ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

รูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยการบูรณาการ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดจันทบุรี
The Model of “Moderate Class More Knowledge” by Integrating the Principles of Sufficiency Economy in Chanthaburi Province
ฬิฏา สมบูรณ์ , ญาณิศา บุญพิมพ์ และ ชัยวุฒิ เทโพธิ์
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
2560
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้โดยการบูรณาการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดจันทบุรี 2)เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้โดยการบูรณาการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดจันทบุรี 3) เพื่อทดลองและประเมินการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โดยการบูรณาการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดจันทบุรีซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้โดยการ บูรณาการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดจันทบุรี ก่อนดำเนินการพัฒนารูปแบบ ระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้โดยการบูรณาการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดจันทบุรี ระยะที่ 3 ทดลองและประเมินการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โดยการบูรณาการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดจันทบุรี กลุ่มเป้าหมาย คือ ครู นักเรียน ในจังหวัดจันทบุรี และชาวบ้านทำการเกษตร ปราชญ์ชาวบ้าน ด้านสถานที่ที่ทำการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนวัดดอนตาล โรงเรียนบ้านทรัพย์เจริญ โรงเรียนบ้านตาเรือง โรงเรียนบ้านทับช้าง โรงเรียนโป่งน้ำร้อน โรงเรียนวัดโป่ง โรงเรียนบ้านหนองสลุด โรงเรียนบ้านตรอกนอง และโรงเรียนวัดเนินมะหาด ซึ่งเกณฑ์ในการคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมคือ โรงเรียนที่สนใจ และกำลังเริ่มกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จันทบุรี เขต 2 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 ก่อนการดำเนินการพัฒนากิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน 1) ปัญหาด้านบุคลากร เป็นปัญหาที่สำคัญ คือ ขาดแคลนครูและบุคลากรที่มีคุณภาพ มีครูไม่ครบชั้นเรียน มีครูไม่ตรงกับสาขาวิชาเอก ขาดความชำนาญเฉพาะด้าน ครูคนเดียวต้องสอนหลายระดับและหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจการปฏิบัติงาน 2) ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ จากการประเมินคุณภาพภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสถานศึกษาขนาดเล็กขาดความพร้อมในด้านต่างๆ อยู่มาก โดยเฉพาะมาตรฐานที่ 3) ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง ระยะที่ 2 ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยการบูรณาการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดจันทบุรี ในการออกแบบกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ร่วมกัน คณะครูได้นำแนวคิดของทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิซึมทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เป็นการสร้างความรู้ และเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ระยะที่ 3 ออกแบบประเมินการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ร่วมกันในการออกแบบวัดผลและประเมินผลกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ 1)เชื่อมโยงตัวชี้วัด ตามหลักสูตร 2)เน้นจัดกิจกรรม 4H 3)ผู้เรียนเป็นสุข 4)สนุกกับการคิดขั้นสูง (การแสวงหาความรู้ การแก้ไขปัญหา) 5)มุ่งทำงานเป็นทีม 6)ลุ่มลึกแหล่งเรียนรู้ (เทคโนโลยี ภูมิปัญญา และสิ่งแวดล้อม) และ 7)สู่การประเมินตามสภาพจริงและเน้นการปฏิบัติ
The purposes of this research were: 1)to study the present state of management of learning activities of “moderate class more knowledge” by integrating with the principles of sufficiency economy in Chanthaburi Province. 2)to cresate and check the learning activities of “moderate class more knowledge” by integrating with the principles of sufficiency economy in Chanthaburi Province. 3)to implement and test the model of “moderate class more knowledge” by integrating with the principles of the principles of sufficiency economy of Chanthaburi Primary Educational Service Area Office. This qualitative research was done with the in–depth interview of 10 students, 5 teachers, 3 village farmers and 2 village philosophers in Chanthaburi Province and through focus group discussion. The study locations were 7 schools in Chanthaburi Province: Wat Don Tan School, Ban Sap Charoen School, Ban Ta Ruaeng School, Ban Tap Chang School, Pong Nam Ron School, Ban Nong Salut School, Ban Trok Nong School and Ban Wat Noen Mahad School, voluntary schools of Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 2. The researcher divided the results of the analysis into 3 phases as follows: Phrase 1: The study of the management of learning activities of “moderate class more knowledge” by integrating with the principles of sufficiency economy in Chanthaburi Province. Phase 3: Experiment and evaluation using the management of learning activities of “moderate class more knowledge” by integrating in accordance with the principles of sufficiency economy of Primary Educational Service Area Office. The results were as follows: Phase 1: The results of before developing management learning activities of “moderate class more knowledge” by integrating with the principles of sufficiency economy, findings highlighted three main points that consisted of (1) Personal problems: Major problems were lack of qualified teachers and personnel, insufficient classroom teachers, teachers who did not meet majors or dominant subjects, lack of specialization, and their teaching loads were in multiple levels and subjects. (2) Problems of low achievement from external quality assessment by National Education Standards and Quality Assessment, most of which were small educational institutions, lacking a lot of readiness in various fields especially the standard. (3) Students were able to think critically: synthetic thinking, judgment, creative thinking and reflective thinking. Phase 2: The results of creating and verifying learning activities of “moderate class more knowledge” by integrating with the principles of sufficiency economy, revealed that the teachers employed the concepts of learning based on constructivism theory that focuses on the learners in thinking about learning and they construct knowledge for themselves. Phase 3: The results of designing and evaluation using the model management of learning activities of “moderate class more knowledge”, findings were (1) linking indicators with the curriculum, (2)Focusing on 4H activities, (3) Happy learners, (4) Have fun with advanced thinking (The pursuit of knowledge troubleshooting), (5) Focus on working as a team, (6) Deep learning sources (technology, wisdom and the environment), and (7) To assess the actual situation and focus on practice.
การจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้, เศรษฐกิจพอเพียง
moderate class more knowledge, sufficiency economy, village philosophers
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2021-05-11 10:08:14