ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การผลิตไคตินและไคโตซานจากเปลือกกุ้งโดยใช้เอนไซม์ และฤทธิ์ทางชีวภาพ
Enzymatic production of chitin and chitosan from shrimp shells and their biological activity
อาจารย์พิมใจ สุวรรณวงค์ , อาจารย์ ดร.สุนิษา สุวรรณเจริญ , อาจารย์อภิรดี บุญคำ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
งานวิจัย
2558
-
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ไคโตซานเป็นอนุพันธุ์ของไคตินซึ่งเป็นพอลิเมอร์ที่พบได้ในธรรมชาติ ไคโตซานมีฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย จึงมีการนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดไคตินและไคโตซานจากเปลือกกุ้งด้วยเอนไซม์ โปรติเอสจากมะละกอและสับปะรด นำไคตินที่ได้มากำจัดหมู่อะซิติลเพื่อให้ได้ไคโตซาและนำไคโตซานและไฮโดรไลเซทไคโตซานที่ย่อยด้วยเอนไซม์เฮมิเซลลูเลสมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา Fusarium oxysporum ผลการวิจัยพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดไคตินคือ ที่ pH 7.0 อุณหภูมิ 30 °C เป็นเวลา 60 นาที ในสภาวะที่มีซิสเทอีน ไคโตซานและไฮโดรไลเซทไคโตซานที่สกัดได้จากเปลือกกุ้งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Fusarium oxysporum แต่ยับยั้งได้น้อยกว่าแคบแทนและโดยไคโตซานและไฮโดรไลเซทไคโตซานที่ได้จากการย่อยด้วยเอนไซม์เฮมิเซลลูเลสมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราไม่แตกต่างกัน (IC50 เท่ากับ 0.762 และ 0.798 %w/v ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบว่าไฮโดรไลเซทโปรตีนจากเปลือกกุ้งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH ได้ดี จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเอนไซม์โปรติเอสจากพืชท้องถิ่นนั้นสามารถผลิตไคโตซานและไฮโดรไลเซทโปรตีนที่มรฤทธิ์ทางชีวภาพได้ ซึ่งจะสามารถนำไปต่อยอดงานวิจัยในการนำไปประยุกต์ใช้ได้อีกด้วย
Chitosan is the natural polymer and chitin derivative, it has been reported that chitosan has a wide variety of biological activity leading to widely used in the industry. This research aim to optimize chitin extraction condition from shrimp shell by protease enzyme from pineapple and papaya and chitin deacetylated to obtain chitosan then Fusarium oxysporum inhibitory activity of chitosan and hydrolysated chitosan with cellulase were tested. The results demonstrated the optimum conditions were pH 7.0 and 30 °C for 60 minute in the present of cysteine. Chitosan and hydrolysated chitosan shown nearly Fusarium oxysporum inhibitory activity (IC50 equal 0.762 and 0.798 %w/v respectively) but lower than fungicide captan. Moreover, protein hydrolysate obtained from shrimp shell gave the moderate DPPH radical inhibitory activity. These suggest that protease from local plants has a potential to produce chitosan and protein hydrolysate with a good biological activity.
ไคโตซาน, ไฮโดรไลเซทไคโตซาน, เอนไซม์โปรติเอส, สารต้านอนุมูลอิสระ, เปลือกกุ้ง
Chitosan, Chitosan hydrolysate, Enzyme protease, antioxidant, shrimp shell
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2019-08-08 10:52:38