ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของชุมชนการค้าชายแดนไทย-กัมพูชาเพื่อการเป็นประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Guidelines Developing Quality of Life and Community Well-being of Border Trade Area between Thailand and Cambodia for Being a Country ASEAN Economic Community.
สิตางศ์ เจริญวงศ์, วงธรรม สรณะ และ ชูวงศ์ อุบาลี
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
งานวิจัย
2564
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของชุมชน สุขภาวะของชุมชน และเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของชุมชนการค้าชายแดนในบริบทของตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า คุณภาพชีวิตของของชุมชนการค้าชายแดนไทย-กัมพูชาในมิติด้านเศรษฐกิจ พบว่า คุณภาพชีวิตทางเศรษฐกิจของตำบลคลองใหญ่ในปัจจุบันนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ระหว่างประเทศ กลไกราคาตลาด และสถานการณ์ระหว่างพรมแดน การศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสังคมของชุมชน พบว่า ประชาชนอยู่ร่วมกันในลักษณะของเครือญาติที่ทุกคนรู้จักหมดในหมู่บ้าน ชาวบ้านในชุมชนได้เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมที่สำคัญ ได้แก่ กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ของชุมชน งานบุญประเพณีตามเทศกาลทางศาสนา และการแข่งกีฬาประจำตำบล อย่างไรก็ตาม หลังเปิดประตูการค้าชายแดนทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของคนต่างถิ่นได้แก่ แรงงานกัมพูชา นายทุนต่างพื้นที่ กลุ่มนักแสวงโชค และคุณภาพชีวิตของชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ตำบลคลองใหญ่มีพื้นที่เป็นที่ราบสลับภูเขา ประชาชนส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตร ทำให้มีความจำเป็นในเรื่องของการใช้แหล่งน้ำในการเพาะปลูกทางการเกษตร นอกจากนี้ การเกิดขึ้นของตลาดการค้าชายแดนยังมีผลต่อชุมชนเรื่องปัญหาการจราจร และปัญหาขยะในพื้นที่อีกด้วย ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่าสุขภาวะของชุมชนมี 4 ด้านได้แก่ สุขภาวะทางด้านร่างกาย พบว่าประชาชนในตำบลคลองใหญ่เป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีจำนวนของผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นชุมชนที่ทำเกษตรกรรม เป็นชุมชนที่มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางจิตใจ มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางสังคม และมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางด้านจิตวิญญาณ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของชุมชนการค้าชายแดนในบริบทของตำบลคลองใหญ่ นั้น ได้แก่ การทบทวนความเป็นอยู่ของชุมชนในการดำเนินชีวิต เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตของชุมชนให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจและสังคม การสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีควรมีการวางแผนการมีส่วนร่วมและการบูรณาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการสร้างระบบบริหารจัดการที่ดี เพื่อลดปัญหามลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม อันจะก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีและสุขภาพที่ดี
This research aimed to study the quality of life, community health and propose guidelines for improving the quality of life and health of the border trade community in the area of Khlong Yai Subdistrict, Pong Nam Ron District, Chanthaburi Province. The results according to first objective, the quality of life in Thai-Cambodian border trade community in term of economic shown that the economy in Khlong Yai today depends on the international situation, market price mechanisms and the situation between borders. Most of the people in Khlong Yai in the era after export longan had a better economic quality of life than the era of cassava farming. In term of the social shown that, most of the people lived together in the manner of kinship that everyone known in the village. Therefore, crime problems were rarely of a violent nature. In addition, the villagers participated in important social activities such as community public interest activities, traditional merit-making ceremony according to religious festivals and sport game. However, after opening of the border trade causing movement of foreigners, including Cambodian workers, foreign investors, group of fortune seekers, and in terms of environment and natural resources shown that Khlong Yai has plain area that alternates with mountains. Most of the people are famer so they therefore have a need to use water for agriculture. In addition, the emergence of the border trade market also affects the community in traffic and waste problems in the area as well. The results according to the second objective, there were 4 dimensions of community health, namely physical well-being, shown that in terms of physical health. Most of the people were physically healthy and there are relatively few patients with chronic diseases because Khlong Yai is an agricultural community, mentally healthy, complete social well-being and complete spiritual health. And the results according to the third objective, shown that the guidelines for improving the quality of life and health of the border trade community in the context of Khlong Yai include reviewing the way of life of the community in order to create the quality of life of the community in accordance with the economy and society, creating a good quality of life and well-being, there should be a plan of participation and integration from relevant agencies and creating a good management system to reduce environmental pollution problems for a better quality of life and good health.
คุณภาพชีวิต, สุขภาวะของชุมชน, ชุมชนการค้าชายแดน, ไทย, กัมพูชา
quality of life, community health, border trade community, Thailand, Cambodia.
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2023-03-09 15:23:48