Toggle navigation
หน้าหลัก
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามหน่วยงาน
หน่วยงาน
คณะครุศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักศิลปวัฒนธรรม
งานวิจัยตามปี พ.ศ.
แบ่งตามปี พ.ศ.
พ.ศ. 2567
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2545
สถิติงานวิจัย
ประเภทของสถิติ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายในและภายนอก
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
สถิติจำนวนโครงการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
คณะทำงาน
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
เข้าสู่ระบบ
หน้าหลัก
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
รายระเอียดการวิจัย
เมนูหลัก
หน้าหลัก
สาขางานวิจัยทั้งหมด
ประวัตินักวิจัย
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามคณะ
139
คณะครุศาสตร์
27
คณะนิติศาสตร์
36
คณะนิเทศศาสตร์
2
คณะพยาบาลศาสตร์
89
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
30
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
67
คณะวิทยาการจัดการ
130
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
107
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
159
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
27
สถาบันวิจัยและพัฒนา
1
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
สำนักศิลปวัฒนธรรม
รายการข้อมูลงานวิจัย
รายการข้อมูลงานวิจัย
ชื่องานวิจัย (ภาษาไทย)
การประดิษฐ์ยาสีร้อนสำหรับงานเครื่องประดับจากการใช้วัตถุดิบหลัก (แร่ควอตซ์) ในแหล่งจังหวัดจันทบุรี
ชื่องานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)
Fabrication of Enamel for Jewelry by Using Main Raw Material (quartz) from Chanthaburi
ชื่อผู้แต่ง
สุรพงษ์ ปัญญาทา, ภัทรา ศรีสุโข และ ภัทรบดี พิมพ์กิ
สาขางานวิจัย
หน่วยงาน
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ประเภทงานวิจัย
งานวิจัย
ปีงบประมาณ
2564
ชื่อทุน
หน่วยงานเจ้าของทุน
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประดิษฐ์ยาสีร้อนที่มีเฉดสีเทียบเคียงกับยาสีร้อนที่นำเข้าจากต่างประเทศหรือสร้างเฉดสีใหม่ จากการใช้แหล่งวัตถุดิบซิลิกาภายในประเทศจากแหล่งแร่ควอตซ์ ในตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โดยศึกษาสมบัติต่าง ๆ ของยาสีร้อนที่นำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ สีน้ำเงินและสีเขียว โดยงานวิจัยนี้ คณะผู้วิจัยได้เลือกทำการประดิษฐ์ยาสีร้อนสีเขียว โดยปรับสัดส่วนสารตั้งต้น จำนวน 7 สูตร อ้างอิงตามข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของยาสีร้อนสีเขียวที่นำเข้าจากต่างประเทศและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำต้นแบบยาสีร้อนที่ประดิษฐ์ได้มาเคลือบลงบนแผ่นโลหะทองแดง เพื่อทดสอบการยึดติดกับแผ่นโลหะทองแดง ลักษณะผิวเคลือบและเฉดสีที่ปรากฏจากการสังเกต ผลการทดลองพบว่า องค์ประกอบทางเคมีของยาสีร้อนสีน้ำเงินและสีเขียวที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีตะกั่วเป็นองค์ประกอบหลักมากกว่า 70 %w/w จัดได้ว่าเป็นแก้วตะกั่ว และมีซิลิกาเป็นองค์ประกอบหลักเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวฟอร์เมอร์ทำให้เกิดเป็นแก้ว โดยยาสีร้อนสีน้ำเงินที่นำเข้าจากต่างประเทศมีโคบอลต์ออกไซด์ทำหน้าที่เป็นสารให้สีน้ำเงิน และยาสีร้อนสีเขียวมีโครเมียมออกไซด์ผสมกับคอปเปอร์ออกไซด์เป็นสารให้สีเขียว โดยงานวิจัยนี้สามารถประดิษฐ์ยาสีร้อนสีเขียวที่มีเฉดสีเขียวเข้มได้จากสัดส่วนสารตั้งต้น สูตรที่ 5 โดยมีเหล็กออกไซด์และคอปเปอร์ออกไซด์เป็นตัวสร้างสีเขียว และยาสีร้อนสีเขียว สูตรที่ 5 สามารถนำมาเคลือบลงยาสีร้อนบนแผ่นโลหะทองแดงได้โดยไม่เกิดการแตกร้าว และไม่หลุดออกจากตัวแผ่นโลหะ
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
This research aimed to fabricate a hot enamel that has a similar color shade to the imported hot green enamel or to create a new color shade. The fabrication process was performed by using locally silica raw materials from quartz in Khao Baisi Subdistrict, Tha Mai District, Chanthaburi Province. During the research, the study was carried out on various properties of imported hot blue and green enamel. In this research, researchers have chosen to fabricate a hot green enamel. The proportion of raw materials was adjusted to 7 formulas based on the chemical composition analyzed from the imported hot green-color enamel and related research. After that, the received hot green enamel prototype was then coated on the copper sheet to test its adhesion ability with the copper sheet. The appearance of the coating and the color shades were examined from the observation. The results showed that the chemical composition of the imported hot blue and green enamel consists of Lead which is the main component of more than 70 %w/w. Thus, it can be classified as lead glass, and it contains silica as the main component to act as a forming agent to form a glass. The imported hot blue enamel contains cobalt oxide as a blue pigment and the imported hot green enamel contains chromium oxide and copper oxide as green pigments. In this research, hot green enamel with dark green hues can be successfully fabricated from the ratio of the raw material formulation No. 5, with iron oxide and copper oxide as the pigments of green color, as well as being able to be coated on the copper metal sheet without cracking and not falling off the copper metal sheet.
คำสำคัญ
ยาสีร้อน, การเคลือบลงยา, เครื่องประดับ, แร่ควอตซ์
Keywords
Enamel, Vitreous enamel, Jewelry, Quartz
เพิ่มข้อมูลโดย
ณัฐฐานี ดีซื่อ
แก้ไขล่าสุด
2023-03-09 15:56:17
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ผู้วิจัย