Toggle navigation
หน้าหลัก
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามหน่วยงาน
หน่วยงาน
คณะครุศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักศิลปวัฒนธรรม
งานวิจัยตามปี พ.ศ.
แบ่งตามปี พ.ศ.
พ.ศ. 2567
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2545
สถิติงานวิจัย
ประเภทของสถิติ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายในและภายนอก
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
สถิติจำนวนโครงการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
คณะทำงาน
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
เข้าสู่ระบบ
หน้าหลัก
คณะวิทยาการจัดการ
รายระเอียดการวิจัย
เมนูหลัก
หน้าหลัก
สาขางานวิจัยทั้งหมด
ประวัตินักวิจัย
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามคณะ
139
คณะครุศาสตร์
27
คณะนิติศาสตร์
36
คณะนิเทศศาสตร์
2
คณะพยาบาลศาสตร์
89
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
30
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
67
คณะวิทยาการจัดการ
130
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
107
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
159
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
27
สถาบันวิจัยและพัฒนา
1
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
สำนักศิลปวัฒนธรรม
รายการข้อมูลงานวิจัย
รายการข้อมูลงานวิจัย
ชื่องานวิจัย (ภาษาไทย)
การวิเคราะห์ผลิตภาพการผลิตรวมภาคการเกษตรของจังหวัดจันทบุรี เพื่อรองรับการจัดตั้งระเบียงเศรษฐกิจผลไม้ภาคตะวันออก
ชื่องานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)
Agricultural Total Factor Productivity : Analysis of Chanthaburi Province to Serve Eastern Fruit Corridor
ชื่อผู้แต่ง
ธงชัย ศรีเบญจโชติ , สุรีย์พร พานิชอัตรา และ อัญชลี อุทัยไขฟ้า
สาขางานวิจัย
หน่วยงาน
คณะวิทยาการจัดการ
ประเภทงานวิจัย
งานวิจัย
ปีงบประมาณ
2562
ชื่อทุน
หน่วยงานเจ้าของทุน
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีภาคการเกษตรเป็นภาคการผลิตที่สำคัญ และเป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายในการเชื่อมโยงภาคการเกษตรและการท่องเที่ยวเข้ากับภาคอุตสาหกรรมตามโครงการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาโครงการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก 2) วิเคราะห์อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภาพการผลิตรวมภาคการเกษตรของจังหวัดจันทบุรี และ 3) วิเคราะห์หาปัจจัยที่กำหนดอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภาพการผลิตรวมภาคการเกษตรของจังหวัดจันทบุรี โดยใช้ข้อมูลอนุกรมเวลารายปีช่วงปีพ.ศ. 2544 – 2560 ที่รวบรวมจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า โครงการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเพื่อจัดการห่วงโซ่อุปทานของผลไม้อย่างเป็นระบบ โดยในส่วนของจังหวัดจันทบุรีตามแผนพัฒนาจังหวัดได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และระบบโลจิสติกส์ การจัดสรรงบประมาณจึงมุ่งเน้นไปในโครงการ การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต และการพัฒนาเส้นทางจากแหล่งผลิตเชื่อมโยงไปยังเส้นทางสายหลัก 2) วิเคราะห์อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภาพการผลิตรวมภาคการเกษตรของจังหวัดจันทบุรี โดยวิธีการศึกษาแบบเศรษฐมิติ ใช้รูปแบบฟังก์ชันการผลิตแบบ Translog พบว่าค่าความยืดหยุ่นของผลผลิตที่แท้จริงในภาคการเกษตรของจังหวัดจันทบุรีต่อปัจจัยที่ดิน ปัจจัยแรงงาน และปัจจัยทุน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่อัตราการเติบโตของผลผลิตจากผลิตภาพการผลิตรวมมีบทบาทมากที่สุดต่ออัตราการเติบโตของผลผลิตที่แท้จริงในภาคการเกษตรของจังหวัดจันทบุรี 3) การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการเติบโตของผลผลิตจากผลิตภาพการผลิต โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression Model) พบว่าปัจจัยที่กำหนดอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภาพการผลิตรวมภาคการเกษตรของจังหวัดจันทบุรีมากที่สุดคือ ปัจจัยทางด้านการศึกษา รองลงมาคือปัจจัยทางด้านการค้าผลผลิตทางการเกษตร ปัจจัยทางด้านการสนับสนุนทางการเกษตร ปัจจัยทางด้านการสนับสนุนการคมนาคมขนส่ง ปัจจัยด้านสภาพอากาศ ปัจจัยด้านสาธารณูปโภคทางการเกษตร และปัจจัยด้านเคมีเกษตร ตามลำดับ
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
Agriculture is a critical productivity sector in Chanthaburi province. The province is one of the target area in connecting agriculture and tourism to industrial sector by the Eastern Fruit Corridor (EFC) project. The study aimed to 1) study the Eastern Fruit Corridor (EFC) project 2) analyze the Total Factor Production Growth (TFPG) and 3) analyze factors affecting the Total Factor Production Growth. Time series analysis was adopted for collecting yearly data during 2001 -2017 from involving departments. The study outcomes were 1) the Eastern Fruit Corridor project was part of the Eastern Economic Corridor for managing system of fruit supply chain. Chanthaburi province development plan emphasized development of agricultural production efficiency, improvement of product value and logistic system. Therefore, the budget was mainly allocated to development of production efficiency, procession of product value enhancement, and development of the connecting from production site linked to main route. 2) Analyzing the Total Factor Production Growth of agricultural sectors in Chanthaburi by econometric approach using Translog production function. The elasticity of the real productive of agricultural sectors in Chanthaburi for land factor, labor factor, and capital factor were tendency to continuously increase. The Total Factor Production Growth effected the most of the real productivity growth of agricultural sectors in Chanthaburi. 3) Analyzing factors affecting the Total Factor Production Growth by multiple regression model generated outcomes that the most critical factor effecting the Total Factor Production Growth was education factor and respectively less critical effect factors were agricultural product trading, agricultural supports, transportation supports, weather, agricultural public utility, and agricultural chemical.
คำสำคัญ
ผลิตภาพการผลิตรวม, ภาคการเกษตร, จังหวัดจันทบุรี
Keywords
Total Factor Productivity, Agricultural sectors, Chanthaburi Province.
เพิ่มข้อมูลโดย
ณัฐฐานี ดีซื่อ
แก้ไขล่าสุด
2020-09-30 15:55:29
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก