ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิตในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
LEARNING LIFE SKILLS IN PREVENTING PREGNANCY FOR STUDENTS HIGHER EDUCATION
ธันวดี ดอนวิเศษ และ พัชรินทร์ รุจิรานุกูล
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
2559
การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิตในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยใช้แนวความคิดเกี่ยวกับทักษะชีวิตขององค์การอนามัยโลกประยุกต์ใช้ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิตในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง 30 คนและกลุ่มไม่เสี่ยง 30 คน และการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง และอาจารย์ที่ปรึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนที่ 2 เป็นแบบทดสอบวัดด้านความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษา แบบวัดความตระหนักและเห็นคุณค่าในตนเองเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษา และแบบวัดทักษะการปฏิเสธการต่อรอง ตอนที่ 3 ผลการติดตามพฤติกรรมนักศึกษาหลังสิ้นสุดการอบรมทักษะชีวิต 2 สัปดาห์ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 ก่อนเริ่มมีการอบรมเรียนรู้ทักษะชีวิตในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ 2 เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมอบรมเรียนรู้ทักษะชีวิตในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ 3 เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมอบรมเรียนรู้ทักษะชีวิตในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา 2 สัปดาห์ จากนั้นนำข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Science) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนาแจกแจงความถี่คิดเป็นร้อยละ ของลักษณะกลุ่มตัวอย่างของทั้ง 2 กลุ่มและหาค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยด้านการวัดความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกและการเห็นคุณค่าในตนเอง และทักษะการปฏิเสธต่อรอง ระหว่างก่อนและหลังการได้รับการพัฒนาในการเรียนรู้ทักษะชีวิตในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยสถิติ t-test การรวบรวมข้อมูลครั้งที่ 3 ผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เหตุการณ์ ผลการทดลองพบว่า กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มไม่เสี่ยงมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักและเห็นคุณค่าในตนเอง มีทักษะการปฏิเสธการต่อรองเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และผลการติดตามพฤติกรรมนักศึกษาหลังสิ้นสุดการอบรมทักษะชีวิต 2 สัปดาห์ จากนักศึกษา ผู้ปกครอง และอาจารย์ที่ปรึกษาได้แสดงความคิดเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักศึกษาว่ามีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เช่น รู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักตั้งเป้าหมายในชีวิต มีความรับผิดชอบ นักศึกษาสามารถนำความรู้และประสบการณ์จากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
This research deployed Quasi-experimental Research method aiming to study Learning life skills in preventing pregnancy for students in Higher Education adopting World Health Organization’s life skill concepts in making a lesson plan on life skill learning management in preventing unplanned pregnancy for undergraduate students. The population used in this study were 60 sophomore students of 2016 academic year; majored in Social Studies. 30 population were in risk group and another 30 population were in non-risk group, and also interviewed their parents and advisors. The research instrument used in the study was a questionnaire consisting of three parts: part 1 contained general information of the subjects, part 2 consisted of cognitive test, self-recognition and appreciation test and negotiation refusing skill test on unplanned pregnancy prevention for undergraduates, and part 3 contained the tracking results of students’ behaviors after the two-week life skill training was ended. The data were collected for three times: the first time was collected before conducting life skill training on unplanned pregnancy prevention for undergraduate students, the second time was collected once the activities of life skill training finished and the third time was collected when the two-week life skill training ended. After that, the general information of both group was analyzed using SPSS (Statistical Package for the Social Science). The general information was analyzed using frequency distribution descriptive statistics to calculate percentage of population’s characteristic of both groups and to find mean. Then, t-test was used to compare the average scores of cognitive test, self-recognition and appreciation test, and negotiation refusing skill test before and after attending the training on life skill learning in preventing unplanned pregnancy for undergraduates. For the third data collection, the researchers analyzed data utilizing Content Analysis. The results found that both the risk and non-risk groups gained the average scores of cognition, self-recognition and appreciation, and negotiation refusing skill on unplanned pregnancy prevention after training significantly higher than before training at the 0.01. level And the result of students’ behavior tracking after the two-week life skill training gathering from the students, their parents and advisors showed that the students had changed into a good way, for example, they knew how to think, analyze, set their goals and be responsible. The students were able to apply the knowledge and experience receiving from this training in their daily lives.
ทักษะชีวิต, การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
Life Skill , unwanted pregnancy
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-10-01 11:30:18