาปริมาณน้ำในต้น, ความเขียว (SPAD value), ปริมาณคลอโรฟิลล์ และปริมาณธาตุอาหารในใบของต้นสาคูให้อยู่ในระดับที่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้
The purpose of this research was to investigate the growth and nutrient uptake of sago palms under drought and salt stresses. The experimental design was Factorial in Completely Randomized Design with 2 factors. The first factor was the concentration of NaCl, namely, 0, 0.5, 1.0 and 1.5%. The second factor is the frequency of solution watering, including watering every day, watering every 3 days, watering every 5 days and watering every 7 days. The results showed that the sago growing at 0.5% and 1.0% salt concentration reduced the height, leaf number, fresh weight and dry weight of sago palm. As influenced by the frequency of watering, the amount of green leaf, fresh weight and dry weight of the sago root increased when watered solution every 7 days. The height, number of leaves and number of new leaves are not different among solution watering treatments. Sago could tolerate salt and drought stresses because sago can maintain water content in plants, SPAD value, chlorophyll content and the concentration of nutrients in the sago leaves to a level that could continue their growth.
ปาล์มสาคู , แห้งแล้ง, เค็ม, การเจริญเติบโต, ธาตุอาหารพืช
sago palm, drought, salt, growth, plant nutrient
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-10-01 14:26:08

ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด