Toggle navigation
หน้าหลัก
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามหน่วยงาน
หน่วยงาน
คณะครุศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักศิลปวัฒนธรรม
งานวิจัยตามปี พ.ศ.
แบ่งตามปี พ.ศ.
พ.ศ. 2567
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2545
สถิติงานวิจัย
ประเภทของสถิติ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายในและภายนอก
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
สถิติจำนวนโครงการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
คณะทำงาน
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
เข้าสู่ระบบ
หน้าหลัก
คณะวิทยาการจัดการ
รายระเอียดการวิจัย
เมนูหลัก
หน้าหลัก
สาขางานวิจัยทั้งหมด
ประวัตินักวิจัย
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามคณะ
139
คณะครุศาสตร์
27
คณะนิติศาสตร์
36
คณะนิเทศศาสตร์
2
คณะพยาบาลศาสตร์
89
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
30
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
67
คณะวิทยาการจัดการ
130
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
107
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
159
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
27
สถาบันวิจัยและพัฒนา
1
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
สำนักศิลปวัฒนธรรม
รายการข้อมูลงานวิจัย
รายการข้อมูลงานวิจัย
ชื่องานวิจัย (ภาษาไทย)
แผนงานวิจัยเรื่องการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
ชื่องานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)
Management for Community Based Tourism. Bang Sa Kao. Laem Singh. Chanthaburi
ชื่อผู้แต่ง
ผศ.ธงชัย ศรีเบญจโชติ,รศ.อัญชลี อุทัยไขฟ้า,ผศ.สุรีย์พร พานิชอัตรา,อาจารย์ภานิตา โพธิ์แก้ว,อาจารย์เพ็ญศิริ สมารักษ์,อาจารย์บุษรา บรรจงการ,อาจารย์ฤดีวรรณ ยิ่งยง,อาจารย์นิศารัตน์ แสงแข,อาจารย์นันทภัค บุรขจรกุล,อาจารย์พิศิษฐ์ ชัยสุวรรณถาวร,อาจารย์ศตวรรษ ทิพโสต
สาขางานวิจัย
หน่วยงาน
คณะวิทยาการจัดการ
ประเภทงานวิจัย
งานวิจัย
ปีงบประมาณ
2558
ชื่อทุน
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
หน่วยงานเจ้าของทุน
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
การดำเนินงานตามแผนงานวิจัยนี้ประกอบไปด้วยโครงการวิจัยจำนวน 6 โครงการใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 24 เดือน โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กำหนดรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี 2) พัฒนาและกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี 3) วิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวของพื้นที่ตำบลบางสระเก้าอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี และ 4) สร้างแผนการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ผลการศึกษาในระยะแรก (เดือนที่ 1-12) ซึ่งเป็นผลการศึกษาของโครงการวิจัย 5 โครงการแรก พบว่า รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่นำไปสู่การบริหารที่ประสบความสำเร็จ ประกอบไปด้วย ด้านการวางแผน ชุมชนมีการกำหนดแผนและการกำหนดข้อปฏิบัติและกฎระเบียบต่างๆ ของชุมชน ด้านการจัดองค์กร มีการกำหนดโครงสร้างองค์การตามความเหมาะสม แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆตามลักษณะงาน ด้านการจัดคน ชุมชนมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและมอบหมายให้สมาชิกดำเนินการตามความสามารถของแต่ละบุคคล ด้านการอำนวยการ ผู้นำหรือคณะกรรมการควรมีส่วนสำคัญในการเป็นผู้สนับสนุนและเปิดโอกาสให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน โดยที่ชุมชนต้องมีการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกเพื่อให้เกิดการสนับสนุนในทุกด้านแก่ชุมชน และด้านการควบคุมดูแลชุมชนจะใช้ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวเป็นตัวสะท้อนการทำงานของคนในชุมชน เพื่อนำมาพัฒนาชุมชนต่อไป ตำบลบางสระเก้ามีความเหมาะสมที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน แต่จะต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและมีความเหมาะสมสอดคล้องกับวิถีความเป็นอยู่ของชาวบางสระเก้า เนื่องจากการประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนในตำบลบางสระเก้าไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีศักยภาพในการดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดี ส่วนอีก 3 ด้าน ได้แก่ ศักยภาพด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ศักยภาพด้านการรองรับของแหล่งท่องเที่ยว และศักยภาพด้านการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง ปัญหาความขัดแย้งกันในชุมชนและการขาดการประสานงานภายในชุมชน โดยมีอุปสรรคสำคัญของการส่งเสริมการท่องเที่ยวคือ การขาดแคลนงบประมาณ และขาดการวางนโยบายด้านการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ด้านอุปสงค์การท่องเที่ยวโดยในตำบลบางสระเก้า พบว่า นักท่องเที่ยวมีความต้องการในการท่องเที่ยวโดยชุมชนในตำบลบางสระเก้า ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปของความเต็มใจที่จะจ่ายที่มีค่าเท่ากับ 180.12 บาทต่อคนต่อครั้งที่บริจาค โดยรูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต้องการ มีความสอดคล้องกับกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ชุมชนบางสระเก้าได้ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบันและต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
The operation of this research project involved six research projects which would take 24 months. The project was separated into 2 sections. The objectives of the research project were 1) to specify the tourism management prototype appropriated to community based tourism in Bang Sa Kao subdistrict, Laemsing district, Chanthaburi province, 2) to develop and to specify the route of the community based tourism in Bang Sa Kao subdistrict, Laemsing district, Chanthaburi province, 3) to evaluate the tourism latency of Bang Sa Kao subdistrict, Laemsing district, Chanthaburi province, and 4) to develop the Bang Sa Kao subdistrict, Laemsing district, Chanthaburi province community based tourism promotion and publication plan. The first section finding (1-12 months) which were the outcomes of the 5 projects were the community based tourism management prototype that would achieve accomplishment involved planning, organization management, human management, supervision, and community control. Planning related to community setting up plan, rule, and regulations of the community. Organization management related to setting suitable organization structure. Human management involved with jobs assignment and job appointment related to personal ability. For the supervision, the leader or the board should essentially be the supporter and should provide opportunity of community developing participation for the community members. The community needed to coordinate with other organizations that internal and external involving with community supportiveness. For the community control, tourists’ opinions would be used as a reflection of community members’ works for community development. The research found that Bang Sa Kao subdistrict appropriated for community based tourism. However, the community needed good management that suitable to Bang Sa Kao lifestyle of people management. Because, the evaluation of tourism latency of Bang Sa Kao subdistrict was found not passed the evaluation. The community passed the latency of tourists’ attraction at a level of good. But, the community was not passed the other three latencies which were tourism management latency, tourism supportive latency, and tourism service providing latency. The outcomes could be the result of lacking of promoting tourism knowledge, community conflicts, and lacking of community coordination. The essential obstacles of the tourism promotion were limitation of budget and absence of continue tourism principle. The research found that tourists had demand for community based tourism in Bang Sa Kao subdistrict. The finding was reflected by the willingness to pay for each donation of each person at 180.12 baht. The tourists preferred tourism prototype and tourism activities which were related to the community’s current tourism activities and the community’s wants for the future.
คำสำคัญ
การท่องเที่ยวโดยชุมชน,บางสระเก้า,พฤติกรรมการท่องเที่ยว,ความเต็มใจที่จะจ่าย
Keywords
Community Based Tourism (CBT),Bang Sa Kao,Tourist Behavior,Willingness to Pay
เพิ่มข้อมูลโดย
จตุพร พุทธิศา
แก้ไขล่าสุด
2015-11-04 14:47:02