Toggle navigation
หน้าหลัก
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามหน่วยงาน
หน่วยงาน
คณะครุศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักศิลปวัฒนธรรม
งานวิจัยตามปี พ.ศ.
แบ่งตามปี พ.ศ.
พ.ศ. 2568
พ.ศ. 2567
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2545
สถิติงานวิจัย
ประเภทของสถิติ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายในและภายนอก
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
สถิติจำนวนโครงการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
คณะทำงาน
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
เข้าสู่ระบบ
หน้าหลัก
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
รายระเอียดการวิจัย
เมนูหลัก
หน้าหลัก
สาขางานวิจัยทั้งหมด
ประวัตินักวิจัย
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามคณะ
142
คณะครุศาสตร์
28
คณะนิติศาสตร์
37
คณะนิเทศศาสตร์
2
คณะพยาบาลศาสตร์
91
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
31
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
69
คณะวิทยาการจัดการ
135
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
108
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
161
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
27
สถาบันวิจัยและพัฒนา
1
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
สำนักศิลปวัฒนธรรม
รายการข้อมูลงานวิจัย
รายการข้อมูลงานวิจัย
ชื่องานวิจัย (ภาษาไทย)
การวิจัยและสร้างนวัตกรรมจากกระวานเพื่อพัฒนาอาชีพชุมชนในพื้นที่ประสบภัยจากช้างป่า
ชื่องานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)
Research and innovative creation from cardamom for the community career development in the wild elephants disaster area
ชื่อผู้แต่ง
จิรพร สวัสดิการ, หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์, ณมนรัก คำฉัตร และ คมสัน มุ่ยสี
สาขางานวิจัย
หน่วยงาน
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ประเภทงานวิจัย
งานวิจัย
ปีงบประมาณ
2565
ชื่อทุน
หน่วยงานเจ้าของทุน
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
กระวาน (Amomum testaceum Ridl.) เป็นพืชสมุนไพรท้องถิ่นของจังหวัดจันทบุรี ปัจจุบันเป็น พืชสมุนไพรหายากในธรรมชาติ จึงมีการปลูกกันมากขึ้นในชุมชน โดยเฉพาะพื้นที่ประสบภัยจากช้างป่า ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงต้องมีแนวทางในการแปรรูปหรือพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ตลาดมากขึ้น และเป็นการส่งเสริมให้มีการพัฒนาอาชีพในชุมชน งานวิจัยนี้มี 3 การทดลอง ประกอบด้วย 1) การศึกษาองค์ประกอบทางพฤกษเคมีเบื้องต้นของสารสกัดหยาบจากกระวาน 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากกระวาน และ 3) การพัฒนากระบวนการอบแห้งกระวานโดยใช้พลังงานสะอาด สำหรับการสกัดสารพฤกษเคมีจากส่วนเหง้า ลำต้น ใบอ่อน ใบแก่ หน่อ และผลของกระวานด้วยเอทานอลความเข้มข้น 95 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาตรต่อปริมาตร) พบสารพฤกษเคมีเบื้องต้นที่สำคัญ 8 กลุ่ม ได้แก่ อัลคาลอยด์ฟลาโวนอยด์ คาร์ดิแอก กลัยโคไซด์ แทนนิน คูมาริน สเตอรอยด์ เทอร์พีนอยด์ และซาโปนิน และพบว่าทุกส่วนของกระวานมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง เมื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากกระวาน พบว่าผลิตภัณฑ์อาหารจากกระวานทั้ง 4 ชนิด ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค ผู้บริโภคคาดว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์เมื่อมีการผลิตออกมาจำหน่ายในทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) ชาใบกระวานผสมข้าวหอมแม่พญาทองดำคั่วที่อัตราส่วน 75:25 ซึ่งมีปริมาณสารประกอบฟินอลิกทั้งหมดและคุณสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูง 2) กระวานแช่อิ่มอบแห้งและปรับปรุงสีของกระวานแช่อิ่มอบแห้งโดยใช้สีจากเก๊กฮวย กระเจี๊ยบ และอัญชัน 3) ผงปรุงรสจากกระวาน ซึ่งประกอบด้วยหน่อกระวาน และเกลือ 4) เครื่องดื่มจากกระวาน โดยพัฒนาเป็นน้ำกระวานผสมใบชะมวง ส่วนการพัฒนาศักยภาพการผลิตผลิตภัณฑ์จากกระวานโดยใช้พลังงานสะอาด พบว่าสามารถอบแห้งกระวานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน จึงช่วยลดเวลาในการอบแห้งลง โดยใช้เวลาในการอบแห้งอย่างน้อย 38 ชั่วโมง ควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ตามที่กำหนดได้ ติดตั้งง่ายและสามารถใช้ในครัวเรือนได้
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
Cardamom (Amomum testaceum Ridl.), a local herb of Chanthaburi,has become increasingly rare. The cultivation of cardamom plants in communities, especially in areas affected by wild elephant disasters, requires processing and product development to meet market demands and promote community careers. This research comprises three experiments: 1) the phytochemical screening of crude cardamom extracts 2) the development of product prototypes using cardamom, and 3) the utilization of clean energy in cardamom drying process. Phytochemical extraction using 95% ethanol (v/v) from various parts of the cardamom plant, including rhizomes, stalks, young leaves, old leaves, shoots, and fruits, revealed eight groups of phytochemicals: alkaloids, flavonoids, cardiac glycosides, tannins, coumarins, steroids, terpenoids and saponins. Additionally, all parts of the cardamom plant exhibited high antioxidant activity. Regarding food product development, from cardamom-based prototypes were well-received by consumers, who expressed interest in purchasing them once available in the market. These products included: 1) cardamom leaf tea blended with roasted Khao Hom Mae Phaya Tongdum rice at a ratio of 75:25, rich in total phenolic compounds and high in antioxidant 2) osmosis-dehydrated and dried cardamom products enhanced with chrysanthemum, roselle, and butterfly pea for improved color 3) cardamom seasoning powder made from cardamom shoots and salt and 4) a cardamom beverage infused with cowa leaves. In terms of the potential production development of the cardamom utilizing clean energy, the developed incubator proves to be suitable for household use, operating day and night, requiring less drying time by using at least 38 h for drying, maintaining stable temperatures and offering easy installation.
คำสำคัญ
กระวาน, พฤกษเคมี, ผลิตภัณฑ์กระวาน, พลังงานสะอาด, อบแห้ง
Keywords
Cardamom, Phytochemical, Cardamom products, Clean Energy, Drying
เพิ่มข้อมูลโดย
ณัฐฐานี ดีซื่อ
แก้ไขล่าสุด
2024-05-07 15:29:20
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก