ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

แบบจำลองระบบตรวจสอบย้อนกลับห่วงโซ่อุปทานผลไม้ทุเรียน
Traceability Modelling System of Durian fruit supply chain
ศศินภา บุญพิทักษ์ , กรณ์ปภพ รัตนวิจิตร และ อิงณภัสร์ พงศ์ธนาบูลย์
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
งานวิจัย
2561
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อออกแบบจำลองระบบตรวจสอบย้อนกลับผลไม้ทุเรียน กรณีศึกษาการบรรจุทุเรียนส่งออก ได้พบปัญหาเกี่ยวกับทุเรียนที่ไม่มีคุณภาพ คือทุเรียนอ่อน หรือไม่ได้มาตรฐานการส่งออก ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าทุเรียนเป็นของเกษตรกรคนใด จึงทำให้เกิดผลเสียในเรื่องการค้ากับต่างประเทศ และเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจต่อสินค้า ในด้านของคุณภาพ รวมถึงเพื่อให้ทราบแหล่งที่มาของทุเรียน เพราะถ้าหากผู้บริโภคพบทุเรียนที่ไม่ได้คุณภาพ ผู้บริโภคสามารถสืบย้อนกลับไปหาแหล่งที่มาการผลิตนั้นๆได้อย่างถูกต้อง คณะผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูลที่สำคัญต่อระบบที่ได้มาออกแบบจำลองระบบตรวจสอบย้อนกลับ ใช้ทฤษฏี ER Diagarm (Entity Relation Diadarm) โดยประยุกต์ใช้ Barcode ในรูปแบบ QR code และมีการบันทึกข้อมูลของเกษตรกรลงในระบบ สรุปผลการดำเนินงานวิจัยจากการนำโปรแกรมมาทดสอบ การแสกน QR code สามารถแสกนได้จริงและจะสามารถตรวจสอบข้อมูลของเกษตรกรที่นำทุเรียนมาขายให้บริษัทอย่างละเอียด ในการพัฒนางานวิจัยในครั้งนี้ได้ดำเนินการทดลองและในอนาคตจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เพื่อประโยชน์ต่อมูลค่าการส่งออกได้
This study is designed to design model models, traceability of durian fruits. Case study packing durian export Due to the problem of non-quality durian, it is not possible is not up to standard to verify that durian is owned by any farmer. Therefore causing negative effects on foreign trade and to ensure consumers are confident of their products. In the field of quality, including to know the source of durian. Because if the consumer found a non-quality durian Consumers can get back to their source properly. The Faculty of researchers has been down the area to explore vital information on the coming systems. Design a model traceability Use the ER Diagarm (Entity RelationDiadarm) theory by applying Barcode in QR code and saving the information of farmers into the system. A summary of the research performance from the program of the tested QR code scan is true and will be able to examine the information of the farmers who lead durian for sale to the company thoroughly. In the development of this research, experiments have been conducted and the future can be used in real time. To benefit from the export value.
โมเดลตรวจสอบย้อนกลับ, ทุเรียน, จันทบุรี
Traceability Modelling System, Durian, Chanthaburi Province
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-04-10 16:21:04