ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพฤฒพลังของผู้สูงอายุในอำเภอแก่งหางแมวจังหวัดจันทบุรี
Community Participation in Development of Active Aging in Kanghangmaeo Subdistrict, Chantaburi Province
ปาหนัน กนกวงศ์นุวัฒน์, จุรีภรณ์ เจริญพงศ์, รัฐวุฒิ สมบูรณ์ธรรม, ณจิต วงศ์ชัย และ ณัฏฐา ดวงตา
คณะพยาบาลศาสตร์
งานวิจัย
2563
ประชากรสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นทั่วโลก จากอัตราการเกิดน้อยลงและผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้น ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 และคาดว่าในปี พ.ศ.2565 จะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ งานวิจัยนี้นำการมีส่วนร่วมของชุมชนมาเป็นกลวิธีในการดำเนินงานพัฒนาพฤฒพลังของผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพฤฒพลังของผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุให้มีพฤติกรรมด้านพฤฒิพลังในระดับดี เพื่อประเมินความพึงพอใจและการนำพฤฒพลังไปใช้ประโยชน์ของผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ศึกษาในเดือนมกราคม ถึง ตุลาคม 2563 กลุ่มตัวอย่างเป็นแกนนำชุมชนคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 7 คน และเป็นผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุเขาวงกต คัดเลือกด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน จัดกิจกรรมพัฒนาพฤฒพลังผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การตรวจสุขภาพเบื้องต้น การดูแลสุขภาพตนเอง การฝึกทักษะการออกกำลังกาย การปลูกข้าวโพดและฟักทอง ทำลูกประคบสมุนไพรและตุ๊กตาการบูร และจิตอาสาการเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสนทนากลุ่ม แบบประเมินพฤฒพลัง แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบประเมินการใช้ประโยชน์จากพฤฒพลัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย Paired sample t-test ผลการศึกษา พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีส่วนร่วมในการวางแผน จัดกิจกรรมพัฒนาผู้สูงอายุและร่วมประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อยู่ในระดับค่อนข้างดี ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.60 (จากคะแนนเต็ม 5) หลังเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.05 เปรียบเทียบระดับภาวะพฤฒพลังก่อนและหลังการจัดกิจกรรม พบว่า ระดับภาวะพฤฒพลังหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) พิจารณารายด้านพบว่า ด้านสุขภาพสูงมากที่สุด รองลงมา ด้านการมีส่วนร่วมทางสังคม ด้านสิ่งสนับสนุนการดำรงชีวิต และด้านความมั่นคงปลอดภัยตามลำดับ ผลการประเมินความพึงพอใจหลังร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.67 และผู้สูงอายุสะท้อนการนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้
The elderly population is increasing around the world due to lower birth rate and longer life expectancy. Thailand has been turning into aging society since 2005 and will be completed in 2022. The research studies the participation of the community to campaign the active aging. Objective to study the participation of the development in the active aging campaign, improvement of the active aging index and applicability. This study was a Participatory Action Research; it was conducted from January 2020 to October 2020. Thirty participants in elderly community in Kanghangmaeo subdistrict were included. These participates conducted in activity selection, planning and evaluation. The provided activities included check-up, self care, growing vegetables, making herbal and visiting home. The data was collected by focus group, pretest, posttest, and satisfaction evaluation. Percentage, mean, standard deviation and paired sample t-test were analyzed. Results the active aging score means of the pretest and posttest were 3.60 and 4.05 respectively. The paired sample t-test showed significant difference between pretest and posttest (p <0.001). The most impactful aspect was health, followed by social, service and security. The satisfaction assessment and utilization level is very good; average score is 4.67 and the elderly can reflect the applicability. The participation of the active aging campaign may improve for self-sustained development of the elderly.
การมีส่วนร่วมของชุมชน, ดัชนีพฤฒพลัง, ผู้สูงอายุ, สุขภาพ
Participation, active aging index, active aging, health
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2021-01-28 09:55:58