ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

ศึกษาประสิทธิภาพโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี
Study the efficiency of flood alleviation project in Chanthaburi
เกรียงไกร ตรีฤทธิวิทยา , อลงกต ไชยอุปละ , จักรพันธุ์ วงษ์พา , ดวงมณี ทองคำ
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
งานวิจัย
2560
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ทำการวิเคราะห์ผลตั้งแต่สถานีวัดน้ำ Z.14 และสถานีวัดน้ำ Z.13 อ.มะขาม จ.จันทบุรี ถึงปากแม่น้ำจันทบุรี อ.เมือง จ.จันทบุรี ซึ่งทำการปรับเทียบแบบจำลอง 2 ส่วนคือ แบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า และแบบจำลองชลศาสตร์ ซึ่งผลการปรับเทียบและตรวจพิสูจน์แบบจำลองคณิตศาสตร์น้ำฝน–น้ำท่า ได้ค่าพารามิเตอร์ Umax = 10.-19.1, Lmax = 101-104, CQOF = 0.38-0.87, CKIF = 213.6-214.9, CK1,2 = 16.4, TOF = 0.42-0.51, TIF = 0.15-0.24, TG = 0.9 และ CKBF = 3901 มีค่าดัชนีการยอมรับ ( ) อยู่ในช่วง 0.89-0.92 และแบบจำลองชลศาสตร์มีค่า Manning’s M เท่ากับ 20-22 มีค่าดัชนีการยอมรับ ( ) อยู่ในช่วง 0.79-0.92 จากนั่นนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ไปประยุกต์วิเคราะห์ประสิทธิภาพโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี จากข้อมูลอุทกภัยปี พ.ศ.2542 และมีการการผันน้ำ ที่อัตราการไหลเท่ากับ 300 ลบ.ม./วินาที และเมื่อศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากข้อมูลปี พ.ศ.2542 ร้อยละ 25, 50, 75 และ 100 จากผลการศึกษาพบว่าโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี สามารถบรรเทาอุทกภัยในปี พ.ศ.2542 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อข้อมูลปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากข้อมูลปี พ.ศ.2542 ร้อยละ 75 จะทำให้เกิดอุทกภัยในพื้นอำเภอเมืองจันทบุรี
This research aimed to study the efficiency of Chanthaburi flood alleviation project in Chanthaburi by mathematical model analysis. The analysis was carried out in an area of runoff station Z.13 to Z.14 (Makham district, Chanthaburi province to Chanthaburi river estuary, Mueang district, Chanthaburi province) with calibration of the model with 2 parts: the rainwater-runoff model and the hydraulic model. The results for calibration and verification of the rainwater-runoff mathematical model provided values parameter Umax = 10.1-19.1, Lmax = 101-104, CQOF = 0.38-0.87, CKIF = 213.6-214.9, CK1,2 = 16.4, TOF = 0.42-0.51, TIF = 0.15-0.24, TG = 0.9 and CKBF = 3901 with the index of acceptance (IA) in range of 0.89-0.92. The Manning’s M value, was determined from the hydraulic model, was 20-22 with the index of acceptance (IA) in range of 0.79-0.92. Then, this mathematical model was applied to analyze the efficiency of Chanthaburi flood alleviation project. The flooding data in 1999 and water diversion at the flow rate of 300 m3/s were used for analysis. The amounts of rainfall increasing from the data in 1999 with 25, 50, 75 and 100 % were investigated. The results indicated that Chanthaburi flood alleviation project had been operated efficiently in 1999 and the increment of rainfall with 75 % of data in 1999 would cause flooding in Chanthaburi city.
น้ำท่วม, ลุ่มน้ำจันทบุรี, รอบการเกิดซ้ำ
flood, Chanthaburi, trends rainfall
แก้ไขล่าสุด 2020-01-29 13:39:27