ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

ประสิทธิภาพของสารสกัดพรอพอลิสในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยวของไม้ผล
Efficacy of Propolis Extract for Control Fungi Causing Postharvest Diseases of Fruit
พิกุล นุชนวลรัตน์ และ นภาพร จิตต์ศรัทธา
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
งานวิจัย
2564
การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดพรอพอลิสจากอำเภอแหลมสิงห์ อำเภอมะขาม และอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ต่อการยับยั้งการเจริญของเส้นใย และการงอกของสปอร์เชื้อราสาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยวของไม้ผล ได้แก่ Colletotrichum musae สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของกล้วย, Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของมะม่วง โรคผลเน่าของชมพู่ และ โรคผลเน่าของเงาะ, Dothorella domi สาเหตุโรคขั้วผลเน่าของมะม่วง, Fusarium sp. สาเหตุโรค ผลเน่าของทุเรียน และ Lasiodiplodia theobromae สาเหตุโรคขั้วหวีเน่าของกล้วย โรคผลเน่าของทุเรียน และโรคขั้วผลเน่าของมะละกอ ในสภาพห้องปฏิบัติการ ผลการทดลองพบว่าสารสกัดพรอพอลิสความเข้มข้น 1, 2, 3% และสารป้องกันกำจัดเชื้อราโพรคลอราชความเข้มข้น 0.05% มีผลยับยั้งการเจริญของเส้นใย และการงอกของเชื้อราทุกชนิดแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม (น้ำกลั่น) สารสกัดพรอพอลิสจากอำเภอแหลมสิงห์ความเข้มข้น 3 เปอร์เซ็นต์ และสารสกัดพรอพอลิส จากอำเภอท่าใหม่ความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ มีผลยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อราทุกชนิดได้สมบูรณ์ โดยมีเปอร์เซ็นต์มีผลยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราทุกชนิดได้ระหว่าง 93.44-100.00 และ 96.14-100.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สารสกัดพรอพอลิสจากอำเภอมะขามความเข้มข้น 3 เปอร์เซ็นต์ และสารป้องกันกำจัดเชื้อราโพรคลอราชความเข้มข้น 0.05% มีผลยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อราทุกชนิดระหว่าง 85.36-100.00 และ 88.60-100.00 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และยับยั้งการเจริญของเส้นใย เชื้อราทุกชนิดในการทดลองได้ระหว่าง 85.30-100.00 และ 83.58-100.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยสรุป สารสกัดพรอพอลิสที่เก็บรวบรวมจากทั้ง 3 อำเภอในจังหวัดจันทบุรี มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยวของไม้ผลได้ จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงองค์ประกอบทางเคมี คุณสมบัติในการต้านเชื้อราของพรอพอลิส
The efficacy of propolis extract obtained from three districts in Chanthaburi Province (Laem Sing, Makham, and Tha Mai district) were studied to inhibit the mycelium growth and spore germination of fungi causing postharvest disease of fruit. Fungi pathogens, including Colletotrichum musae causing anthracnose disease in banana, Colletotrichum gloeosporioides causing anthracnose disease in mango, fruit rot in rose apple, and fruit rot in rambutan, Dothorella dominicana causing stem end rot in mango, Fusarium sp. causing anthracnose disease in durian and Lasiodiplodia theobromae causing crown rot disease in banana as well as, fruit rot in durian and stem end rot in papaya were studied in vitro on the culture medium. The study showed that the propolis extract at concentrations of 1, 2, and 3% and prochloraz 0.05% significantly inhibited the mycelium growth and spore germination of all tested fungi when compared with the control (distilled water). The effective treatment was the 3% of propolis from Laem Sing District, and the 2% of propolis from Tha Mai district which inhibited completely the spore germination of all tested fungi, while they inhibited mycelium growth between 93.44-100.00 and 96.14-100.00%, respectively. The 3% of propolis from Makham District and the 0.05% of Prochloraz inhibited the spore germination of all tested fungi between 85.36-100.00 and 88.60-100.00%, respectively, while these inhibited mycelium growth of all tested fungi between 85.30-100.00 and 83.58-100.00%, respectively. In conclusion, propolis extract obtained from three districts in Chanthaburi province shows antifungal activities to inhibit the growth of fungi causing postharvest disease of fruit. The chemical composition and antifungal properties of propolis extracts should be included in future studies.
โรคหลังการเก็บเกี่ยว, แอนแทรคโนส, ขั้วหวีเน่า, ขั้วผลเน่า, ผลเน่า, พรอพอลิส
postharvest disease, anthracnose, stem end rot, crown rot, fruit rot, propolis
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2023-03-09 13:48:53