ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

ผลของระดับความเข้มข้นสารละลายธาตุอาหารที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของฟักทองบัตเตอร์นัทในระบบปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
Effect of Nutrient Solution Concentrations on Growth and Yield of Butternut Pumpkin in Soilless Culture
นภาพร จิตต์ศรัทธา และ พิกุล นุชนวลรัตน์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
งานวิจัย
2563
ศึกษาระดับความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของฟักทองบัตเตอร์นัทที่ปลูกในระบบไม่ใช้ดิน วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) มี 3 วิธีการ ได้แก่ EC 2.0, 2.5 และ 3.0 mS/cm จากการทดลองพบว่า ระดับ ความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารส่งผลต่อการเจริญเติบโตสูงที่สุด คือ EC=2.5 mS/cm ให้ ความสูงต้น ความกว้างใบ ความยาวใบ และขนาดลำต้นสูงที่สุด เท่ากับ 330.86 เซนติเมตร, 18.81 เซนติเมตร, 18.14 เซนติเมตร และ 13.75 มิลลิเมตร ตามลำดับ และผลผลิตสูงที่สุด คือ EC=3.0 mS/cm ให้ความหนาเนื้อ น้ำหนักผล และน้ำหนักผลรวมสูงที่สุด เท่ากับ 6.02 มิลลิเมตร, 498.06 กรัม และ 1,494 กรัม ตามลำดับ ดังนั้นการปลูกฟักทองบัตเตอร์นัท ควรปลูกที่ระดับความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารที่ช่วง EC 2.5-3.0 mS/cm ตามการเจริญเติบโตของต้นฟักทองบัตเตอร์นัท
The study on effect of nutrient solution concentrations on growth and yield of butternut pumpkin in soilless culture. The experimental design was Completely Randomized Design (CRD) including three treatments as follows: EC= 2.0, 2.5 and 3.0 mS/cm. The results showed types of nutrient solution concentrations that best growth of plant height, Leaf width, leaf length and plant diameter EC= 2.5 mS/c (330.86, 18.81, 18.14 cm. and 13.75 mm., respectively) and yield of thickness, fruit weight and total fruit weight/plant EC= 3.0 mS/cm (6.02 cm., 498.06 and 1,494 gram, respectively). Based on study, it was recommended to utilize the nutrient concentrations of EC= 2.5-3.0 mS/cm to according growth butternut pumpkin.
ฟ้กทองบัตเตอร์นัท, สารละลายธาตุอาหาร, ระบบปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
Butternut Pumpkin, Nutrient Solution, Soilless Culture
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2021-04-26 13:28:54