ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การแพร่กระจายและความอุดมสมบูรณ์ของสาหร่ายทะเล ในบริเวณอ่าวยาง และเกาะนมสาว จังหวัดจันทบุรี
Distribution and abundance of seaweed in Ao Yang Bay and Nomsao Island, Chanthaburi Province
ประสาน แสงไพบูลย์ , ชุตาภา คุณสุข , ลลิดา เจริญวิเศษ และ ธีรพงษ์ พิทักษ์ผล
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
งานวิจัย
2561
การศึกษาการแพร่กระจายและความอุดมสมบูรณ์ของสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ บริเวณอ่าวยาง และเกาะนมสาว จังหวัดจันทบุรี ทำการสำรวจเป็นจำนวน 6 ครั้ง ในช่วงเดือน มิถุนายน สิงหาคม ตุลาคม ปี พ.ศ. 2561 และเดือน มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม ปี พ.ศ. 2562 พร้อมทั้งศึกษาค่าปัจจัยทางกายภาพต่าง ๆ ได้แก่ ค่าอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าปริมาณออกซิเจนละลาย ค่าความเข้มแสง ค่าความเค็ม และค่าความลึก กำหนดจุดเก็บตัวอย่างสาหร่ายทะเลบริเวณหาดอ่าวยาง จำนวน 3 สถานี คือ สถานีด้านซ้ายของหาดที่ติดแนวปะการัง สถานีตรงกลางติดกับหาดหิน และสถานีทางด้านขวาติดกับหาดหินและหาดทราย ทำการสำรวจและเก็บรวบรวมตัวอย่างสาหร่ายทะเลที่พบ บันทึกภาพสาหร่ายทะเล ศึกษาเปอร์เซ็นต์การปกคลุมของสาหร่ายโดยใช้ควอดเดรท (Quadrate) ขนาด 1x1 เมตร และจัดจำแนกชนิดของสาหร่ายทะเลโดยใช้คู่มือ หรือ คีย์ ผลการศึกษาพบสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่บริเวณอ่าวยางทั้งสิ้น 10 วงศ์ 15 สกุล 22 ชนิด โดยพบสาหร่ายทะเลสีแดงมากที่สุด 11 ชนิด รองลงมา คือ สาหร่ายทะเลสีน้ำตาล 8 ชนิด และน้อยสุด คือ สาหร่ายทะเลสีเขียว 3 ชนิด พบการแพร่กระจายของสาหร่ายทะเลในบริเวณเขตน้ำขึ้นสูงสุด เพียงชนิดเดียว คือ สาหร่ายสีเขียว Enteromorpha prolofera ในบริเวณเขตน้ำขึ้นน้ำลงพบสาหร่ายทั้งหมด 13 สกุล 17 ชนิด ชนิดเด่น คือ สาหร่ายสีแดง Gelidium pusillum และพบสาหร่ายทะเลบริเวณเขตที่อยู่ใต้น้ำตลอดเวลา จำนวน 2 สกุล 5 ชนิด สาหร่ายทะเลชนิดเด่น คือ สาหร่ายสีน้ำตาล Sargassum crassifolium นอกจากนี้ยังพบว่าความหนาแน่นของสาหร่ายในแต่ละฤดูกาลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) โดยพบความหนาแน่นของสาหร่ายทะเลในช่วงฤดูแล้ง (33.67%) มากกว่าฤดูฝน (15.67%) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการแพร่กระจายของสาหร่ายทะเลทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์กับค่าความเค็ม และค่าความลึกอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) สำหรับในบริเวณเกาะนมสาว จังหวัดจันทบุรี พบสาหร่ายทั้งสิ้น 4 วงศ์ 4 สกุล 4 ชนิด ได้แก่ สาหร่ายสีน้ำตาล Padania pavonica, S. polycystum, สาหร่ายสีเขียว Ulva intestinalis และ Caulerpa lentillifera โดยพบเปอร์เซ็นต์การปกคลุมของสาหร่ายสีน้ำตาล S. polycystum มากที่สุดในสถานีที่ 2 ถึง 60% โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคม สำหรับเปอร์เซ็นต์การปกคลุมของสาหร่ายทะเลในแต่ละฤดูกาล ผลการศึกษาพบว่า สาหร่ายทะเลมีเปอร์เซ็นต์การปกคลุมเฉลี่ยในฤดูฝน (22.25%) มากกว่าฤดูแล้ง (22.03%) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการแพร่กระจายของสาหร่ายทะเลทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์กับค่าความเค็ม และค่าความลึกอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน (P<0.05)
Diversity and distribution of seaweed at Ao Yang Bay and Nomsao Island, Chanthaburi Province were conducted 6 times in June, August and October 2018 and January, February and March 2019. The physical factors such as temperature, pH, Dissolved oxygen, light intensity, salinity and depth were also measured. Sampling design was divided into 3 stations i.e. in left hand side near the coral reef, in the middle of Nomsao Island near the rocky shore and right hand side near the rocky shore and sand beach. Sample collection of seaweed was conducted and the percentage of cover area was recorded by the photo of seaweed in the field study by using a 1x1 m quadrate. Samples were identified by guide book and key of seaweed. The result found that seaweed at Ao Yang Bay was belonged to 10 family 15 genera and 22 species. The composition of seaweed was comprised 11 Rhodophyta, 8 Phaeophyta and 3 Chlorophyta. In high tide, there was found only one seaweed, Enteromorpha prolofera. Thirteen genera and seventeen species were found in intertidal zone. Dominant species were Gelidium pusilum. While in the low tide was found 2 genera and 5 species of seaweed of while Sargassum crassifolium displayed as dominant seaweed species. Furthermore, the result also found that density of seaweed in dry season (33.67%) was higher than in wet season (15.67%). The relationship between physical factor and density of seaweed was correlated with salinity and depth (P<0.05). The result also showed that seaweeds at Nomsao Island belonged to 4 families 4 genera and 4 species. The highest percentage of cover area was found in S. polycystum (60%) in station 2 particularly on March. The density of seaweed in wet season (22.25%) was higher than in dry season (22.03%). Moreover, the result also found that the relationship between physical factors and density of seaweed were correlated with salinity and depth (P<0.05).
การแพร่กระจาย ความอุดมสมบูรณ์ สาหร่ายทะเล อ่าวยาง เกาะนมสาว
Distribution, abundance, seaweed, Ao Yang Bay, Nomsao Island
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-04-10 16:11:40