ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

รูปแบบกระบวนการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมในวิถีเกษตรของนักเรียนกัมพูชา ที่เข้ามาศึกษาในเขตพื้นที่ชายแดน จังหวัดจันทบุรี
A Model process of instruction in the way of Agriculture participation of Combodia students who come to study in the border area Chanthaburi
จีรนันท์ พูลสวัสดิ์ , ฬิฏา สมบูรณ์ , อติราช เกิดทอง , ธิดารัตน์ พานพ่วง และ ณัฐฐินุช จุยคำวงศ์
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
2559
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพกระบวนการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมในวิถีเกษตรของนักเรียนกัมพูชาที่เข้ามาศึกษาในเขตพื้นที่ชายแดน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ก่อนดำเนินการพัฒนารูปแบบ 2)เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบกระบวนการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมในวิถีเกษตรของนักเรียนกัมพูชาที่เข้ามาศึกษาในเขตพื้นที่ชายแดน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี และ 3)เพื่อประเมินรูปแบบกระบวนการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมในวิถีเกษตรของนักเรียนกัมพูชาที่เข้ามาศึกษาในเขตพื้นที่ชายแดน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ซึ่งผู้วิจัยมีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ใช้สำหรับศึกษารูปแบบกระบวนการเรียนการสอนมีส่วนร่วมในวิถีเกษตรของนักเรียนกัมพูชา ที่เข้ามาศึกษาในเขตพื้นที่ชายแดน จังหวัดจันทบุรี คือ 1) กลุ่มครู ด้านการจัดกระบวนการเรียนการสอนในวิถีเกษตร 2) กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1.ศึกษาสภาพกระบวนการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมในวิถีเกษตรของนักเรียนกัมพูชาที่เข้ามาศึกษาในเขตพื้นที่ชายแดน จังหวัดจันทบุรี ก่อนดำเนินการพัฒนารูปแบบ สภาพของกระบวนการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมในวิถีเกษตรของนักเรียนกัมพูชาที่เข้ามาศึกษาในเขตพื้นที่ชายแดน จังหวัดจันทบุรี เนื่องจากคนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีอาชีพการเกษตร ชาวสวน เช่น ปลูกลำไย จำเป็นต้องใช้แรงงานจากเขตพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงคนที่เข้ามาใช้แรงงานของชาวกัมพูชา 2.ผลการพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมในวิถีเกษตรของนักเรียนกัมพูชาที่เข้ามาศึกษาในเขตพื้นที่ชายแดน จังหวัดจันทบุรี คือกระบวนการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมโดยมีกระบวน 5 ขั้นตอน 1) การเรียนรู้ต้องอาศัยหลักพึ่งพากัน โดยถือว่าทุกคนมีความสำคัญเท่าเทียมกันและจะต้องพึ่งพากันเพื่อความสำเร็จร่วมกัน 2) การเรียนรู้ที่ดีต้องอาศัยการหันหน้าเข้าหากัน มีปฏิสัมพันธ์กันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูล และการเรียนรู้ต่าง ๆ 3) การเรียนรู้ร่วมกันต้องอาศัยทักษะทางสังคม โดยเฉพาะทักษะในการทำงานร่วมกัน 4) การเรียนรู้ร่วมกันควรมีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่มที่ใช้ในการทำงาน 5) การเรียนรู้ร่วมกันจะต้องมีผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มที่สามารถตรวจสอบและวัดประเมินได้
This research aims to: 1) to study the participatory teaching and learning process of Cambodian students studying in border areas. Pong Nam Ron District Chantaburi province Before implementing model development 2) To establish and validate a participatory teaching and learning model in the agricultural way of Cambodian students studying in the border area. Pong Nam Ron District 3) To evaluate the participatory teaching methodology of Cambodian students studying in the border area. Pong Nam Ron District Chantaburi province The researcher has conducted 3 stages of research with the target group to study the model of teaching and learning process involved in Cambodian students. Study in the border area. Chanthaburi is 1) teachers in the process of teaching and learning in agriculture. 2) The group of wise people. By choosing a specific The instrument used for data collection was questionnaire. The research found that 1. Study of participatory teaching and learning processes in Cambodian students studying in border areas. Chantaburi province Before implementing model development The role of participatory learning in the agricultural way of Cambodian students studying in border areas. Chantaburi province Since most people live in agriculture, planters, such as longaners, require labor from nearby areas. Including people who use the Cambodian workers. The results of the development of a participatory learning model on agricultural practices of Cambodian students studying in the border area. Chantaburi province It is a process of teaching and learning with a 5-step process. 1) Learning requires a dependency. 2) Good learning requires face-to-face interaction. Interact with each other to exchange ideas, information and learning. 3) Learning together requires social skills. 4) Collaborative learning should be an analysis of group processes. 5) Collaborative learning requires work or achievement, both individual and group, to be tested. Test and Measure
กระบวนการเรียนการสอน, วิถีเกษตร, นักเรียนกัมพูชา
Teaching, agricultural way, Cambodian students
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-10-01 14:01:09