ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

รูปแบบการเรียนด้วยตนเองทางเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนในยุคศตวรรษที่ 21 บริเวณพื้นที่ชายแดน จังหวัดจันทบุรี
A Model Self-study Learning by Information Technology of Students 21st Century Era in the Border Area Chanthaburi
เจนจบ สุขแสงประสิทธิ์ และฬิฏา สมบูรณ์
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
2559
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนด้วยตนเองทางเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนในยุคศตวรรษที่ 21 บริเวณพื้นที่ชายแดน จังหวัดจันทบุรี 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนด้วยตนเองทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 3) ประเมินรูปแบบการเรียนด้วยตนเองทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ประชากรประกอบด้วย นักเรียน ครูและผู้ปกครองจากโรงเรียนบริเวณพื้นที่ชายแดน จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถาม แบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเกณฑ์หาประสิทธิภาพ E1/E2 การดำเนินการวิจัยขั้นตอนแรก ศึกษาสภาพการจัดการเรียนด้วยตนเองทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนด้วยตนเองทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบการเรียนด้วยตนเองทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สรุปผลการวิจัย สภาพการจัดการเรียนด้วยตนเองทางเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนบริเวณพื้นที่ชายแดน จังหวัดจันทบุรี รวมทุกด้านทุกรายข้อ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4.03) คือ สามารถใช้แอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น กลูเกิ้ล ได้ (5.00) ส่วนข้อที่มีความสามารถน้อยสุด คือ มีการตรวจสอบถึงความแตกต่างของสื่อ (2.77) การพัฒนารูปแบบการเรียนด้วยตนเองทางเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนตามกระบวนการเรียนรู้ได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 = 81.81/82.28 ซึ่งได้ตามเกณฑ์ ระดับผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ตอบแบบสอบถามด้านทักษะต่าง ๆ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.65) คือ ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง (4.65) เรื่อง ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (4.87) ทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยี (4.53) เรื่อง ใช้เทคโนโลยีแบ่งปันข้อมูลต่าง ๆ กับเพื่อนได้ (4.82) ทักษะความรู้ด้านสารสนเทศ (4.40) เรื่อง การเลือกแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ (4.55) และทักษะความรู้เกี่ยวกับสื่อ (4.31) เรื่อง ความเข้าใจและนำเสนอสื่อในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างทางวัฒนธรรม (4.51)
This research aimed to 1) study the self-management condition in information technology of 21st century students in border area Chanthaburi Province 2) create and develop self-study style in Information Technology and 3) evaluate self-study style in Information Technology. The population consisted of 90 students, teachers and parents from border area schools. The research instrument used was 5 - rating scale questionnaires. The statistics used were mean, standard deviation (S.D.), and performance criteria E1/E2. Conducting research the first step Study the self-management condition in information technology. Step 2 Develop a self-study model in information technology. Step 3 evaluate the self-study style in information technology. Condition of Self-Study in Information Technology of Students in Border Areas Chanthaburi Including all aspects, every item Overall, they were at a high level (4.03), that is, applications such as Google can be used (5.00), while the least competent is that media differences are examined (2.77). Developing a self-study model in information technology of students according to the learning process achieved an efficiency value E1/E2 = 81.81/82.28. The level of satisfaction assessment results from the respondents in overall skills were at the highest level (4.65), self-learning skills was (4.65), information technology self-learning readiness was (4.87), technological knowledge skills was (4.53). Can use technology to share information with peers was (4.82), information skills was (4.40), selection of reliable sources was (4.55), and media knowledge skills was (4.31) on understanding and presenting media in culturally different environment was (4.51)
การเรียนรู้ด้วยตนเอง, เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการเรียนยุคศตวรรษที่ 21
Self learning, 21st century information technology
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2022-05-05 14:20:54