ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การพัฒนาวิธีวัดค่าสีสำหรับวิเคราะห์ค่าไอโอดีนในน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชด้วยกล้องสมาร์ทโฟน
Development of Colorimetric Method for Analyzing Iodine Value in Palm Oil and Vegetable Oils with a Smartphone Camera
นิภัทร เปี่ยมอรุณ และ นันทพร มูลรังษี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
งานวิจัย
2563
วิธีวัดค่าสีโดยใช้สมาร์ทโฟนได้รับการพัฒนาขึ้นในงานวิจัยนี้สำหรับวิเคราะห์ค่าไอโอดีนในน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืช สารละลายวิจส์ในปริมาณเล็กน้อยได้ถูกนำมาใช้สำหรับปฏิกิริยาไอโอดิเนชันในตำแหน่งไม่อิ่มตัวของสารตัวอย่าง สารละลายวิจส์ที่เหลือจากการทำปฏิกิริยาจะถูกเปลี่ยนเป็นไอโอดีน ซึ่งทำปฏิกิริยากับสารละลายน้ำแป้งได้สารประกอบเชิงซ้อนสีน้ำเงิน และถูกนำไปวิเคราะห์ค่าความเข้มสีน้ำเงินด้วยแอพลิเคชันซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีบนสมาร์ทโฟน ในการวัดค่าสีสามารถวิเคราะห์ตัวอย่างได้มากกว่าหนึ่งตัวอย่างต่อหนึ่งภาพถ่าย โดยภายใต้สภาวะควบคุมแสงสามารถสร้างกราฟมาตรฐานจากสารละลายไตรไอโอไดด์ไว้ใช้สำหรับวิเคราะห์ค่าไอโอดีนของน้ำมันพืชต่าง ๆ ได้ ค่าขีดจำกัดในการตรวจวัดและค่าขีดจำกัดในการวิเคราะห์เชิงปริมาณมีค่าน้อยกว่า 0.02 และ 0.032 มิลลิโมลไอโอดีนต่อลิตร ตามลำดับ วิธีที่พัฒนาขึ้นมานี้ให้ผลการวิเคราะห์สอดคล้องกับวิธีการไทเทรต ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานสำหรับการวิเคราะห์ค่าไอโอดีนในน้ำมันพืช แต่วิธีการที่พัฒนาขึ้นมามีความสะดวก ง่าย รวดเร็ว มีค่าใช้จ่ายน้อย และสร้างของเสียน้อยกว่า
A smartphone based colorimetric method was developed for determination of the iodine values of palm oil and vegetable oils. The small amount of Wijs reagent was employed for iodination of the unsaturated sites of the sample. The rest of unreact reagent was transformed into iodine which was further reacted with the starch solution to form the blue color complex. The free downloaded smartphone application was used for measuring the blue color intensity. More than one sample can be measured by taking only one photo shot. Under the controlled illuminance, the calibration graph was constructed from the dissolved triiodide which was available for measuring the iodine values of various vegetable oils. The detection and quantitation limits were less than 0.02 and 0.032 mmol I2/L, respectively. This method provided a good result of the iodine value compared with the standard titrimetric method. This method was convenient, simple, rapid, inexpensive, and easy with little chemical waste produced.
กล้องสมาร์ทโฟน, เทคนิคการวัดค่าสี, ค่าไอโอดีน, สารละลายวิจส์, น้ำมันพืช
Smartphone Camera, Colorimetry, Iodine Value, Wijs Reagent, Vegetable Oil
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2021-04-26 13:35:01