ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงินที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ SMEs ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดสระแก้วและจันทบุรี ภายใต้แผนงานวิจัย เรื่องการพัฒนาศักยภาพธุรกิจ SMEs ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออก เพื่อการแก้ไขปัญหาความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจ (จังหวัดสระแก้วและจันทบุรี)
Financial Liquidity Risk which Affected the Development of the SMEs Potential in the Eastern Economic Border Trading Zone of Srakaew and Chanthaburi Provinces.
ทัศนัย ขัตติยวงษ์, ละเมียด ควรประสงค์ และ ทิพวรรณ์ นิยมวงศ์
คณะวิทยาการจัดการ
งานวิจัย
2559
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจในข้อมูลการเงินและสภาพคล่องของธุรกิจ 2)เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงิน 3) เพื่อศึกษาการหาแนวทางการนาความรู้ความเข้าใจในความเสี่ยงสภาพคล่องที่มีเกิดขึ้นมาใช้ในการจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ 4) เพื่อวิเคราะห์และประเมินแนวทางจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของธุรกิจ SMEs ในการสร้างประสิทธิภาพและศักยภาพธุรกิจ SMEs 5) เพื่อการพยากรณ์ปัจจัยสาคัญที่เป็นผลกระทบต่อศักยภาพธุรกิจ SMEs ต่อการแก้ปัญหาความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ประกอบการในเขตการค้าชายแดนจังหวัดสระแก้วและจังหวัดจันทบุรีจานวน 528 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลคานวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)ที่มีระดับนัยสาคัญ 0.01 และการหาค่าความสัมพันธ์โดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson correlation)ที่มีระดับนัยสาคัญ 0.01 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงินที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ SMEs ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดสระแก้วและจันทบุรี สามารถเขียนสมการพยากรณ์ดังนี้ Z’ = 0.476X5 0.344X1 0.082X6 ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงินมีผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ SMEs จังหวัดสระแก้ว Z1 = 0.653X5 0.211X3 ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงินมีผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ SMEs จังหวัดจันทบุรี Z2 = 0.811X1 0.027X6 โดย Z’ คือ การพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ SMEs ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดสระแก้วและจันทบุรี Z1 คือ การพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ SMEs จังหวัดสระแก้ว Z2 คือ การพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ SMEs จังหวัดจันทบุรี X1 คือ ศักยภาพทางการเงินด้านสภาพคล่องเกี่ยวกับเงินสด/เงินทุนหมุนเวียนในการดาเนินงาน X2 คือ ศักยภาพทางการเงินเกี่ยวกับเงินสด/เงินทุนหมุนเวียน (2) X3 คือ ศักยภาพในการบริหารเงินทุนหมุนเวียน X4 คือ ความเสี่ยงการบริหารการเงินทุนหมุนเวียน X5 คือ ศักยภาพทางการเงินของธุรกิจ SMEs X6 คือ ความผันผวนทางเศรษฐกิจในเขตการค้าชายแดนที่มีผลต่อรายได้ค่าใช้จ่าย และเงินทุนหมุนเวียน โดยสรุปพบว่าปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ SMEs ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดสระแก้วและจันทบุรีโดยภาพรวม ซึ่งมี 3 ปัจจัยหลักคือ 1) ศักยภาพทางการเงินของธุรกิจ SMEs 2) ศักยภาพทางการเงินด้านสภาพคล่องเกี่ยวกับเงินสด/เงินทุนหมุนเวียนในการดาเนินงาน 3) ความผันผวนทางเศรษฐกิจในเขตการค้าชายแดนที่มีผลต่อรายได้ค่าใช้จ่าย และเงินทุนหมุนเวียน ส่วนค่าการพยากรณ์ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ SMEs จังหวัดสระแก้ว มี 2 ปัจจัยหลักคือ 1) ศักยภาพทางการเงินของธุรกิจ SMEs 2) ศักยภาพในการบริหารเงินทุนหมุนเวียน และค่าการพยากรณ์ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ SMEs จังหวัดจันทบุรีมี 2 ปัจจัยหลักคือ 1) ศักยภาพทางการเงินด้านสภาพคล่องเกี่ยวกับเงินสด/เงินทุนหมุนเวียนในการดาเนินงาน 2) ความผันผวนทางเศรษฐกิจในเขตการค้าชายแดนที่มีผลต่อรายได้ค่าใช้จ่าย และเงินทุนหมุนเวียน
The purposes of this research were; 1) to study and understanding financial data and the business liquidity; 2) to analyze the liquidity risk; 3) to study how to apply knowledge and understanding of liquidity risk for effectively risk management and 4) to analyze and assess the liquidity risk management of SMEs to create efficiency and potential development of SMEs. 5) To forecast the key factors which affecting the potential of SMEs in order to solve the economic risk in the study sites. The study samplings consisted of 528 entrepreneurs in both provinces. The instrument was a questionnaire. The statistical analysis used were percentage, arithmetic average, standard deviation, and Stepwise Multiple Regression Analysis and Pearson correlation. The predictive mathematical model of financial liquidity risk which affected the development of the SMEs potential in the Eastern Economic Border Trading Zone of Srakaew and Chanthaburi provinces is illustrated as the following equation :- Z’ = 0.476X5 0.344X1 0.082X6 In the meantime, the predictive mathematical model of financial liquidity risk which affected the development of SMEs potential in Sra Kaew and Chantaburi provinces are illustrated as the following equations respectively :- Z1 = 0.653X5 0.211X3 (for Sra Kaew province) Z2 = 0.811X1 0.027X6 (for Chantaburi province) While : Z’ = The development of SMEs potential in the Eastern Economic Border Trading Zone of Srakaew and Chanthaburi provinces. Z1 = The Development of SMEs potential in Sra Kaew Province. Z2 = The Development of SMEs potential in Chanthaburi Province. (4) X1 = Financial liquidity potential on cash / working capital. X2 = Financial Potential on Cash / Working Capital. X3 = Administrative Potential of working capital. X4 = Administrative risk of working capital. X5 = Financial strength of SMEs. X6 = Economic fluctuations in the Eastern Economic Border Trading Zone which affected the revenue costs and working capital. In conclusion, the predictive liquidity factors for risk assessment of the development of SMEs potential in the Eastern Economic Border Trading Zone of Srakaew and Chanthaburi provinces consisted of 3 main factors; 1) financial strength of SMEs, 2) financial liquidity potential on cash / working capital and 3) economic fluctuations in the Eastern Economic Border Trading Zone which affected the revenue costs and working capital. While the predictive liquidity factors for risk assessment of the development of SMEs potential in Sra Kaew Province consisted of 2 main factors; 1) Financial strength of SMEs and 2) Administrative Potential of working capital. As well as, the predictive liquidity factors for risk assessment of the development of SMEs potential in Chantaburi Province consisted of 2 main factors; 1) financial strength of SMEs and 2) economic fluctuations in the Eastern Economic Border Trading Zone which affected the revenue costs and working capital respectively.
ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง / การพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ SMEs / การค้าชายแดนภาคตะวันออก
Liquidity risk / the Development of the SMEs Potential in the Eastern Economic Border Trading Zone
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-10-01 11:04:54

ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด