ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การสื่อสารสุขภาพ และการรู้เท่าทันสื่อเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ในกลุ่มสตรีผู้สูงอายุจังหวัดจันทบุรี
Health Communication and Media Literacy for Female Senior Persons’ Life Quality in Chanthaburi Province
กาญจนา สมพื้น และ รัจน์ชีวาต์ แซ่ตั๋น
คณะนิเทศศาสตร์
งานวิจัย
2562
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิถีชีวิต การสื่อสารสุขภาพ การรู้เท่าทันสื่อ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรีผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี และ (2) วิเคราะห์เส้นทางปัจจัยระหว่างวิถีชีวิต การสื่อสารสุขภาพ และการรู้เท่าทันสื่อ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสตรีผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรีจำนวน 394 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการด้วยเครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม วัดวิถีชีวิตสตรีผู้สูงอายุจันทบุรี วัดการสื่อสารสุขภาพ วัดการรู้เท่าทันสื่อสุขภาพ และวัดคุณภาพชีวิตสตรีผู้สูงอายุจันทบุรี สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์แบบจำลองเชิงเส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า (1) วิถีชีวิตสตรีผู้สูงอายุจันทบุรี 8 ด้าน ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญด้านกีฬา และนันทนาการมากที่สุด รองลงมาให้ความสำคัญด้านการศึกษาและการขัดเกลาทางสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านครอบครัว ด้านศิลปะ ด้านความเชื่อและศาสนา และด้านการสื่อสาร (2) การสื่อสารสุขภาพ 4 องค์ประกอบ สตรีผู้สูงอายุจันทบุรีให้ความสำคัญด้านเนื้อหาสาระสุขภาพมากที่สุด รองลงมาด้านผู้ส่งสารสุขภาพ ด้านผู้รับสารสุขภาพ และด้านช่องทางการสื่อสารสุขภาพ (3) การรู้เท่าทันสื่อสุขภาพสตรีผู้สูงอายุให้ความสำคัญกับการใช้ผู้แสดงแบบโฆษณาด้านสุขภาพสร้างความน่าเชื่อถือได้มากที่สุด รองลงมาเลือกเปิดรับสื่อสุขภาพตามสื่อที่มีความคิดเห็นที่ตรงกับความต้องการ และ (4) คุณภาพชีวิตสตรีผู้สูงอายุจันทบุรี 6 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านความนึกคิด ด้านอารมณ์ ด้านการปรับตัวทางสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านความรู้สึกภาคภูมิใจตนเองทุกด้านไม่เป็นปัญหาในการดำเนินชีวิต (5) ผลการวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยที่มีอิทธิต่อคุณภาพชีวิตสตรีผู้สูงอายุจันทบุรี พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2 = 0.218, df = 2 , 2/df = .109, P-value = 0.000, GFI = .923, AGFI = -.383, CFI = .262, TLI = -1.214, RMSEA = .065, RMR = .364) เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ว่า (5.1) ปัจจัยด้านวิถีชีวิต ด้านการสื่อสารสุขภาพมีอิทธิพลทางตรงต่อการรู้เท่าทันสื่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตสตรีผู้สูงอายุจันทบุรี และ (5.2) การรู้เท่าทันสื่อสุขภาพมีอิทธิพลทางตรงต่อคุณภาพชีวิตสตรีผู้สูงอายุจันทบุรี ตัวแปรทั้งหมดอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตสตรีผู้สูงอายุจันทบุรีร้อยละ 74
This research aimed to: (1) examine the theoretical development framework variables, i.e. the ways of life, health communication, health media literacy, and the development of female senior persons’ life quality, and (2) analyze the factors’ path model associated with the ways of life, health communication and media literacy influenced on the development of female senior persons’ life quality. The samples were 394 of female senior persons in Chanthaburi province, selected by multi-stage random sampling. The data were collected through workshops and a questionnaire was employed as a research instrument consisted of 4 parts (i.e. the ways of life scale, health communication scale, media literacy scale, and life quality scale). Statistical data analysis were percentage, mean, standard deviation--S.D., and Path model analysis. The research findings indicated that: (1) Eight parts of the ways of life, the most important theme was sport and recreation, followed by education and socialization, economic, family, arts, belief and religion, and communication. (2) For the four elements of health communication aspect, the most important elements was health message or content, followed by health source or sender, health receiver, and health channel of media. (3) Focusing on health media literacy view, the most important mass media was health trustworthy celebrity and the second most important mass media was the selected of health communication media exposure. And (4) In regard to six parts of female senior persons’ life quality, the results showed physical, cognitive, affective, social function, economic, and self-esteem were not the obstacle in life. (5) The result of Path model analysis revealed that factors model affecting the female senior persons’ life quality was accordance with empirical data processing (2 = 0.218, df = 2 , 2/df = .109, P-value = 0.000, GFI = .923, AGFI = -.383, CFI = .262, TLI = -1.214, RMSEA = .065, RMR = .364), which accepted the hypothesis that: (5.1) Ways of life, and health communication directly influenced on health media literacy and female senior persons’ life quality. (5.2) Health media literacy directly influenced on female senior persons’ life quality. All variables were enable explained the variance of female senior persons’ life quality in Chanthaburi province at 74%.
การสื่อสารสุขภาพ, การรู้เท่าทันสื่อ, คุณภาพชีวิตสตรีผู้สูงอายุ
Health communication, Media literacy, Female senior persons’ life quality
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2021-02-10 13:15:57