ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การผลิตก๊าซชีวภาพจากเปลือกและเมล็ดลำไยในระบบหมักแบบไร้ออกซิเจน
Biogas Production from Shell and Seed of Longan in Anaerobic Ferment System
วิกันยา ประทุมยศ , ปรียนันท์ สิทธิจินดาร์ , วัชรวิทย์ รัศมี , เลิศชัย จิตร์อารี และ ดวงรัตน์ สวัสดิ์มงคล
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
งานวิจัย
2559
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของเปลือกและเมล็ดลำไยสำหรับผลิตก๊าชชีวภาพ โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design สิ่งทดลองประกอบด้วย มูลสุกรหมักกับน้ำ, เมล็ดลำไยหมักกับมูลสุกร, เปลือกลำไยหมักกับมูลสุกร และเปลือกกับเมล็ดลำไยหมักกับมูลสุกร ดำเนินการทดลองตั้งแต่เดือน เมษายน พ.ศ. 2559 ถึงเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2559 รวมระยะเวลา 5 เดือน ที่อาคารวิจัยพืชศาสตร์ และห้องปฏิบัติการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี หลังเริ่มการทดลองเก็บข้อมูลความสูงของถังเก็บก๊าซชีวภาพ เพื่อคำนวณหาปริมาตรก๊าซชีวภาพและเก็บข้อมูลระยะเวลาในการจุดติดไฟ ในระหว่างดำเนินการทดลองทำการเก็บตัวอย่างสารข้นเหลวจากถังหมักก๊าซชีวภาพนำมาวัดค่า pH, EC และอุณหภูมิ จากนั้นนำไปวิเคราะห์หาความเข้มข้นของไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, และโพแทสเซียม ของสารข้นเหลว จากการทดลองพบว่าถังหมักก๊าซชีวภาพที่มีปริมาตรรวม 5 เดือนสูงที่สุดคือ ถังหมักเปลือกและเมล็ดลำไยร่วมกับมูลสุกร โดยมีปริมาตรเท่ากับ 0.208 ลูกบาศก์เมตร และก๊าซที่ได้จากถังหมักสามารถจุดติดไฟได้ 50.67 นาที จากผลการทดลองรายเดือนแสดงให้เห็นได้ว่าการหมักก๊าซชีวภาพในช่วงเดือนที่ 1 และเดือนที่ 2 เกิดก๊าซชีวภาพแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติทุกสิ่งทดลอง ในขณะที่การหมักก๊าซชีวภาพในช่วงเดือนที่ 3 เดือนที่ 4 และเดือนที่ 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่าถังหมักก๊าซชีวภาพที่หมักด้วยมูลสุกรหรือมูลสุกรผสมเมล็ดลำไยเกิดการผลิตก๊าซชีวภาพน้อยมาก ในขณะที่ถังหมักก๊าซชีวภาพที่หมักด้วยมูลสุกร เปลือกลำไย และมูลสุกร เปลือก เมล็ดลำไยยังคงมีการผลิตก๊าซชีวภาพเกิดขึ้นในช่วงเดือนที่ 3-5 นอกจากนี้ยังพบว่าในระหว่างกระบวนการหมักก๊าซชีวภาพเกิดการย่อยสลายของเปลือกลำไย, เมล็ดลำไย และมูลสุกร ส่งผลให้เมื่อสิ้นสุดการทดลองความเข้มข้นของไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในสารข้นเหลวเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับความเข้มข้นของทั้ง 3 ธาตุในสารข้นเหลวช่วงเริ่มการทดลอง
The purpose of this research was to investigate the potential of longan shell and seeds for the biogas production. The experimental design was Completely Randomized Design. Four treatments consisted of pig manure with water (T1), longan seeds fermented with pig manure (T2), longan shell fermented with pig manure (T3) and shell and seeds fermented with pig manure (T4). The Experiments were conducted from April 2016 to August 2016, for a total of 5 months at Agricultural Faculty, Rajabhat Rambhai Barni University. The height of biogas collecting tank, volume of biogas collecting tank and inflammable time was recorded daily. The pH, EC, temperature, nitrogen concentration, phosphorus concentration and potassium concentration in fermented solution were checked. The result showed that the total biogas volume was in treatment of longan shell and seed fermented with pig manure with a volume of 0.208 cm3. The inflammable time was 50.67 minutes. The monthly results show that the height and volume of biogas collecting tank and inflammable time were not significantly different among treatment during the first and second months. While the results of the 3rd, 4th, and 5th months were significantly different. The biogas was produced by pig manure or pig manure mixed with longan seed showed a few results. While the treatment with pig manure longan shell and pig manure shell seed of longan still had biogas production in the period of 3-5 months. In addition, during the biogas fermentation, the concentration of nitrogen, phosphorus and potassium of biogas digested liquid increased at the end of experiment.
ก๊าซชีวภาพ, เปลือกลำไย, เมล็ดลำไย, มูลสุกร
Biogas, Longan shell, Longan seed, Pig manure
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-10-01 13:55:24

ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด