ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

กระบวนการสื่อสาร กลยุทธ์การสื่อสาร และประสิทธิผลของการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี
The Process, Strategies and Effectiveness of Communication in Sustainable Tourism at Namtok Phlio National Park, Chanthaburi Province
ธนพิสิฐ จรัสแสงจิระโชติ และ พรพิมล สงกระสันต์
คณะนิเทศศาสตร์
งานวิจัย
2564
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการสื่อสารและกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี (2) ศึกษาการรับรู้สื่อ การรับรู้ข่าวสาร และพฤติกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี ของนักท่องเที่ยว (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สื่อ การรับรู้ข่าวสาร และพฤติกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี ของนักท่องเที่ยว โดยแบ่งวิธีการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ศึกษากระบวนการสื่อสารและกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 ศึกษาประสิทธิผลของการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี โดยวัดจากการรับรู้สื่อ การรับรู้ข่าวสาร และพฤติกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน ผลการวิจัยในส่วนของกระบวนการสื่อสารและกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี พบว่า กระบวนการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว ประกอบด้วย (1) ผู้ส่งสาร ได้แก่ บุคลากรของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว ทั้งหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่อุทยานทุกคน รวมถึงหน่วยงานเครือข่ายต่าง ๆ ของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน (2) สาร ได้แก่ เนื้อหาสารที่ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว เนื้อหาสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เนื้อหาสารที่เชิญชวนให้มาท่องเที่ยวและโน้มน้าวใจให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และเนื้อหาสารที่ให้ความบันเทิงจากการจัดกิจกรรม (3) สื่อ ได้แก่ สื่อมวลชน สื่อบุคคล สื่อใหม่ และสื่อเฉพาะกิจ โดยเน้นไปที่สื่อใหม่เป็นหลัก (4) ผู้รับสาร ได้แก่ กลุ่มหลักคือนักท่องเที่ยวทั่วไป และนักท่องเที่ยวที่มาแบบครอบครัว กลุ่มรองคือนักเรียน นักศึกษา และนักท่องเที่ยวที่มาในรูปแบบกลุ่มทัวร์ กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว ได้แก่ กลยุทธ์การชี้ให้เห็นถึงจุดเด่น กลยุทธ์การสร้างความรู้สึกรักและหวงแหน กลยุทธ์การใช้สื่อกิจกรรม และกลยุทธ์การใช้เครือข่ายการสื่อสาร ผลการวิจัยในส่วนของประสิทธิผลของการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี โดยวัดจากการรับรู้สื่อ การรับรู้ข่าวสาร และพฤติกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี พบว่า (1) นักท่องเที่ยวมีการรับรู้สื่อเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว อยู่ในระดับปานกลาง (2) นักท่องเที่ยวมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว อยู่ในระดับสูง (3) นักท่องเที่ยวมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว อยู่ในระดับสูงมาก (4) การรับรู้สื่อมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้ข่าวสารการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ (5) การรับรู้สื่อมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำมาก (6) การรับรู้ข่าวสารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ
This research aims to (1) study communication processes and communication strategies for sustainable tourism of Namtok Phlio National Park, Chanthaburi Province, (2) study media, news perception, awareness and sustainable tourism behavior of Namtok Phlio National Park, Chanthaburi Province, and (3) study the relationship between media, news perception, awareness and sustainable tourism behavior of Namtok Phlio National Park, Chanthaburi Province. The research methodology was divided into two parts: the first part of research study communication processes and communication strategies for sustainable tourism of Namtok Phlio National Park, Chanthaburi Province. This is qualitative research by collecting information from interviews and studying from various related documents. The second part study the effectiveness of communication for sustainable tourism of Namtok Phlio National Park, Chanthaburi Province, measured by media, news perception, awareness, and sustainable tourism behavior of Namtok Phlio National Park, Chanthaburi Province. This is quantitative research with the questionnaire method to collect data from 400 tourists. The results on communication processes and communication strategies for sustainable tourism of Namtok Phlio National Park, Chanthaburi Province found that communication process for sustainable tourism, of Namtok Phlio National Park included (1) the messengers were the staffs of Namtok Phlio National Park. Both the superintendent and all the park staff including various network agencies of Namtok Phlio National Park content, both public and private sectors (2) messages include content providing information about Namtok Phlio National Park and content to educate about sustainable tourism content that invites visitors to travel and persuade sustainable tourism, and entertainment content from activities (3) media included mass media, personal media, new media, and specialized media, mainly focusing on new media (4) Recipients included the main group of general tourists and family tourists. The secondary group is students and tourists who come in the form of tour groups. Communication strategies for sustainable tourism of Namtok Phlio National Park included strategies to highlight the strengths, the strategies for creating feelings of love and cherish, the strategies for using media activities, and the strategies for using communication networks. The following results on the effectiveness of communication for sustainable tourism of Namtok Phlio National Park, Chanthaburi Province are measured by media, news perception, awareness and sustainable tourism behavior of Namtok Phlio National Park, Chanthaburi Province as follows: (1) Tourists have moderate level of media awareness about sustainable tourism in Namtok Phlio National Park. (2) Tourists are highly aware of the news about sustainable tourism in Namtok Phlio National Park. (3) Tourists have highly sustainable tourism behavior in Namtok Phlio National Park. (4) Media perception was positively correlated with news perception of sustainable tourism in Namtok Phlio National Park. It was statistically significant at the 0.001 level and the low relationship. (5) Media perception was positively correlated with sustainable tourism behavior in Namtok Phlio National Park. It was statistically significant at the 0.05 level and the very low relationship. (6) News perception was positively correlated with sustainable tourism behavior in Namtok Phlio National Park. It was statistically significant at the 0.001 level and the low relationship.
กระบวนการสื่อสาร, กลยุทธ์การสื่อสาร, ประสิทธิผลของการสื่อสาร, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว
Communication process, Communication strategy, Effectiveness of communication, Sustainable tourism, Namtok Phlio National Park
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2023-03-08 15:36:02