ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การตรวจสอบชนิดปลาจากผลิตภัณฑ์อาหารประเภทซูชิ ที่วางจำหน่ายในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ด
Identification of Fish from Sushi Products Sold in Mueang District, Chanthaburi Province by Using DNA Barcoding
วิรังรอง กรินท์ธัญญกิจ และ ชุตาภา คุณสุข
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
งานวิจัย
2560
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เทคนิคดีเอ็นเอบาร์โค้ด หรือรหัสพันธุกรรมในส่วนของยีนไซโตโครม ออกซิเดส วัน (Cytochrome oxidase I; COI) ในการระบุชนิดปลาจากผลิตภัณฑ์อาหารประเภทซูชิ ที่จำหน่ายในอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ซูชิปลาดิบ จำนวน 2 ชนิด คือ ซูชิแซลมอนและซูชิทูน่า รวมทั้งสิ้น 49 ตัวอย่าง จากร้านขายซูชิประเภทร้านค้าแผงลอยในท้องตลาด ห้างสรรพสินค้า และร้านขายอาหารญี่ปุ่น จำนวน 11 ร้าน จากการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ในส่วนของยีนกCOIกของตัวอย่างปลาแซลมอนและทูน่ากเมื่อเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลพันธุกรรม GenBank และ BOLD ผลการศึกษาพบว่าไม่มีการแทนที่หรือการปลอมปนของเนื้อปลาชนิดอื่นในผลิตภัณฑ์ซูชิ โดยตัวอย่างปลาจากซูชิแซลมอนระบุชนิดได้เป็นปลาแซลมอนแอตแลนติก (Salmo salar) และปลาแซลมอนเทราต์ (Oncorhynchus mykiss) และตัวอย่างปลาจากซูชิทูน่าระบุชนิดได้เป็นปลาทูน่าครีบเหลืองก(Thunnusกalbacares)กปลาโอดำก(Thunnus tonggol) และปลาทูน่าตาโต (Thunnus obesus) โดยมีค่าความคล้ายคลึงทางพันธุกรรมสูงถึง 99-100% การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าดีเอ็นเอบาร์โค้ด เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการนำมาใช้ตรวจสอบชนิดปลาในผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่สามารถจำแนกชนิดได้จากลักษณะทางสัณฐาน ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันและเฝ้าระวังการแทนที่เนื้อปลาในผลิตภัณฑ์อาหารโดยมิชอบ
The aim of this study was to determine fish species from sushi products sold in Mueang District, Chanthaburi Province using DNA barcoding based on the Cytochrome oxidase I (COI) gene sequence. In this study, 49 sushi samples (Tuna and Salmon sushi) were collected from 11 sushi bars in the markets, supermarkets in the department stores and Japanese restaurants. The COI sequences were blasted with GenBank and BOLD genetic databases to confirm species identification. The results showed that there was no substitution and wrongly labelling. The Salmon sushi was highly similar (99-100% identity) to Salmo salar and Oncorhynchus mykiss as well as Tuna sushi was also identified as Thunnus albacares, Thunnus tonggol and Thunnus obesus. The results from this study demonstrated that DNA barcoding is a powerful tool for fish species identification from food products that could not be identified using morphology. Therefore, the COI sequencing reveals a high occurrence of incorrect fish species declaration in the commercial fish products.
ดีเอ็นเอบาร์โค้ด, ยีนไซโตโครม ออกซิเดส วัน, การตรวจสอบชนิด, ซูชิ
DNA barcoding, Cytochrome oxidase I gene, Species identification, Sushi
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-04-28 14:11:20