ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

แนวทางการสร้างเสริมสมรรถภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Competency Enhancing Guidelines for Student Teachers, Rambhai Barni Rajabhat University
พัชรินทร์ รุจิรานุกูล , อัฐฉญา แพทย์ศาสตร์ และ สุรีย์มาศ สุขกสิ
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
2563
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง และหาแนวทางการสร้างเสริมสมรรถภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีข้อคำถามจำนวน 44 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .30 - .73 และค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .95 และ 2) แนวประเด็นคำถามการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ครูพี่เลี้ยงของนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ประจำปีการศึกษา 2563 ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยความคลาดเคลื่อน .05 ของยามาเน่ จำนวน 203 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 10 คน ได้มาโดยวิธีการเจาะจงตามเกณฑ์คุณลักษณะในการคัดเลือกผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มที่กำหนดไว้ ใช้วิธีการสนทนากลุ่มและวิเคราะห์เนื้อหาตามกรอบสนทนากลุ่มเพื่อหาแนวทางการสร้างเสริมสมรรถภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.09, S.D.= 0.42) เมื่อพิจารณาเป็น รายด้านพบว่า สมรรถภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางวิชาชีพ ( = 4.43, S.D.= 0.44) ด้านทักษะการสอน ( = 3.96, S.D.= 0.51) และด้านวิชาการความรู้ ( = 3.83, S.D.= 0.50) 2. ควรมีแนวทางในการส่งเสริมสมรรถภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ทั้ง 3 ด้าน โดยให้ความสำคัญในการเร่งพัฒนาด้านวิชาการความรู้ให้มากขึ้น รองลงมาคือ ด้านทักษะการสอน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางวิชาชีพ ตามลำดับ การส่งเสริมพัฒนาสมรรถภาพของนักศึกษาทำได้ด้วยตนเองตามความสนใจของนักศึกษา โดยหลักสูตร โดยคณะครุศาสตร์ และโดยสถานศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ทั้งในลักษณะโครงการฝึกอบรม การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การให้ทุนสนับสนุน ตามความเหมาะสม
The purposes of this research were: to study competency of student teachers, Rambhai Barni Rajabhat University according to mentors’ opinions and to find competency enhancing guidelines for student teachers, Rambhai Barni Rajabhat University. The research instruments included: 1) a five-rating scale questionnaire with 44 questions, in which its discrimination per item fell between .30 - .73 and its reliability of the whole questionnaire was .95 and 2) focus group questions. The sample group used in this quantitative research was 203 mentors of the student teachers, Rambhai Barni Rajabhat University in the academic year 2020, selecting from multi-stage sampling, by which the sample size was determined using Yamane’s .05 error formula. The data were analyzed using: percentage, mean ( ) and standard deviation (S.D.). There were 10 key informants in this quantitative research selecting from purposive sampling according to the appointed characteristic criteria of focus group participant selection by using a focus group and content analysis in accordance with the focus group framework to find competency enhancing guidelines for student teachers, Rambhai Barni Rajabhat University. The results founded that: 1. The competency of the student teachers, Rambhai Barni Rajabhat University according to the mentors’ opinions in total was at a high level ( = 4.09, S.D.= 0.42). When considered each aspect found that the competency of the student teachers, Rambhai Barni Rajabhat University according to the mentors’ opinions was at the high level for all three aspects, sorted in descending order as: professional desirable characteristic aspect ( = 4.43, S.D.= 0.44), teaching skill aspect ( = 3.96, S.D.= 0.51) and academic knowledge aspect ( = 3.83, S.D.= 0.50). 2. There should be competency enhancing guidelines for student teachers, Rambhai Barni Rajabhat University in three aspects by placing importance on urgent development of academic knowledge, teaching skill and professional desirable characteristic respectively. The students could keep up the competency enhancement by themselves according to their interest, by the curriculum, by Faculty of Education and by their internship schools in the forms of training projects, mutual knowledge sharing activities, and funding as appropriate.
สมรรถภาพ, นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
Competency, Student Teachers
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2021-09-08 10:29:05